“ปลา” เป็นสัตว์เลี้ยงอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมเลี้ยงมากพอสมควร แต่ก็บ่อยครั้งที่คนรักปลาบางคนก็ยุ่งจนลืมให้อาหาร หรือเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ผลงานประดิษฐ์ที่น่าสนใจจากไอเดียบรรเจิดของกลุ่มนักศึกษาแผนกอิเลกทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคระยอง อาจจะเป็นหนึ่งใน “ตัวช่วย” ในประเด็นปัญหาดังกล่าว
วันชัย ไพรวงศ์ หรือ น้องเดี่ยว หนึ่งในคณะนักศึกษาผู้จัดทำตู้เลี้ยงปลาอัตโนมัติ หรือ Automatic Aquarium เปิดเผยถึงแรงบันดาลใจในการคิดจะทำเจ้าตู้เลี้ยงปลาอัตโนมัติ นี้ ว่า เริ่มจากที่ทีมของน้องเดี่ยว เห็นตู้ปลาเปล่าๆ ของวิทยาลัยที่ในอดีตเคยมีไว้เลี้ยงปลา แต่ตอนนี้พอปลาตาย และไม่มีใครอยากจะเลี้ยง หรือดูแลต่อก็ปล่อยไว้เฉยๆ ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อะไร
“พวกผมก็เลยคิดว่าถ้าเรามีตู้ปลาที่ดูแลปลาได้เอง ให้อาหาร เปิดไฟ เปลี่ยนน้ำได้เอง มันคงจะดีและลดภาระการดูแลไปได้มาก คือ ถ้าเราไม่ว่างให้อาหาร ปลาก็ยังได้อาหารจากเครื่องอัตโนมัติ ก็เลยคิดเจ้าตู้นี้ขึ้นมาครับ”
ชวลิต อินทร์สกล หรือ น้องแจ็ค เป็นตัวแทนของทีมอธิบายถึงวิธีการทำงานของตู้ปลาอัตโนมัติ ว่า ตู้ปลาดังกล่าวใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการทำงาน ด้วยโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาใหม่ ที่ชื่อ “Micro Controller” มี 9 โปรแกรมด้วยกัน คือ ตั้งเวลาให้อาหาร 1, ตั้งเวลาให้อาหาร 2, ตั้งระดับการให้อาหาร, ตั้งเวลาการเปลี่ยนถ่ายน้ำ, ระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำด้วยตัวเอง, ตั้งเวลาปิดหลอดไฟ, ตั้งเวลาเปิดหลอดไฟ, ตั้งเวลา และตั้งวันที่
“เราสามารถตั้งเวลาให้อาหารได้วันละสองครั้ง ตั้งเวลาเปิดไฟและปิดไฟของตู้ปลาได้โดยเราไม่ต้องเสียเวลาเปิดปิดเอง และสามารถตั้งเวลาทำความสะอาดตู้ปลาได้ด้วย ตอนนี้การทำความสะอาดตู้ปลาที่ทำขึ้นเป็นระบบเปลี่ยนน้ำ คือ ถ่ายน้ำเก่าออกครึ่งหนึ่ง และเติมใหม่เข้าไปครึ่งหนึ่ง สามารถต่อกับก๊อกน้ำประปาได้โดยไม่ต้องพักน้ำ เพราะในเครื่องไมโครคอนโทรลเลอร์มีระบบผสมน้ำยาปรับสภาพน้ำในโปรแกรมของการเปลี่ยนน้ำด้วย
ที่เราตั้งใจจะพัฒนาในอนาคตก็คือเราอยากทำระบบทำความสะอาดให้ดีขึ้นอีกระดับ คือ ติดคล้ายๆ ที่ปัดน้ำฝนเอาไว้ทำความสะอาดตู้กระจกได้แบบอัตโนมัติด้วย ก็กำลังพัฒนากันอยู่ครับ”
น้องแจ็ค กล่าวให้ข้อมูลปิดท้ายว่า ปัจจุบันตู้เลี้ยงปลาอัตโนมัตินี้อยู่ในขั้นทดลองใช้ และยังไม่พบข้อผิดพลาดใดๆ ปลาที่เลี้ยงในตู้ทั้งหมดก็สุขภาพดีและไม่มีปลาตัวใดตายจากการเลี้ยงด้วยตู้ปลาอัตโนมัติ
วันชัย ไพรวงศ์ หรือ น้องเดี่ยว หนึ่งในคณะนักศึกษาผู้จัดทำตู้เลี้ยงปลาอัตโนมัติ หรือ Automatic Aquarium เปิดเผยถึงแรงบันดาลใจในการคิดจะทำเจ้าตู้เลี้ยงปลาอัตโนมัติ นี้ ว่า เริ่มจากที่ทีมของน้องเดี่ยว เห็นตู้ปลาเปล่าๆ ของวิทยาลัยที่ในอดีตเคยมีไว้เลี้ยงปลา แต่ตอนนี้พอปลาตาย และไม่มีใครอยากจะเลี้ยง หรือดูแลต่อก็ปล่อยไว้เฉยๆ ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อะไร
“พวกผมก็เลยคิดว่าถ้าเรามีตู้ปลาที่ดูแลปลาได้เอง ให้อาหาร เปิดไฟ เปลี่ยนน้ำได้เอง มันคงจะดีและลดภาระการดูแลไปได้มาก คือ ถ้าเราไม่ว่างให้อาหาร ปลาก็ยังได้อาหารจากเครื่องอัตโนมัติ ก็เลยคิดเจ้าตู้นี้ขึ้นมาครับ”
ชวลิต อินทร์สกล หรือ น้องแจ็ค เป็นตัวแทนของทีมอธิบายถึงวิธีการทำงานของตู้ปลาอัตโนมัติ ว่า ตู้ปลาดังกล่าวใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการทำงาน ด้วยโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาใหม่ ที่ชื่อ “Micro Controller” มี 9 โปรแกรมด้วยกัน คือ ตั้งเวลาให้อาหาร 1, ตั้งเวลาให้อาหาร 2, ตั้งระดับการให้อาหาร, ตั้งเวลาการเปลี่ยนถ่ายน้ำ, ระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำด้วยตัวเอง, ตั้งเวลาปิดหลอดไฟ, ตั้งเวลาเปิดหลอดไฟ, ตั้งเวลา และตั้งวันที่
“เราสามารถตั้งเวลาให้อาหารได้วันละสองครั้ง ตั้งเวลาเปิดไฟและปิดไฟของตู้ปลาได้โดยเราไม่ต้องเสียเวลาเปิดปิดเอง และสามารถตั้งเวลาทำความสะอาดตู้ปลาได้ด้วย ตอนนี้การทำความสะอาดตู้ปลาที่ทำขึ้นเป็นระบบเปลี่ยนน้ำ คือ ถ่ายน้ำเก่าออกครึ่งหนึ่ง และเติมใหม่เข้าไปครึ่งหนึ่ง สามารถต่อกับก๊อกน้ำประปาได้โดยไม่ต้องพักน้ำ เพราะในเครื่องไมโครคอนโทรลเลอร์มีระบบผสมน้ำยาปรับสภาพน้ำในโปรแกรมของการเปลี่ยนน้ำด้วย
ที่เราตั้งใจจะพัฒนาในอนาคตก็คือเราอยากทำระบบทำความสะอาดให้ดีขึ้นอีกระดับ คือ ติดคล้ายๆ ที่ปัดน้ำฝนเอาไว้ทำความสะอาดตู้กระจกได้แบบอัตโนมัติด้วย ก็กำลังพัฒนากันอยู่ครับ”
น้องแจ็ค กล่าวให้ข้อมูลปิดท้ายว่า ปัจจุบันตู้เลี้ยงปลาอัตโนมัตินี้อยู่ในขั้นทดลองใช้ และยังไม่พบข้อผิดพลาดใดๆ ปลาที่เลี้ยงในตู้ทั้งหมดก็สุขภาพดีและไม่มีปลาตัวใดตายจากการเลี้ยงด้วยตู้ปลาอัตโนมัติ