สพฐ.เตรียมสอบบรรจุครูใหม่ ปลายเดือน เม.ย. กว่า 4 พันอัตรา เน้นจัดสรรให้ ร.ร.ที่ขาดแคลนครู ขณะที่ ร.ร.ใหญ่ ได้อานิสงส์จัดสรรครูด้วย
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมสอบบรรจุข้าราชการครูใหม่ก่อนเปิดเทอมแรกของปีการศึกษา 2551 นี้ หลังจากที่ สพฐ.ได้คืนอัตราเกษียณของปี 2550 มาทั้งหมด 4,263 อัตรา โดย สพฐ.ได้วางแผนว่า จะจัดสรรข้าราชการครูใหม่ ร้อยละ 50 ของอัตรารับข้าราชการครูใหม่ที่ได้มากว่า 4,000 อัตรา ให้เขตพื้นที่การศึกษาที่มีปัญหาขาดแคลนครูจำนวนมาก แล้วให้เขตพื้นที่ไปเกลี่ยให้กับ ร.ร.ต่างๆ ในพื้นที่ ส่วนอีกร้อยละ 10 จะจัดสรรให้ ร.ร.ที่มีเป้าหมายพิเศษ เช่น ร.ร.จุฬาภรณ์ ร.ร.กาญจนาภิเษก หรือ ร.ร.ศึกษาสงเคราะห์ และอีกร้อยละ 10 จะจัดสรรให้เขตพื้นที่การศึกษาที่ผลงานเกลี่ยนครูได้ดี นำไปจัดสรรให้ ร.ร.ในพื้นที่ๆ ยังมีปัญหาขาดครู
คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า ที่เหลือ ร้อยละ 30 นั้น จะจัดสรรให้ ร.ร.ขนาดใหญ่ที่มีจำนวนนักเรียนเกิน 1,000 คนและขาดครูเกินร้อยละ 30 ซึ่งคนทั่วไปมักคิดว่า ร.ร.ขนาดใหญ่ไม่มีปัญหาขาดแคลนครู แต่ในความเป็นจริงแล้ว ร.ร.ขนาดใหญ่หลายแห่งขาดครูจำนวนมาก อย่าง ร.ร.ฤทธิยะวรรณาลัย 2 ขาดครูถึงร้อยละ 73
ที่ผ่านมา เมื่อ สพฐ.ได้รับอัตรารับข้าราชการครูใหม่มา ร.ร.ขนาดใหญ่ไม่ค่อยได้รับประโยชน์ด้วย เพราะต้องยอมเสียสละอัตราให้ ร.ร.ขนาดเล็ก ร.ร.ขนาดใหญ่จึงต้องแก้ปัญหา ด้วยการระดมเงินจากผู้ปกครองมาจ้างครูเพิ่ม อย่างไรก็ตาม คราวนี้ ร.ร.ขนาดใหญ่จะได้รับการจัดสรรอัตรารับครูใหม่ด้วย ซึ่งจะทำให้ ร.ร.ไม่ต้องไปรบกวนผู้ปกครอง เป็นการลดภาระของผู้ปกครอง
“การสอบรับบรรจุข้าราชการครูใหม่ครั้งนี้ จะทำให้ความเหลื่อมล้ำของ ร.ร.ซึ่งเกิดปัญหาขาดแคลนครูนั้นน้อยลง ทั้งนี้ จะพยายามให้ ร.ร.โดยเฉพาะ ร.ร.ขยายโอกาส บรรจุครูภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์”
ด้านนายมังกร กลุวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ดูแลด้านงานบริหารบุคคล กล่าวว่า สางแผนไว้ว่า จะรับสมัครข้าราชการครูใหม่ประมาณวันที่ 11 เม.ย.นี้ อย่างไรก็ตาม การสอบบรรจุครูครั้งนี้ จะกระจายอำนาจให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ จะไม่มีการจัดสอบรวมที่ส่วนกลาง แต่ละแต่ละเขตพื้นที่ฯ เป็นผู้จัดสอบเอง แต่ทุกเขตพื้นที่ฯ จะจ้องจัดสอบพร้อมกันตามวันเวลาที่ สพฐ.กำหนดให้ ซึ่งการสอบน่าจะมีขึ้นประมาณช่วงปลายเดือน เม.ย.นี้
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมสอบบรรจุข้าราชการครูใหม่ก่อนเปิดเทอมแรกของปีการศึกษา 2551 นี้ หลังจากที่ สพฐ.ได้คืนอัตราเกษียณของปี 2550 มาทั้งหมด 4,263 อัตรา โดย สพฐ.ได้วางแผนว่า จะจัดสรรข้าราชการครูใหม่ ร้อยละ 50 ของอัตรารับข้าราชการครูใหม่ที่ได้มากว่า 4,000 อัตรา ให้เขตพื้นที่การศึกษาที่มีปัญหาขาดแคลนครูจำนวนมาก แล้วให้เขตพื้นที่ไปเกลี่ยให้กับ ร.ร.ต่างๆ ในพื้นที่ ส่วนอีกร้อยละ 10 จะจัดสรรให้ ร.ร.ที่มีเป้าหมายพิเศษ เช่น ร.ร.จุฬาภรณ์ ร.ร.กาญจนาภิเษก หรือ ร.ร.ศึกษาสงเคราะห์ และอีกร้อยละ 10 จะจัดสรรให้เขตพื้นที่การศึกษาที่ผลงานเกลี่ยนครูได้ดี นำไปจัดสรรให้ ร.ร.ในพื้นที่ๆ ยังมีปัญหาขาดครู
คุณหญิงกษมา กล่าวต่อว่า ที่เหลือ ร้อยละ 30 นั้น จะจัดสรรให้ ร.ร.ขนาดใหญ่ที่มีจำนวนนักเรียนเกิน 1,000 คนและขาดครูเกินร้อยละ 30 ซึ่งคนทั่วไปมักคิดว่า ร.ร.ขนาดใหญ่ไม่มีปัญหาขาดแคลนครู แต่ในความเป็นจริงแล้ว ร.ร.ขนาดใหญ่หลายแห่งขาดครูจำนวนมาก อย่าง ร.ร.ฤทธิยะวรรณาลัย 2 ขาดครูถึงร้อยละ 73
ที่ผ่านมา เมื่อ สพฐ.ได้รับอัตรารับข้าราชการครูใหม่มา ร.ร.ขนาดใหญ่ไม่ค่อยได้รับประโยชน์ด้วย เพราะต้องยอมเสียสละอัตราให้ ร.ร.ขนาดเล็ก ร.ร.ขนาดใหญ่จึงต้องแก้ปัญหา ด้วยการระดมเงินจากผู้ปกครองมาจ้างครูเพิ่ม อย่างไรก็ตาม คราวนี้ ร.ร.ขนาดใหญ่จะได้รับการจัดสรรอัตรารับครูใหม่ด้วย ซึ่งจะทำให้ ร.ร.ไม่ต้องไปรบกวนผู้ปกครอง เป็นการลดภาระของผู้ปกครอง
“การสอบรับบรรจุข้าราชการครูใหม่ครั้งนี้ จะทำให้ความเหลื่อมล้ำของ ร.ร.ซึ่งเกิดปัญหาขาดแคลนครูนั้นน้อยลง ทั้งนี้ จะพยายามให้ ร.ร.โดยเฉพาะ ร.ร.ขยายโอกาส บรรจุครูภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์”
ด้านนายมังกร กลุวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ดูแลด้านงานบริหารบุคคล กล่าวว่า สางแผนไว้ว่า จะรับสมัครข้าราชการครูใหม่ประมาณวันที่ 11 เม.ย.นี้ อย่างไรก็ตาม การสอบบรรจุครูครั้งนี้ จะกระจายอำนาจให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ จะไม่มีการจัดสอบรวมที่ส่วนกลาง แต่ละแต่ละเขตพื้นที่ฯ เป็นผู้จัดสอบเอง แต่ทุกเขตพื้นที่ฯ จะจ้องจัดสอบพร้อมกันตามวันเวลาที่ สพฐ.กำหนดให้ ซึ่งการสอบน่าจะมีขึ้นประมาณช่วงปลายเดือน เม.ย.นี้