“หมอประกิต” ห่วงเด็กไทยได้รับควันบุหรี่มือสอง แนะเอาอย่างมะกัน ออกกฎห้ามสูบในรถ หรือเลี่ยงสูบบุรี่ในรถ หลังพบเด็กป่วยหอบหืด-หูชั้นกลางอักเสบ เพราะพ่อแม่พ่นควันใส่
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานสาธารณสุข รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้ออกกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในรถยนต์และยานพาหนะ ผู้ใดฝ่าฝืนสูบบุหรี่ ไปป์ ซิการ์ ที่มีเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี อยู่ภายในรถด้วย เป็นการกระทำผิดกฎหมาย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551 ที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลเกี่ยวกับการออกกฎหมายฉบับดังกล่าวว่า เด็กๆ ไม่ได้รับความคุ้มครองสุขภาพ ในขณะที่ผู้ปกครอง หรือผู้ใหญ่สูบบุหรี่ในรถ ซึ่งเด็กจะได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง เพราะหากมีคนสูบบุหรี่ในรถจะมีระดับมลพิษที่เป็นอันตรายสูงเป็น 10 เท่าของระดับมาตรฐานที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ นอกจากนี้ การห้ามสูบบุหรี่ในรถยนต์ยังช่วยลดปริมาณของก้นบุหรี่ที่ถูกทิ้งตามถนนหนทาง เป็นแหล่งเกิดขยะ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาอัคคีภัยตามมา และยังเป็นการช่วยให้ผู้ปกครอง หรือญาติของเด็กๆ เลิกสูบบุหรี่ได้ง่ายขึ้นด้วย
“น่าเป็นห่วงเด็กไทยที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายแบบนี้ ทั้งๆ ที่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่า เด็กๆ ส่วนใหญ่ยังคงได้รับอันตรายจากการได้รับควันบุหรี่อย่างต่อเนื่อง จากรายงานของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ การสำรวจนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2-4 ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,067 คน พบว่า พ่อสูบบุหรี่ในรถยนต์ร้อยละ 37.1 ขณะที่ลูกนั่งอยู่ด้วย พ่อสูบบุหรี่ขณะนั่งดูทีวีอยู่กับลูกร้อยละ 25.3 แสดงให้เห็นว่า มีเด็กอีกเป็นจำนวนมากยังคงได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง ที่ส่งผลถึงปัญหาสุขภาพของเด็กมากมาย” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ศ.นพ.ประกิต กล่าวด้วยว่า โดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางระบบหายใจ ที่ควันบุหรี่ไปทำให้เกิดการระคายเคือง และอักเสบ ทำให้เด็กเป็นไข้ ไอ และหอบ, โรคหอบหืด เพราะสารพิษจากควันบุหรี่ไปทำลายปอดของเด็ก, โรคหูชั้นกลางอักเสบ เพราะควันบุหรี่ไปทำอันตรายทำให้เกิดน้ำในหูชั้นกลาง ซึ่งจะทำให้เด็กมีปัญหาในการได้ยิน เป็นต้น ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด คือ หากผู้ปกครองเป็นห่วงบุตรหลาน ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในรถยนต์และในทุกๆ ที่ที่มีเด็กอยู่ด้วย
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานสาธารณสุข รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้ออกกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในรถยนต์และยานพาหนะ ผู้ใดฝ่าฝืนสูบบุหรี่ ไปป์ ซิการ์ ที่มีเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี อยู่ภายในรถด้วย เป็นการกระทำผิดกฎหมาย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551 ที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลเกี่ยวกับการออกกฎหมายฉบับดังกล่าวว่า เด็กๆ ไม่ได้รับความคุ้มครองสุขภาพ ในขณะที่ผู้ปกครอง หรือผู้ใหญ่สูบบุหรี่ในรถ ซึ่งเด็กจะได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง เพราะหากมีคนสูบบุหรี่ในรถจะมีระดับมลพิษที่เป็นอันตรายสูงเป็น 10 เท่าของระดับมาตรฐานที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ นอกจากนี้ การห้ามสูบบุหรี่ในรถยนต์ยังช่วยลดปริมาณของก้นบุหรี่ที่ถูกทิ้งตามถนนหนทาง เป็นแหล่งเกิดขยะ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาอัคคีภัยตามมา และยังเป็นการช่วยให้ผู้ปกครอง หรือญาติของเด็กๆ เลิกสูบบุหรี่ได้ง่ายขึ้นด้วย
“น่าเป็นห่วงเด็กไทยที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายแบบนี้ ทั้งๆ ที่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่า เด็กๆ ส่วนใหญ่ยังคงได้รับอันตรายจากการได้รับควันบุหรี่อย่างต่อเนื่อง จากรายงานของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ การสำรวจนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2-4 ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,067 คน พบว่า พ่อสูบบุหรี่ในรถยนต์ร้อยละ 37.1 ขณะที่ลูกนั่งอยู่ด้วย พ่อสูบบุหรี่ขณะนั่งดูทีวีอยู่กับลูกร้อยละ 25.3 แสดงให้เห็นว่า มีเด็กอีกเป็นจำนวนมากยังคงได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง ที่ส่งผลถึงปัญหาสุขภาพของเด็กมากมาย” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ศ.นพ.ประกิต กล่าวด้วยว่า โดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางระบบหายใจ ที่ควันบุหรี่ไปทำให้เกิดการระคายเคือง และอักเสบ ทำให้เด็กเป็นไข้ ไอ และหอบ, โรคหอบหืด เพราะสารพิษจากควันบุหรี่ไปทำลายปอดของเด็ก, โรคหูชั้นกลางอักเสบ เพราะควันบุหรี่ไปทำอันตรายทำให้เกิดน้ำในหูชั้นกลาง ซึ่งจะทำให้เด็กมีปัญหาในการได้ยิน เป็นต้น ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด คือ หากผู้ปกครองเป็นห่วงบุตรหลาน ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในรถยนต์และในทุกๆ ที่ที่มีเด็กอยู่ด้วย