แพทยสภา ชี้ “ศาลด้านการแพทย์และสาธารณสุข” ไอเดีย “ไชยา” สนองเต็มที่ หาก รมว.สธ.เห็นว่าเป็นไปได้ เสนอ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพ รัฐมนตรีเห็นด้วย ด้านยุติธรรมขอให้พิจารณาความคุ้มค่า
นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ศาลด้านการแพทย์และสาธารณสุขถือเป็นไอเดียของรัฐมนตรี โดยไม่เกี่ยวข้องกับร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพ พ.ศ. ...ซึ่งกำหนดขั้นตอนการการพิจารณา และบทกำหนดโทษเท่านั้น เนื่องจากแพทยสภา เห็นว่า ความเป็นไปได้ในการตั้งศาลเฉพาะทางการแพทย์และสาธารณสุข เป็นเรื่องยาก เพราะการจัดตั้งศาลต้องใช้งบประมาณ บุคลากร สถานที่ กฎหมายรองรับ มีความซับซ้อน หากทำได้เป็นเรื่องดีเป็นประโยชน์ แต่ขั้นตอนจะยากกว่าการเสนอร่างพระราชบัญัติ แต่หากรัฐมนตรีเป็นผู้นำ มองว่ามีความเป็นไปได้ ก็พร้อมที่จะผู้ดำเนินการตาม หาข้อมูลต่างๆ ให้
“รัฐมนตรีเห็นด้วยในหลักการว่า แพทย์ไม่ควรจะใช้กฎหมายอาญาเหมือนกับบุคลลทั่วไป แต่น่าจะมีกฎหมายพิเศษเฉพาะ เพื่อให้แพทย์ทำงานเพื่อประชาชน ด้วยความมั่นใจ” นพ.อำนาจ กล่าว
ด้าน นายประสงค์ มหาลี้ตระกูล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า การจัดตั้งศาลพิเศษเพื่อพิจารณาคดีทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะนั้น ต้องดูว่ามีวัตถุประสงค์อย่างไร ก่อนอื่นต้องมาพิจารณาก่อนว่า ศาลที่มีอยู่แล้ว มีข้อจำกัดอย่างไร หรือมีคดีมาก จนไม่สามารถพิจารณาคดีความได้ทัน หรือต้องใช้ความชำนาญพิเศษอย่างมาก ซึ่งโดยปกติการพิจารณาคดีทางการแพทย์ ศาลจะเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นพยานและให้ข้อมูลอยู่แล้ว
“ไม่ใช่ว่ามีศาลมากแล้วจะเป็นเรื่องที่ดี เพราะปัจจุบันก็มีศาลจังหวัด ศาลอาญา ศาลแพ่งทำหน้าที่พิจารณาคดีดังกล่าวอยู่แล้ว ต้องคิดถึงอัตรากำลังคน ความคุ้มค่าที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์ หากจัดตั้งศาลขึ้นมาแล้วไม่มีคดีความเข้าสู่การพิจารณาของศาล ก็อาจจะเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร ค่าใช้จ่าย”นายประสงค์ กล่าว
โฆษกศาลยุติธรรม ยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ การจัดตั้งศาลพิเศษ ยังมีรายละเอียดอีกมากที่จะต้องนำมาพิจารณา เช่น สถานที่ในการจัดตั้ง เนื่องจากคดีความมีอยู่ทั่วประเทศ การที่จะฟ้องร้องจะมีขั้นตอนอย่างไร ต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาตามมาได้ ที่สำคัญ ขณะนี้คดีความด้านการแพทย์ที่ปรากฏทางสื่อมวลชน ก็ยังไม่ถือว่ามีจำนวนมาก แต่สถิติคดีจริงๆ คงต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดอีกครั้ง
นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ศาลด้านการแพทย์และสาธารณสุขถือเป็นไอเดียของรัฐมนตรี โดยไม่เกี่ยวข้องกับร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพ พ.ศ. ...ซึ่งกำหนดขั้นตอนการการพิจารณา และบทกำหนดโทษเท่านั้น เนื่องจากแพทยสภา เห็นว่า ความเป็นไปได้ในการตั้งศาลเฉพาะทางการแพทย์และสาธารณสุข เป็นเรื่องยาก เพราะการจัดตั้งศาลต้องใช้งบประมาณ บุคลากร สถานที่ กฎหมายรองรับ มีความซับซ้อน หากทำได้เป็นเรื่องดีเป็นประโยชน์ แต่ขั้นตอนจะยากกว่าการเสนอร่างพระราชบัญัติ แต่หากรัฐมนตรีเป็นผู้นำ มองว่ามีความเป็นไปได้ ก็พร้อมที่จะผู้ดำเนินการตาม หาข้อมูลต่างๆ ให้
“รัฐมนตรีเห็นด้วยในหลักการว่า แพทย์ไม่ควรจะใช้กฎหมายอาญาเหมือนกับบุคลลทั่วไป แต่น่าจะมีกฎหมายพิเศษเฉพาะ เพื่อให้แพทย์ทำงานเพื่อประชาชน ด้วยความมั่นใจ” นพ.อำนาจ กล่าว
ด้าน นายประสงค์ มหาลี้ตระกูล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า การจัดตั้งศาลพิเศษเพื่อพิจารณาคดีทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะนั้น ต้องดูว่ามีวัตถุประสงค์อย่างไร ก่อนอื่นต้องมาพิจารณาก่อนว่า ศาลที่มีอยู่แล้ว มีข้อจำกัดอย่างไร หรือมีคดีมาก จนไม่สามารถพิจารณาคดีความได้ทัน หรือต้องใช้ความชำนาญพิเศษอย่างมาก ซึ่งโดยปกติการพิจารณาคดีทางการแพทย์ ศาลจะเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นพยานและให้ข้อมูลอยู่แล้ว
“ไม่ใช่ว่ามีศาลมากแล้วจะเป็นเรื่องที่ดี เพราะปัจจุบันก็มีศาลจังหวัด ศาลอาญา ศาลแพ่งทำหน้าที่พิจารณาคดีดังกล่าวอยู่แล้ว ต้องคิดถึงอัตรากำลังคน ความคุ้มค่าที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์ หากจัดตั้งศาลขึ้นมาแล้วไม่มีคดีความเข้าสู่การพิจารณาของศาล ก็อาจจะเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร ค่าใช้จ่าย”นายประสงค์ กล่าว
โฆษกศาลยุติธรรม ยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ การจัดตั้งศาลพิเศษ ยังมีรายละเอียดอีกมากที่จะต้องนำมาพิจารณา เช่น สถานที่ในการจัดตั้ง เนื่องจากคดีความมีอยู่ทั่วประเทศ การที่จะฟ้องร้องจะมีขั้นตอนอย่างไร ต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาตามมาได้ ที่สำคัญ ขณะนี้คดีความด้านการแพทย์ที่ปรากฏทางสื่อมวลชน ก็ยังไม่ถือว่ามีจำนวนมาก แต่สถิติคดีจริงๆ คงต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดอีกครั้ง