ศตส.กทม.สั่งคุมเข้มพื้นที่สีแดงยาเสพติดระบาดหนักในพื้นที่ 10 เขต ธนบุรี คลองเตย ยานนาวา บางคอแหลม บางขุนเทียน พญาไท บางซื่อ ประเวศ จตุจักร และ ภาษีเจริญ พร้อมสร้าง 5 ชุมชนนำร่องปลอดภัยยาเสพติดสถาปนาความมั่นคง เผย แรงงานต่างด้าว ลาว พม่า เขมร ตัวการค้ายาข้ามชาติในเมืองกรุงมากสุด ขณะที่ตำรวจตั้งเป้าจับกุมผู้ค้ายาเกือบ 6,000 ราย ตรวจสอบทรัพย์สิน 150 ราย และกำหนดทุกวันศุกร์ตรวจสอบสถานบันเทิง
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกรุงเทพมหานคร (ศตส.กทม.) ครั้งที่ 1/2551 โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม อาทิ กอ.รมน.กทม.ผู้แทนจากกองบัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด อธิบดีอัยการฝ่ายคดียาเสพติด กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กระทรวงศึกษาธิการ สาธารณสุข แรงงาน และกระทรวงยุติธรรม ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการ กทม.
นายอภิรักษ์ เปิดเผยว่า จากการรายงานผลการปราบปรามจับกุมยาเสพติดของ บช.น.ในปีงบประมาณ 2550 สามารถจับกุมได้ 34,736 ราย แบ่งเป็นผู้เสพ 16,642 ราย ครอบครอง 7,896 ราย และจำหน่าย 6,135 ราย โดยสามารถดำเนินการจับกุมเป็นยาบ้า 1,142,584 เม็ด เฮโลอีน 1.4 กิโลกรัม หรือ 20 ห่อ 16 ถุง กัญชา 16 กิโลกรัม ยาอี 2,084 เม็ด ยาไอซ์ 5.10 กิโลกรัม พืชกระท่อม 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ จากสถิติจะเห็นได้ว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะผู้เสพที่ปีงบประมาณ 2549 มีเพียง 14,647 ราย แต่ปีงบประมาณ 2550 กลับเพิ่มขึ้นเกือบ 2,000 ราย ขณะที่ยาเสพติดประเภทพืชกระท่องก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งพบมากในพื้นที่เขตหนองจอก ขณะที่ช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2550 มีรายงาน 10 เขตพื้นที่ กทม.ที่ถูกจับกุมคดียาเสพติดมากที่สุด ได้แก่ เขตธนบุรี คลองเตย ยานนาวา บางคอแหลม บางขุนเทียน พญาไท บางซื่อ ประเวศ จตุจักร และ ภาษีเจริญ อย่างไรก็ตาม ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการ 7 คณะ โดยแต่ละคณะจะเข้าไปดูแลพื้นที่กลุ่มเสี่ยงต่างซึ่งต้องใช้มาตรการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ 1 ปีที่ผ่านมา การจัดกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งมีการตั้งชุมชนพึ่งตนเองตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งตั้งไปแล้ว 700 ชุมชน และปีนี้มีเป้าหมายจะสร้างอีก 500 ชุมชน รวมถึงมีการปฏิบัติการรวมพลังเทิดไทองค์ภูมิพลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 - มีนาคม 2551 เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดที่คงเหลือ สถาปนาความมั่นคง ป้องกันกลุ่มเสี่ยงซึ่งได้ดำเนินการนำร่อง 5 ชุมชนของ กทม.ได้แก่ ชุมชนหัวรถจักรตึกแดง 1, 2, 3 เขตบางซื่อ ชุมชนโรงน้ำแข็ง เขตสามเสน ชุมชนเกาะดอน เขตสะพานสูง ชุมชนตรอกเทวดา เขตธนบุรี และชุมชนหลังวัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน โดยจะนำผลที่ได้ไปขยายผลในชุมชนอื่นๆ ต่อไป
นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของยาเสพติดในกทม.นั้นส่วนใหญ่จะมาจากที่อื่นโดยเฉพาะตามแนวตะเข็บชายแดนทั้งจากประเทศลาว พม่า และกัมพูชา ซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบนำเข้ามาโดยซุกซ่อนไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย จากนั้นนำยาเสพติดมาพักไว้ตามอพาร์ตเมนต์ หอพัก ก่อนที่จะส่งต่อ ขณะกลุ่มผู้ค้ายาในส่วนของกลุ่มผู้ค้ารายใหม่จะเป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี ซึ่งจะจำหน่ายยาบ้ารายละไม่เกิน 1,000 เม็ด นอกจากนี้ ในส่วนของการบำบัดผู้ติดยาเสพติดนั้นในปีงบประมาณ 2550 ดำเนินการแล้ว 18,948 ราย ส่วนในปีงบประมาณ 2551 มีจำนวน 20,300 ราย แยกเป็นแบบสมัครใจ 2,000 ราย บังคับ 17,400 ราย ต้องโทษ 900 ราย ซึ่งได้ขอให้ บช.น.และกองทัพภาคที่ 1 จัดหาสถานที่เพิ่มเติมในการบำบัดเพื่อรอการตรวจพิสูจน์ซึ่งจากเดิมมีจำนวน 5 แห่ง จะหาเพิ่มเติมอีก 14 แห่ง รวมเป็น 19 แห่ง อย่างไรก็ตามร้อยละ 20 ของผู้ที่ได้รับการบำบัดจะกลับมาติดยาอีก ทั้งนี้ในปี 2551 ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมีเป้าจะดำเนินการจับกุมผู้ค้ารายเดิม 150 ราย รายย่อย 5,400 ราย จับตามหมายจับ 270 ราย ตรวจสอบทรัพย์สิน 150 ราย
ด้าน นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า การจัดกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง 30 วัน คาดว่า จะมีขึ้นในวันที่ 29 มีนาคม 2551 ซึ่งจะมีผู้ร่วมงานนับหมื่นคนทั้งนี้ศตส.กทม จะเสนอแผนรณรงคืให้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรับทราบและพิจารณาก่อนจะมีการจัดกิจกรรมขึ้น ส่วนการจัดระเบียบสังคมนั้นได้กำชับทางเขตให้เข้าไปดูแลขณะเดียวกัน กอ.รมน.กทม.ก็จะไปร่วมตรวจสถานบันเทิงต่างๆโดยจะเข้าไปตรวจในทุกวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม ทางเขตจะต้องรายงานมาให้กทม.ทราบทุกวันว่าสถานบันเทิงปิดตรงเวลาหรือไม่ มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าไปใช้บริการหรือเปล่า ซึ่งหากสถานประกอบการต่างๆให้ความร่วมมือก็จะสามารถแบ่งสถานประกอบการออกได้ชัดเจนขึ้นเพราะแหล่งของยาเสพติดมาจากสถานบันเทิงส่วนหนึ่ง
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกรุงเทพมหานคร (ศตส.กทม.) ครั้งที่ 1/2551 โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม อาทิ กอ.รมน.กทม.ผู้แทนจากกองบัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด อธิบดีอัยการฝ่ายคดียาเสพติด กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กระทรวงศึกษาธิการ สาธารณสุข แรงงาน และกระทรวงยุติธรรม ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการ กทม.
นายอภิรักษ์ เปิดเผยว่า จากการรายงานผลการปราบปรามจับกุมยาเสพติดของ บช.น.ในปีงบประมาณ 2550 สามารถจับกุมได้ 34,736 ราย แบ่งเป็นผู้เสพ 16,642 ราย ครอบครอง 7,896 ราย และจำหน่าย 6,135 ราย โดยสามารถดำเนินการจับกุมเป็นยาบ้า 1,142,584 เม็ด เฮโลอีน 1.4 กิโลกรัม หรือ 20 ห่อ 16 ถุง กัญชา 16 กิโลกรัม ยาอี 2,084 เม็ด ยาไอซ์ 5.10 กิโลกรัม พืชกระท่อม 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ จากสถิติจะเห็นได้ว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะผู้เสพที่ปีงบประมาณ 2549 มีเพียง 14,647 ราย แต่ปีงบประมาณ 2550 กลับเพิ่มขึ้นเกือบ 2,000 ราย ขณะที่ยาเสพติดประเภทพืชกระท่องก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งพบมากในพื้นที่เขตหนองจอก ขณะที่ช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2550 มีรายงาน 10 เขตพื้นที่ กทม.ที่ถูกจับกุมคดียาเสพติดมากที่สุด ได้แก่ เขตธนบุรี คลองเตย ยานนาวา บางคอแหลม บางขุนเทียน พญาไท บางซื่อ ประเวศ จตุจักร และ ภาษีเจริญ อย่างไรก็ตาม ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการ 7 คณะ โดยแต่ละคณะจะเข้าไปดูแลพื้นที่กลุ่มเสี่ยงต่างซึ่งต้องใช้มาตรการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ 1 ปีที่ผ่านมา การจัดกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งมีการตั้งชุมชนพึ่งตนเองตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งตั้งไปแล้ว 700 ชุมชน และปีนี้มีเป้าหมายจะสร้างอีก 500 ชุมชน รวมถึงมีการปฏิบัติการรวมพลังเทิดไทองค์ภูมิพลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 - มีนาคม 2551 เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดที่คงเหลือ สถาปนาความมั่นคง ป้องกันกลุ่มเสี่ยงซึ่งได้ดำเนินการนำร่อง 5 ชุมชนของ กทม.ได้แก่ ชุมชนหัวรถจักรตึกแดง 1, 2, 3 เขตบางซื่อ ชุมชนโรงน้ำแข็ง เขตสามเสน ชุมชนเกาะดอน เขตสะพานสูง ชุมชนตรอกเทวดา เขตธนบุรี และชุมชนหลังวัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน โดยจะนำผลที่ได้ไปขยายผลในชุมชนอื่นๆ ต่อไป
นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของยาเสพติดในกทม.นั้นส่วนใหญ่จะมาจากที่อื่นโดยเฉพาะตามแนวตะเข็บชายแดนทั้งจากประเทศลาว พม่า และกัมพูชา ซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบนำเข้ามาโดยซุกซ่อนไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย จากนั้นนำยาเสพติดมาพักไว้ตามอพาร์ตเมนต์ หอพัก ก่อนที่จะส่งต่อ ขณะกลุ่มผู้ค้ายาในส่วนของกลุ่มผู้ค้ารายใหม่จะเป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี ซึ่งจะจำหน่ายยาบ้ารายละไม่เกิน 1,000 เม็ด นอกจากนี้ ในส่วนของการบำบัดผู้ติดยาเสพติดนั้นในปีงบประมาณ 2550 ดำเนินการแล้ว 18,948 ราย ส่วนในปีงบประมาณ 2551 มีจำนวน 20,300 ราย แยกเป็นแบบสมัครใจ 2,000 ราย บังคับ 17,400 ราย ต้องโทษ 900 ราย ซึ่งได้ขอให้ บช.น.และกองทัพภาคที่ 1 จัดหาสถานที่เพิ่มเติมในการบำบัดเพื่อรอการตรวจพิสูจน์ซึ่งจากเดิมมีจำนวน 5 แห่ง จะหาเพิ่มเติมอีก 14 แห่ง รวมเป็น 19 แห่ง อย่างไรก็ตามร้อยละ 20 ของผู้ที่ได้รับการบำบัดจะกลับมาติดยาอีก ทั้งนี้ในปี 2551 ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมีเป้าจะดำเนินการจับกุมผู้ค้ารายเดิม 150 ราย รายย่อย 5,400 ราย จับตามหมายจับ 270 ราย ตรวจสอบทรัพย์สิน 150 ราย
ด้าน นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า การจัดกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง 30 วัน คาดว่า จะมีขึ้นในวันที่ 29 มีนาคม 2551 ซึ่งจะมีผู้ร่วมงานนับหมื่นคนทั้งนี้ศตส.กทม จะเสนอแผนรณรงคืให้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรับทราบและพิจารณาก่อนจะมีการจัดกิจกรรมขึ้น ส่วนการจัดระเบียบสังคมนั้นได้กำชับทางเขตให้เข้าไปดูแลขณะเดียวกัน กอ.รมน.กทม.ก็จะไปร่วมตรวจสถานบันเทิงต่างๆโดยจะเข้าไปตรวจในทุกวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม ทางเขตจะต้องรายงานมาให้กทม.ทราบทุกวันว่าสถานบันเทิงปิดตรงเวลาหรือไม่ มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าไปใช้บริการหรือเปล่า ซึ่งหากสถานประกอบการต่างๆให้ความร่วมมือก็จะสามารถแบ่งสถานประกอบการออกได้ชัดเจนขึ้นเพราะแหล่งของยาเสพติดมาจากสถานบันเทิงส่วนหนึ่ง