“วิจิตร” ลงนามเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะครู คาดเกณฑ์ใหม่จะมีครูผ่านประเมินแค่ 30% เชื่อไม่เป็นภาระต่องบประมาณของรัฐเกินไป โวต่อไปจะไม่มีครูทิ้งนักเรียน เพื่อไปทำผลงานอีกแล้ว
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ก่อนพ้นตำแหน่ง ถึงเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะในปีงบประมาณ 2551 ว่า ก่อนที่ตนจะพ้นจากวาระ ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่มีตนเป็นประธาน ได้เห็นชอบเกณฑ์ประเมินให้มีและเลื่อนวิทยฐานะใหม่ ตามที่ นายสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเฉพาะกิจ ในการปรับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะ ข้าราชการครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์จัดทำขึ้น ซึ่งจะเริ่มใช้ในปีงบประมาณ 2551 โดยรอบแรกในเดือน 1-30 เม.ย.2551 และรอบที่ 2 ในเดือน 1-31 ต.ค.2551 ส่วนผู้ที่ยื่นขอรับการประเมินให้มี หรือเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์เดิม ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่นั้น ก็จะยังคงพิจารณาไปตามเกณฑ์เดิม จนกว่าจะแล้วเสร็จ สำหรับผู้ที่ยื่นขอรับการประเมินให้มี หรือเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ใหม่นั้น คาดว่า จะมีผู้มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอรับการประเมินได้หลักแสนคน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ขอประเมินเพื่อให้มีวิทยฐานะชำนาญการ 3,500 บาท
“คาดว่า จะมีผู้ที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ใหม่ประมาณ 30% ของผู้ขอรับประเมินทั้งหมด ซึ่งงบประมาณในส่วนนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หน่วยงานต้นสังกัด ได้ตั้งงบประมาณรองรับในส่วนของงบปกติเรียบร้อยแล้ว เชื่อว่า จำนวนงบประมาณที่จะต้องจ่ายให้กับครูที่คาดว่าจะผ่านเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะตามเกณฑ์ใหม่จะไม่เป็นภาระต่องบประมาณเกินกำลัง”
ศ.ดร.วิจิตร กล่าวอีกว่า สำหรับเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่เป็นเกณฑ์ประเมินผลงานครูตามบทบาทหน้าที่ และต้องเป็นผลงานที่นำไปใช้ในการเรียนการสอน และพัฒนาเด็กนักเรียน โดยจะติดตามจากผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนเป็นหลัก ฉะนั้น ตนเชื่อว่า จะสามารถขจัดปัญหาครูสร้างผลงานเพื่อทำวิทยฐานะแต่ละทิ้งนักเรียนเหมือนในอดีตได้ เพราะที่ผ่านมาการทำผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของครูอาจไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักเรียน ที่สุดเป็นการทำเพื่อสร้างผลงานให้ได้วิทยฐานะ แต่ต่อไปนี้ปัญหาดังกล่าวไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว เพราะสิ่งที่ครูทำจะเกิดผลกับนักเรียนไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเลื่อนวิทยฐานะได้
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ก่อนพ้นตำแหน่ง ถึงเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะในปีงบประมาณ 2551 ว่า ก่อนที่ตนจะพ้นจากวาระ ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่มีตนเป็นประธาน ได้เห็นชอบเกณฑ์ประเมินให้มีและเลื่อนวิทยฐานะใหม่ ตามที่ นายสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเฉพาะกิจ ในการปรับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะ ข้าราชการครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์จัดทำขึ้น ซึ่งจะเริ่มใช้ในปีงบประมาณ 2551 โดยรอบแรกในเดือน 1-30 เม.ย.2551 และรอบที่ 2 ในเดือน 1-31 ต.ค.2551 ส่วนผู้ที่ยื่นขอรับการประเมินให้มี หรือเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์เดิม ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่นั้น ก็จะยังคงพิจารณาไปตามเกณฑ์เดิม จนกว่าจะแล้วเสร็จ สำหรับผู้ที่ยื่นขอรับการประเมินให้มี หรือเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ใหม่นั้น คาดว่า จะมีผู้มีคุณสมบัติสามารถยื่นขอรับการประเมินได้หลักแสนคน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ขอประเมินเพื่อให้มีวิทยฐานะชำนาญการ 3,500 บาท
“คาดว่า จะมีผู้ที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ใหม่ประมาณ 30% ของผู้ขอรับประเมินทั้งหมด ซึ่งงบประมาณในส่วนนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หน่วยงานต้นสังกัด ได้ตั้งงบประมาณรองรับในส่วนของงบปกติเรียบร้อยแล้ว เชื่อว่า จำนวนงบประมาณที่จะต้องจ่ายให้กับครูที่คาดว่าจะผ่านเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะตามเกณฑ์ใหม่จะไม่เป็นภาระต่องบประมาณเกินกำลัง”
ศ.ดร.วิจิตร กล่าวอีกว่า สำหรับเกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่เป็นเกณฑ์ประเมินผลงานครูตามบทบาทหน้าที่ และต้องเป็นผลงานที่นำไปใช้ในการเรียนการสอน และพัฒนาเด็กนักเรียน โดยจะติดตามจากผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนเป็นหลัก ฉะนั้น ตนเชื่อว่า จะสามารถขจัดปัญหาครูสร้างผลงานเพื่อทำวิทยฐานะแต่ละทิ้งนักเรียนเหมือนในอดีตได้ เพราะที่ผ่านมาการทำผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของครูอาจไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักเรียน ที่สุดเป็นการทำเพื่อสร้างผลงานให้ได้วิทยฐานะ แต่ต่อไปนี้ปัญหาดังกล่าวไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว เพราะสิ่งที่ครูทำจะเกิดผลกับนักเรียนไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเลื่อนวิทยฐานะได้