นักเรียนสมัครสอบคัดเลือกเข้าเรียน “มหิดลวิทยานุสรณ์” และ “จุฬาภรณราชวิทยาลัย” 1.7 หมื่นคน อัตราการแข่งขันมหิดลฯ สูงถึง 1 ต่อ 80 ส่วน จุฬาภรณ์ฯ 1 ต่อ 10 “ธงชัย” เตรียมเสนอนโยบายรัฐบาลส่งเสริมเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิต-วิทย์ สร้างจิตวิญญาณนักวิจัยและมีโปรแกรมต่อยอดระดับอุดมศึกษา ผนวกหลักสูตร ม.ปลาย กับ ป.ตรี เรียนจบได้ใน 6 ปี
นายธงชัย ชิวปรีชา ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เปิดเผยว่า จากการที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) คัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เข้าเป็นนักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จำนวน 240 คน, นักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ทั้ง 12 แห่ง จำนวน 288 คน และโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีการศึกษา 2551 จำนวนรวม 120 คน โดยเปิดรับสมัคร 1-30 กันยายน 2550 นั้น
มีนักเรียนมาสมัครโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย กว่า 17,000 คน ซึ่งจะมีอัตราการแข่งขันของโรงเรียนมหิดลฯ 1 ต่อ 80 และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 1 ต่อ 10 ส่วนโครงการของ วท.มียอดผู้สมัคร 3,000 คน อัตราการแข่งขัน 1 ต่อ 10 ซึ่งในส่วนของ วท.ได้มีประกาศผลผู้ผ่านคัดเลือกตัวจริงแล้ว 120 คน และตัวสำรอง 41 คน ส่วนของโรงเรียนมหิดลฯ และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยนั้น จะมีสอบรอบ 2 และจะประกาศผลในวันที่ 12 กันยายน
นายธงชัย กล่าวต่อไปว่า หลังจากรับฟังนโยบายจากรัฐบาลแล้ว ตนจะเสนอให้รัฐบาลส่งเสริมเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยจะพยายามสร้างให้มีจิตวิญญาณของความเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ นักคิดค้น รวมถึงจะเสนอให้มีโปรแกรมต่อยอดสำหรับนักเรียนที่จบโรงเรียนมหิดลฯ โดยเฉพาะ โดยมีการบูรณาการหลักสูตร ม.ปลาย กับปริญญาตรี ให้จบภายใน 6 ปี แทนที่จะเป็น 7 ปีเหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีหลายประเทศที่ดำเนินการอยู่ เช่น เกาหลี ส่วนจะเป็นไปได้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล
“7 ปีที่ผมบริหารโรงเรียนมหิดลฯ มีแนวคิดที่จะเสนอรัฐบาลให้ส่งเสริมเรื่องต่างๆ แต่ก็มีความล่าช้าเพราะขาดความต่อเนื่องของรัฐบาล หากรัฐบาลอยู่บริหารประเทศต่อเนื่องกันหลายปี ผมเชื่อว่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รัฐบาลเริ่มเห็นการศึกษาเป็นการลงทุน ไม่ใช่เรื่องของการให้บริการเพียงอย่างเดียว แต่รัฐบาลจะต้องยอมลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศมากขึ้น” นายธงชัย กล่าว
นายธงชัย ชิวปรีชา ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เปิดเผยว่า จากการที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) คัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เข้าเป็นนักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จำนวน 240 คน, นักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ทั้ง 12 แห่ง จำนวน 288 คน และโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีการศึกษา 2551 จำนวนรวม 120 คน โดยเปิดรับสมัคร 1-30 กันยายน 2550 นั้น
มีนักเรียนมาสมัครโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย กว่า 17,000 คน ซึ่งจะมีอัตราการแข่งขันของโรงเรียนมหิดลฯ 1 ต่อ 80 และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 1 ต่อ 10 ส่วนโครงการของ วท.มียอดผู้สมัคร 3,000 คน อัตราการแข่งขัน 1 ต่อ 10 ซึ่งในส่วนของ วท.ได้มีประกาศผลผู้ผ่านคัดเลือกตัวจริงแล้ว 120 คน และตัวสำรอง 41 คน ส่วนของโรงเรียนมหิดลฯ และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยนั้น จะมีสอบรอบ 2 และจะประกาศผลในวันที่ 12 กันยายน
นายธงชัย กล่าวต่อไปว่า หลังจากรับฟังนโยบายจากรัฐบาลแล้ว ตนจะเสนอให้รัฐบาลส่งเสริมเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยจะพยายามสร้างให้มีจิตวิญญาณของความเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ นักคิดค้น รวมถึงจะเสนอให้มีโปรแกรมต่อยอดสำหรับนักเรียนที่จบโรงเรียนมหิดลฯ โดยเฉพาะ โดยมีการบูรณาการหลักสูตร ม.ปลาย กับปริญญาตรี ให้จบภายใน 6 ปี แทนที่จะเป็น 7 ปีเหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีหลายประเทศที่ดำเนินการอยู่ เช่น เกาหลี ส่วนจะเป็นไปได้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล
“7 ปีที่ผมบริหารโรงเรียนมหิดลฯ มีแนวคิดที่จะเสนอรัฐบาลให้ส่งเสริมเรื่องต่างๆ แต่ก็มีความล่าช้าเพราะขาดความต่อเนื่องของรัฐบาล หากรัฐบาลอยู่บริหารประเทศต่อเนื่องกันหลายปี ผมเชื่อว่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รัฐบาลเริ่มเห็นการศึกษาเป็นการลงทุน ไม่ใช่เรื่องของการให้บริการเพียงอย่างเดียว แต่รัฐบาลจะต้องยอมลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศมากขึ้น” นายธงชัย กล่าว