มิสเตอร์ซีแอล น้ำท่วมปากการตั้ง กก.ร่วมเป็นหลุมพรางทำซีแอลยากขึ้นหรือไม่ เผยประชุม 3 หน่วยงานไม่รู้ประชุมเมื่อไหร่ ด้านเอ็นจีโอทวงรัฐบาลจริงใจ
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะมิสเตอร์ซีแอล กล่าวว่า การตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งภาคเอกชน คือ บริษัทยา และภาคประชาชน ตามที่สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) เสนอนั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป เนื่องจากต้องรอให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง 3 กระทรวง คือ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข ก่อน อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบว่าจะมีการนัดหมายประชุมเมื่อใด แต่ตนเองในฐานะมิสเตอร์ซีแอล ได้นำผลสรุปข้อมูลการหารือกับยูเอสทีอาร์ไปแล้ว ส่วนจะดำเนินการอย่างไรต่อนั้น เป็นเรื่องของนโยบายที่รัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้สั่งดำเนินการ
ต่อข้อถามว่า การตั้งทำงานร่วมจะเป็นหลุมพรางที่ทำให้การทำซีแอล ยากขึ้นหรือไม่ นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ไม่สามารถให้คำตอบได้ ในฐานะของข้าราชการคงไม่ให้ความคิดเห็นส่วนตัวไม่ได้ และคงต้องดำเนินการตามนโยบาย ในส่วนของเอ็นจีโอที่ออกมาให้ความเห็นลักษณะดังกล่าวเป็นเรื่องของมุมมอง สามารถมองได้หลายมุม คงต้องมาพิจารณาว่า วิธีการเช่นไหร่ดีกว่ากัน การตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อพิจารณาว่าจะทำซีแอลหรือไม่ เป็นเรื่องที่มีผลกระทบมาก การดำเนินการจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบแม้ว่าอาจต้องใช้เวลาแต่ก็จะช่วยลดกระแสกดดันได้แน่นอน
“ส่วนคณะกรรมการร่วมกันระหว่างสธ.และสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีมา) ที่ตั้งขึ้นก่อนหน้านี้นั้น ขอศึกษาข้อมูลก่อนว่า ยังมีอยู่หรือไม่ ส่วนกรณีที่รัฐบาลจีนจะส่งเจ้าหน้าที่มาไทยเพื่อขอข้อมูลในกระบวนการทำซีแอลของไทยว่าดำเนินการอย่างไรก็ทราบเพียงข่าวจากหนังสือพิมพ์ แต่ยังไม่มีการติดต่อมาแต่อย่างใด”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
ด้าน นส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้ไม่มีอะไรคืบหน้าในเรื่องซีแอลจากฝั่ง สธ.ซึ่งการที่การประชุมกันระดับรัฐมนตรีไม่เกิดขึ้น ซึ่งความจริงควรจะหารือกันโดยเร็ว หรืออีกทางหนึ่งอาจจะมองว่าการคุยในระดับรัฐมนตรีไม่มีผลในการทำซีแอล แต่ส่วนของ สธ.ก็ยังรอคำตอบจากการประชุมครั้งนี้อยู่ดี ว่า จะทำตัวใหม่ได้อีกหรือไม่อย่างไร ขณะนี้รัฐบาลต้องมีความจริงใจในการดำเนินการ เพราะการไม่ประชุมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการรับข้อเสนอการมีส่วนร่วมจากยูเอสทีอาร์ด้วยการมีคณะกรรมการร่วม ทั้งที่มีอยู่แล้ว ก็แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีเป้าหมายอย่างไร
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะมิสเตอร์ซีแอล กล่าวว่า การตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งภาคเอกชน คือ บริษัทยา และภาคประชาชน ตามที่สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) เสนอนั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป เนื่องจากต้องรอให้มีการประชุมร่วมกันระหว่าง 3 กระทรวง คือ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข ก่อน อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบว่าจะมีการนัดหมายประชุมเมื่อใด แต่ตนเองในฐานะมิสเตอร์ซีแอล ได้นำผลสรุปข้อมูลการหารือกับยูเอสทีอาร์ไปแล้ว ส่วนจะดำเนินการอย่างไรต่อนั้น เป็นเรื่องของนโยบายที่รัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้สั่งดำเนินการ
ต่อข้อถามว่า การตั้งทำงานร่วมจะเป็นหลุมพรางที่ทำให้การทำซีแอล ยากขึ้นหรือไม่ นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ไม่สามารถให้คำตอบได้ ในฐานะของข้าราชการคงไม่ให้ความคิดเห็นส่วนตัวไม่ได้ และคงต้องดำเนินการตามนโยบาย ในส่วนของเอ็นจีโอที่ออกมาให้ความเห็นลักษณะดังกล่าวเป็นเรื่องของมุมมอง สามารถมองได้หลายมุม คงต้องมาพิจารณาว่า วิธีการเช่นไหร่ดีกว่ากัน การตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อพิจารณาว่าจะทำซีแอลหรือไม่ เป็นเรื่องที่มีผลกระทบมาก การดำเนินการจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบแม้ว่าอาจต้องใช้เวลาแต่ก็จะช่วยลดกระแสกดดันได้แน่นอน
“ส่วนคณะกรรมการร่วมกันระหว่างสธ.และสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีมา) ที่ตั้งขึ้นก่อนหน้านี้นั้น ขอศึกษาข้อมูลก่อนว่า ยังมีอยู่หรือไม่ ส่วนกรณีที่รัฐบาลจีนจะส่งเจ้าหน้าที่มาไทยเพื่อขอข้อมูลในกระบวนการทำซีแอลของไทยว่าดำเนินการอย่างไรก็ทราบเพียงข่าวจากหนังสือพิมพ์ แต่ยังไม่มีการติดต่อมาแต่อย่างใด”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
ด้าน นส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้ไม่มีอะไรคืบหน้าในเรื่องซีแอลจากฝั่ง สธ.ซึ่งการที่การประชุมกันระดับรัฐมนตรีไม่เกิดขึ้น ซึ่งความจริงควรจะหารือกันโดยเร็ว หรืออีกทางหนึ่งอาจจะมองว่าการคุยในระดับรัฐมนตรีไม่มีผลในการทำซีแอล แต่ส่วนของ สธ.ก็ยังรอคำตอบจากการประชุมครั้งนี้อยู่ดี ว่า จะทำตัวใหม่ได้อีกหรือไม่อย่างไร ขณะนี้รัฐบาลต้องมีความจริงใจในการดำเนินการ เพราะการไม่ประชุมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการรับข้อเสนอการมีส่วนร่วมจากยูเอสทีอาร์ด้วยการมีคณะกรรมการร่วม ทั้งที่มีอยู่แล้ว ก็แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีเป้าหมายอย่างไร