“ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี” คำๆ นี้ถูกนำมาใช้บ่อย เมื่อพบว่ามีการพัฒนานวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ เทคโนโลยีด้านการสื่อสารก็เป็นส่วนหนึ่ง ปัจจุบันเรามีโทรศัพท์มือถือที่มาพร้อมฟังก์ชันการทำงานต่างๆ มากมาย แต่ที่น่าแปลกใจ ก็คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกลับกลายเป็นดาบสองคม เมื่อมันสามารถบั่นทอนคุณธรรม จริยธรรมของผู้ใช้ได้อย่างง่ายดาย
ข่าวการทุจริตข้อสอบโดยใช้โทรศัพท์มือถือรูปแบบนาฬิกาข้อมือ ในการจัดสอบโอเน็ตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของสำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อ และพบว่า ผู้ทุจริตใช้การส่งข้อความผ่านบลูทูธเป็นทางเลือกในการบอกข้อสอบกับเพื่อน
กมล จึงเสถียรทรัพย์ ตัวแทนทีม Plasma RX นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แชมป์การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย 2007 มองว่า “สมัยนี้ การหาข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฮเทคทำได้ง่ายมากขึ้น ทั้งจากสื่อต่างๆ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต ซึ่งถ้าใช้ดีๆ มันก็มีประโยชน์เยอะครับ ในส่วนนี้ ผมว่าน้องเขาก็มีความสามารถที่ไปค้นคว้ามาได้ว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้นมันสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่อยากฝากบอกว่า ในฐานะที่คุณมีศักยภาพในตัวเอง ก็น่าจะเอาความรู้มาทำประโยชน์เพิ่มเติมดีกว่า”
“ปัจจุบันมีการแข่งขันพัฒนาซอฟต์แวร์บนมือถือ หรือ Wap Application มากมาย ซึ่งถ้าเรามีความสนใจทางด้านเทคโนโลยี ก็น่าจะนำความสนใจนั้นมาเขียนโปรแกรมส่งเข้าประกวด ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจผลิตออกขายได้จริง เป็นโปรดักต์ใหม่ ๆ สร้างรายได้ให้ตัวเอง ดีกว่ามาใช้เพื่อทุจริตเป็นครั้งคราวแบบนี้”
ขณะที่มุมมองของครูผู้สอน อาจารย์เสาวลักษณ์ ลีลาวงศาโรจน์ หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยว่า “จริง ๆ แล้ว เทคโนโลยีก็มีทั้งคุณและโทษ เหมือนเหรียญมีสองด้าน แต่การใช้งานจะอยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่าว่ามีคุณธรรมมากน้อยแค่ไหน ถ้าเด็กนำไปใช้ในทางทุจริตก็เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และเป็นสิ่งที่ต้องหามาตรการป้องกัน”
“ต้องยอมรับว่า เด็กสมัยนี้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต ในส่วนของอาจารย์จึงต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง จึงจะสามารถป้องกันการทุจริตที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีอย่างไม่ถูกต้องของเด็กได้ค่ะ”
ขณะที่มุมมองความเห็นของ นายศักดิ์ชัย เลิศเวชกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและผลิตภัณฑ์โฟนวัน บริษัท Wireless Device Supply จำกัดมองว่า “ปัญหาอยู่ที่จิตสำนึกของผู้ใช้มากกว่า เพราะเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตอาจมีการแทรกฟังก์ชันบลูทูธลงในอุปกรณ์อื่น ๆ ด้วยก็เป็นได้ การแก้ปัญหาให้ถูกจุดคือการสร้างจิตสำนึกในการใช้งาน ไม่ให้นำไปใช้เพื่อเอาเปรียบคนอื่นจะดีกว่าครับ”
อาจจะน่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่สามารถเป็นได้แม้แต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ หรือฮับทางเทคโนโลยี ดังที่รัฐมนตรีหลายคนเคยวาดฝันเอาไว้ แต่คงน่าเสียดายยิ่งกว่า ถ้าหากในปัจจุบัน การเป็นแค่ประเทศผู้ใช้เทคโนโลยี คนไทยก็ยังไม่สามารถแนะแนวการใช้งานเทคโนโลยีที่ถูกต้องให้กับเยาวชนของชาติได้
ข่าวการทุจริตข้อสอบโดยใช้โทรศัพท์มือถือรูปแบบนาฬิกาข้อมือ ในการจัดสอบโอเน็ตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของสำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อ และพบว่า ผู้ทุจริตใช้การส่งข้อความผ่านบลูทูธเป็นทางเลือกในการบอกข้อสอบกับเพื่อน
กมล จึงเสถียรทรัพย์ ตัวแทนทีม Plasma RX นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แชมป์การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย 2007 มองว่า “สมัยนี้ การหาข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฮเทคทำได้ง่ายมากขึ้น ทั้งจากสื่อต่างๆ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต ซึ่งถ้าใช้ดีๆ มันก็มีประโยชน์เยอะครับ ในส่วนนี้ ผมว่าน้องเขาก็มีความสามารถที่ไปค้นคว้ามาได้ว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้นมันสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่อยากฝากบอกว่า ในฐานะที่คุณมีศักยภาพในตัวเอง ก็น่าจะเอาความรู้มาทำประโยชน์เพิ่มเติมดีกว่า”
“ปัจจุบันมีการแข่งขันพัฒนาซอฟต์แวร์บนมือถือ หรือ Wap Application มากมาย ซึ่งถ้าเรามีความสนใจทางด้านเทคโนโลยี ก็น่าจะนำความสนใจนั้นมาเขียนโปรแกรมส่งเข้าประกวด ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจผลิตออกขายได้จริง เป็นโปรดักต์ใหม่ ๆ สร้างรายได้ให้ตัวเอง ดีกว่ามาใช้เพื่อทุจริตเป็นครั้งคราวแบบนี้”
ขณะที่มุมมองของครูผู้สอน อาจารย์เสาวลักษณ์ ลีลาวงศาโรจน์ หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยว่า “จริง ๆ แล้ว เทคโนโลยีก็มีทั้งคุณและโทษ เหมือนเหรียญมีสองด้าน แต่การใช้งานจะอยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่าว่ามีคุณธรรมมากน้อยแค่ไหน ถ้าเด็กนำไปใช้ในทางทุจริตก็เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และเป็นสิ่งที่ต้องหามาตรการป้องกัน”
“ต้องยอมรับว่า เด็กสมัยนี้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต ในส่วนของอาจารย์จึงต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง จึงจะสามารถป้องกันการทุจริตที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีอย่างไม่ถูกต้องของเด็กได้ค่ะ”
ขณะที่มุมมองความเห็นของ นายศักดิ์ชัย เลิศเวชกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและผลิตภัณฑ์โฟนวัน บริษัท Wireless Device Supply จำกัดมองว่า “ปัญหาอยู่ที่จิตสำนึกของผู้ใช้มากกว่า เพราะเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตอาจมีการแทรกฟังก์ชันบลูทูธลงในอุปกรณ์อื่น ๆ ด้วยก็เป็นได้ การแก้ปัญหาให้ถูกจุดคือการสร้างจิตสำนึกในการใช้งาน ไม่ให้นำไปใช้เพื่อเอาเปรียบคนอื่นจะดีกว่าครับ”
อาจจะน่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่สามารถเป็นได้แม้แต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ หรือฮับทางเทคโนโลยี ดังที่รัฐมนตรีหลายคนเคยวาดฝันเอาไว้ แต่คงน่าเสียดายยิ่งกว่า ถ้าหากในปัจจุบัน การเป็นแค่ประเทศผู้ใช้เทคโนโลยี คนไทยก็ยังไม่สามารถแนะแนวการใช้งานเทคโนโลยีที่ถูกต้องให้กับเยาวชนของชาติได้