กลุ่มเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยจากแอลกอฮอล์ เข้าขอบคุณนายแพทย์มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นผลสำเร็จ ด้าน “หมอมงคล” ย้ำอยากเห็นความจริงจังของการบังคับใช้กฎหมาย คาดว่าคนเจ็บป่วยจากเหล้าจะไม่แน่นเตียงในโรงพยาบาล
วันนี้ (24 ม.ค.) เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงสาธารณสุข นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้ประสานเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ นำสมาชิกเครือข่ายประมาณ 100 คน เข้าพบนายแพทย์มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอบคุณในการผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2550 เป็นผลสำเร็จ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือปกป้องเยาวชนไทย ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อน้ำเมา โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีมติผ่านร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550 คาดจะมีผลบังคับใช้ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2551
นายแพทย์มงคล กล่าวว่า ความสำเร็จที่ได้มานั้นถือเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่การบังคับใช้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ต้องขอขอบคุณเครือข่ายที่ร่วมผลักดันมาตรการนี้มาตั้งแต่ต้นจนสำเร็จ ประเด็นสำคัญในตอนนี้ คือ ทำอย่างไรที่จะทำให้กฎหมายที่มีอยู่แล้วบังคับใช้ให้ดีที่สุด ซึ่งกฎหมายเหล้าและกฎหมายบุหรี่ เป็นกฎหมายที่มีลักษณะเดียวกัน คือ เป็นกฎหมายประชาคม ดังนั้น การปฏิบัติตามกฎหมายนั้น สังคมจะต้องช่วยกันดูแลให้กฎหมายมีผลบังคับใช้อย่างเต็มที่
ในปีหนึ่งๆ ประเทศไทยได้รับความเสียหายจากผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่น้อยกว่าปีละ 2-3 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้รับความเสียหายทางด้านจิตใจอีกด้วย หากดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด โรงพยาบาลจะลดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ ผู้ป่วยโรคอื่นไม่มีเตียงนอนและจะทำให้เกิดประโยชน์กับประเทศในหลายด้านอีกด้วย
จากผลสำรวจการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปในปี 2549 พบมีผู้ดื่มเกือบ 16 ล้านคน โดยเป็นผู้ที่ดื่มประจำกว่า 9 ล้านคน เป็นชายมากกว่าหญิงประมาณ 10 เท่าตัว มีผู้ดื่มนานๆ ครั้งเกือบ 7 ล้านคน โดยมักเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 19 ปี ส่วนในกลุ่มเยาวชนอายุ 11-14 ปี ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จำนวน 28,300 คน ในจำนวนนี้ดื่มทุกวันหรือเกือบทุกวัน จำนวน 2,400 คน มียอดการผลิตและนำเข้าแอลกอฮอล์เพิ่มจาก 1,400 ล้านลิตร ในปี 2537 เป็น 2,700 ล้านลิตร ในปี 2549 โดยเป็นเบียร์มากที่สุด ร้อยละ 74 เหล้าขาว ร้อยละ 14
วันนี้ (24 ม.ค.) เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงสาธารณสุข นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้ประสานเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ นำสมาชิกเครือข่ายประมาณ 100 คน เข้าพบนายแพทย์มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอบคุณในการผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2550 เป็นผลสำเร็จ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือปกป้องเยาวชนไทย ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อน้ำเมา โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีมติผ่านร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550 คาดจะมีผลบังคับใช้ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2551
นายแพทย์มงคล กล่าวว่า ความสำเร็จที่ได้มานั้นถือเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่การบังคับใช้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ต้องขอขอบคุณเครือข่ายที่ร่วมผลักดันมาตรการนี้มาตั้งแต่ต้นจนสำเร็จ ประเด็นสำคัญในตอนนี้ คือ ทำอย่างไรที่จะทำให้กฎหมายที่มีอยู่แล้วบังคับใช้ให้ดีที่สุด ซึ่งกฎหมายเหล้าและกฎหมายบุหรี่ เป็นกฎหมายที่มีลักษณะเดียวกัน คือ เป็นกฎหมายประชาคม ดังนั้น การปฏิบัติตามกฎหมายนั้น สังคมจะต้องช่วยกันดูแลให้กฎหมายมีผลบังคับใช้อย่างเต็มที่
ในปีหนึ่งๆ ประเทศไทยได้รับความเสียหายจากผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่น้อยกว่าปีละ 2-3 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้รับความเสียหายทางด้านจิตใจอีกด้วย หากดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด โรงพยาบาลจะลดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ ผู้ป่วยโรคอื่นไม่มีเตียงนอนและจะทำให้เกิดประโยชน์กับประเทศในหลายด้านอีกด้วย
จากผลสำรวจการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปในปี 2549 พบมีผู้ดื่มเกือบ 16 ล้านคน โดยเป็นผู้ที่ดื่มประจำกว่า 9 ล้านคน เป็นชายมากกว่าหญิงประมาณ 10 เท่าตัว มีผู้ดื่มนานๆ ครั้งเกือบ 7 ล้านคน โดยมักเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 19 ปี ส่วนในกลุ่มเยาวชนอายุ 11-14 ปี ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จำนวน 28,300 คน ในจำนวนนี้ดื่มทุกวันหรือเกือบทุกวัน จำนวน 2,400 คน มียอดการผลิตและนำเข้าแอลกอฮอล์เพิ่มจาก 1,400 ล้านลิตร ในปี 2537 เป็น 2,700 ล้านลิตร ในปี 2549 โดยเป็นเบียร์มากที่สุด ร้อยละ 74 เหล้าขาว ร้อยละ 14