ชมรมสาธารณสุขประเทศไทย ค้านแพทย์ชนบทต้าน-ล่าชื่อถอดถอน-ขึ้นป้ายไม่ต้อนรับ “ไชยา” เตรียมแถลงข่าวต้านวันนี้ (24 มี.ค.)ด้าน “ไชยา” ระบุหากเป็นจริงถือว่าทำเกินกว่าเหตุ ขณะที่ประธานชมรมแพทย์ชนบทงง! ทำไมชมรมสาธารณสุขฯ เพิ่งคัดค้าน เชื่อไม่ผิดระเบียบราชการ
นายประจักษ์ ทองงาม ประธานชมรมสาธารณสุข แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ทำหนังสือเลขที่ พชบ.2551/53 ถึง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง เพื่อขอความร่วมมือเชิญชวนประชาชน/ข้าราชการในอำเภอร่วมลงชื่อถอดถอนนายไชยา สะสมทรัพย์ จากตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข ซึ่งเนื้อหาในหนังสือระบุว่า นายไชยาคิดนโยบายที่ทำลายสุขภาพทุกทาง ทั้งผู้ป่วยและคนไม่ป่วย โดยทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคเอดส์ และโรคหัวใจ ไม่เข้าถึงยา ใช้ยาราคาแพง และยังคิดนโยบายเร่งรัดให้คนป่วยมากขึ้น โดยส่งเสริมให้คนดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ด้วยแก้กฎหมายให้ยกเลิกการห้ามโฆษณาเหล้า และกฎหมายกำหนดสถานที่สูบบุหรี่ ให้สูบในผับบาร์ได้ รวมถึงการยังประมาณเลินเล่อ ไม่รอบรู้ในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นการโยกย้ายเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถ้าปล่อยให้บริหารงานกระทรวงต่อไปจะก่อให้เกิดความเสียหายกับนโยบายรัฐ เกิดความเสียหายต่อสังคม ก่อให้เกิดความแตกแยกในกระทรวง ดังนั้น จึงขอให้ท่านได้เป็นตัวแทนในการเชิญชวนให้ประชาชน ข้าราชการในอำเภอร่วมลงชื่อถอดถอนโดยด่วน พร้อมทั้งขอความร่วมมือจัดทำป้ายเขียนว่า “โรงพยาบาลนี้ ไม่ต้อนรับไชยา”
นายประจักษ์ กล่าวว่า กรณีหนังสือฉบับดังกล่าวที่ส่งไปถึงโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งทั่วประเทศ ได้มีการพูดคุยและวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งต่างไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการของทางชมรมแพทย์ชนบท เพราะจะก่อให้เกิดความแตกแยกในกระทรวงฯ มากขึ้น อีกทั้งมีการตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดจึงมีความพยายามออกมาเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการสั่งโยกย้ายในตำแหน่งเลขาธิการ อย.มีวัตถุประสงค์ใดที่แอบแฝงหรือไม่ และเหตุใดกรณีการโยกย้ายไม่เป็นธรรมในครั้งก่อนๆ ทางแพทย์ชนบทจึงไม่ออกมาเคลื่อนไหว และอยากถามว่า การดำเนินการของแพทย์ชนบทนั้น ในโรงพยาบาลชุมชน 800 แห่งทั่วประเทศมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่เห็นด้วยกับแพทย์ชนบท
“เรื่องนี้จะทำให้กระทรวงเกิดความแตกแยก เพราะสถานีอนามัย 9,000 แห่ง และสาธารณสุขอำเภอ 877 แห่ง ต่างไม่เห็นด้วยที่ทำแบบนี้ อีกทั้งการขอให้โรงพยาบาลชุมชนติดป้ายไม่ต้อนรับนายไชยานั้น เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ผิดระเบียบราชการ ซึ่งทางชมรมไม่เห็นด้วย” นายประจักษ์ กล่าว และว่าการออกมาเคลื่อนไหวครั้งนี้ไม่ได้เป็นการปกป้องนายไชยา และไม่มีอะไรแอบแฝง เพียงแต่ไม่ต้องการให้กระทรวงสาธารณสุขเกิดความแตกแยกเท่านั้น ในวันจันทร์ที่ 24 มี.ค.นี้ จะมีการเปิดแถลงข่าวเพื่อแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับแพทย์ชนบท เพื่อขอให้ยุติการเคลื่อนไหวต่างๆ” นายประจักษ์ กล่าว
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หากเป็นจริง การทำหนังสือดังกล่าวของชมรมแพทย์ชนบทถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสมและเป็นการดำเนินการที่มากเกินไป ซึ่งตนขอดูเนื้อหาในหนังสือก่อนว่าเป็นอย่างไร
ด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ตนทำหนังสือดังกล่าวจริง แต่เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป และได้ส่งไปตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. ตนสงสัยว่าเหตุใดชมรมสาธารณสุขฯ เพิ่งออกมาเคลื่อนไหว และตนไม่ได้ทำผิดระเบียบราชการเพราะทำให้ฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท ที่ขอความร่วมมือ หากใครไม่ร่วมมือตนก็ไม่ได้ว่าอะไร เมื่อทางชมรมสาธารณสุขฯ ไม่เห็นด้วยก็เป็นสิทธิ แต่ต้องตอบคำถามกับสังคมว่า เหตุผลที่ไม่เห็นด้วยเพราะอะไร
นพ.พงศ์เทพ วัชระไพบูลย์ เลขาธิการมูลนิธิแพทย์ชนบท กล่าวว่า การลงนามในหนังสือทุกครั้ง นพ.เกรียงศักดิ์ จะลงนามในฐานประธานชมรมแพทย์ชนบท ไม่ใช่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูกระดึง ดังนั้น การที่จะบอกว่าเป็นการทำผิดระเบียบในฐานะข้าราชการจึงเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง เพราะเป็นสิทธิที่ทำได้ อีกทั้งเมื่อดูในระเบียบข้าราชการก็ไม่มีระเบียบใดที่ระบุว่าข้าราชการห้ามดำเนินการถอดถอนรัฐมนตรี
นายประจักษ์ ทองงาม ประธานชมรมสาธารณสุข แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ทำหนังสือเลขที่ พชบ.2551/53 ถึง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง เพื่อขอความร่วมมือเชิญชวนประชาชน/ข้าราชการในอำเภอร่วมลงชื่อถอดถอนนายไชยา สะสมทรัพย์ จากตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข ซึ่งเนื้อหาในหนังสือระบุว่า นายไชยาคิดนโยบายที่ทำลายสุขภาพทุกทาง ทั้งผู้ป่วยและคนไม่ป่วย โดยทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคเอดส์ และโรคหัวใจ ไม่เข้าถึงยา ใช้ยาราคาแพง และยังคิดนโยบายเร่งรัดให้คนป่วยมากขึ้น โดยส่งเสริมให้คนดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ด้วยแก้กฎหมายให้ยกเลิกการห้ามโฆษณาเหล้า และกฎหมายกำหนดสถานที่สูบบุหรี่ ให้สูบในผับบาร์ได้ รวมถึงการยังประมาณเลินเล่อ ไม่รอบรู้ในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นการโยกย้ายเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถ้าปล่อยให้บริหารงานกระทรวงต่อไปจะก่อให้เกิดความเสียหายกับนโยบายรัฐ เกิดความเสียหายต่อสังคม ก่อให้เกิดความแตกแยกในกระทรวง ดังนั้น จึงขอให้ท่านได้เป็นตัวแทนในการเชิญชวนให้ประชาชน ข้าราชการในอำเภอร่วมลงชื่อถอดถอนโดยด่วน พร้อมทั้งขอความร่วมมือจัดทำป้ายเขียนว่า “โรงพยาบาลนี้ ไม่ต้อนรับไชยา”
นายประจักษ์ กล่าวว่า กรณีหนังสือฉบับดังกล่าวที่ส่งไปถึงโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งทั่วประเทศ ได้มีการพูดคุยและวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งต่างไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการของทางชมรมแพทย์ชนบท เพราะจะก่อให้เกิดความแตกแยกในกระทรวงฯ มากขึ้น อีกทั้งมีการตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดจึงมีความพยายามออกมาเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการสั่งโยกย้ายในตำแหน่งเลขาธิการ อย.มีวัตถุประสงค์ใดที่แอบแฝงหรือไม่ และเหตุใดกรณีการโยกย้ายไม่เป็นธรรมในครั้งก่อนๆ ทางแพทย์ชนบทจึงไม่ออกมาเคลื่อนไหว และอยากถามว่า การดำเนินการของแพทย์ชนบทนั้น ในโรงพยาบาลชุมชน 800 แห่งทั่วประเทศมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่เห็นด้วยกับแพทย์ชนบท
“เรื่องนี้จะทำให้กระทรวงเกิดความแตกแยก เพราะสถานีอนามัย 9,000 แห่ง และสาธารณสุขอำเภอ 877 แห่ง ต่างไม่เห็นด้วยที่ทำแบบนี้ อีกทั้งการขอให้โรงพยาบาลชุมชนติดป้ายไม่ต้อนรับนายไชยานั้น เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ผิดระเบียบราชการ ซึ่งทางชมรมไม่เห็นด้วย” นายประจักษ์ กล่าว และว่าการออกมาเคลื่อนไหวครั้งนี้ไม่ได้เป็นการปกป้องนายไชยา และไม่มีอะไรแอบแฝง เพียงแต่ไม่ต้องการให้กระทรวงสาธารณสุขเกิดความแตกแยกเท่านั้น ในวันจันทร์ที่ 24 มี.ค.นี้ จะมีการเปิดแถลงข่าวเพื่อแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับแพทย์ชนบท เพื่อขอให้ยุติการเคลื่อนไหวต่างๆ” นายประจักษ์ กล่าว
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หากเป็นจริง การทำหนังสือดังกล่าวของชมรมแพทย์ชนบทถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสมและเป็นการดำเนินการที่มากเกินไป ซึ่งตนขอดูเนื้อหาในหนังสือก่อนว่าเป็นอย่างไร
ด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ตนทำหนังสือดังกล่าวจริง แต่เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป และได้ส่งไปตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. ตนสงสัยว่าเหตุใดชมรมสาธารณสุขฯ เพิ่งออกมาเคลื่อนไหว และตนไม่ได้ทำผิดระเบียบราชการเพราะทำให้ฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท ที่ขอความร่วมมือ หากใครไม่ร่วมมือตนก็ไม่ได้ว่าอะไร เมื่อทางชมรมสาธารณสุขฯ ไม่เห็นด้วยก็เป็นสิทธิ แต่ต้องตอบคำถามกับสังคมว่า เหตุผลที่ไม่เห็นด้วยเพราะอะไร
นพ.พงศ์เทพ วัชระไพบูลย์ เลขาธิการมูลนิธิแพทย์ชนบท กล่าวว่า การลงนามในหนังสือทุกครั้ง นพ.เกรียงศักดิ์ จะลงนามในฐานประธานชมรมแพทย์ชนบท ไม่ใช่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูกระดึง ดังนั้น การที่จะบอกว่าเป็นการทำผิดระเบียบในฐานะข้าราชการจึงเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง เพราะเป็นสิทธิที่ทำได้ อีกทั้งเมื่อดูในระเบียบข้าราชการก็ไม่มีระเบียบใดที่ระบุว่าข้าราชการห้ามดำเนินการถอดถอนรัฐมนตรี