กทม.จับมือ สปส.ลงนามบันทึกความร่วมมือจัดบริการระบบสุขภาพให้ผู้ประกันตนในเขต กทม.ได้รับความสะดวกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้านผู้ประกันตนที่รักษาตัวในโรงพยาบาล กทม.ออกปากการันตีการให้บริการ กทม.มีประสิทธิภาพดีกว่าโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง ขณะที่ สปส.เตรียมหารือคณะแพทยศาสตร์ มศว ผุดโรงพยาบาลสำหรับผู้ประกันตนเฉพาะโดยทุ่มงบกว่าพันล้านบาท
นายวัลภล สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือเรื่องการบริการระบบสุขภาพให้ผู้ประกันตนในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างกทม.และ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน โดยมีนายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการ สปส. นางสุจิตรา บุญชู รองเลขาธิการ สปส. นายสิทธิสัตย์ เจียมวงศ์แพทย์ รองปลัดกทม. และนายไกรจักร แก้วนิล ผอ.สำนักการแพทย์ กทม. เป็นผู้ลงนามบันทึกความร่วมมือ
นายวัลลภ กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ประกันตนเลือกใช้โรงพยาบาลในสังกัดกทม.ที่เปิดให้บริการแก่ผู้ประกันตนจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ และโรงพยาบาลสิรินธร
โดยมีผู้ประกันตนมาใช้บริการทั้งสิ้น 130,118 คน คิดเป็นร้อยละ 4.33 จากจำนวนผู้ประกันตนในเขตกทม.ทั้งหมด 3,005,849 คน ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนในเขต กทม.มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กทม.จึงได้ร่วมมือกับ สปส.ลงนามบันทึกความตกลงดังกล่าวโดยผู้ประกันตนจะได้รับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลสังกัดของ กทม.ทุกแห่ง ในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยทั้งจากการทำงานหรือไม่เนื่องจากการทำงาน บริการการแพทย์ฉุกเฉิน บริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ และบริการทางการแพทย์กับสถานพยาบาลที่เป็นเครือข่ายกับสถานพยาบาลในสังกัด กทม.อย่างศูนย์บริการสาธารณสุขของ กทม. และโรงพยาบาลที่เหลือในสังกัด กทม.
นอกจากนี้ โรงพยาบาลกลางและวชิระผู้ประกันตนที่คลอดบุตรที่นี่สามารถให้โรงพยาบาลทั้ง 2 ออกสูจิบัตรได้ทันทีเพื่อนำไปขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรในวันคลอดได้เลย รวมถึงสามารถขอใบมรณบัตรได้ที่โรงพยาบาลดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งได้เปิดบริการออกสูจิบัตร-มรณบัตรมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2550 และจะขยายไปในโรงพยาบาลอื่นๆ สังกัด กทม.เร็วๆ นี้
นายสุรินทร์ กล่าวเสริมว่า นอกจากโรงพยาบาลกลางและวชิระของ กทม.ที่สามารถออกใบสูจิบัตรและมรณบัตรได้แล้ว ยังมีโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตที่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้เช่นกัน นอกจากนี้ได้สั่งการไปยังสำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่มีผู้ประกันตนจำนวนมาก โดยเฉพาะตามหัวเมืองใหญ่อย่าง นครราชสีมา ลำพูน เชียงใหม่ ให้โรงพยาบาลของผู้ประกันตนออกใบ ใบสูจิบัตรและมรณบัตร เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ประกันตน หรือญาติของผู้ประกันตน และลดความยุ่งยากซับซ้อนในการทำงาน และได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายสุรินทร์ กล่าวอีกว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 24 ม.ค.นี้ สปส.จะมีการประชุมร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เพื่อหารือถึงความร่วมมือในการจัดตั้งโรงพยาบาลสำหรับผู้ประกันตนโดยเฉพาะโดยจะเป็นรูปแบบที่ สปส.ออกเงินค่าก่อสร้างอาคาร และจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ส่วนคณะแพทยศาสตร์ มศว จะเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนบุคลากรซึ่งจะคล้ายกับโรงพยาบาลแฝดใช้บุคลากรร่วมกันแต่ผู้ประกันตนจะได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น คาดว่าจะใช้งบประมาณเบื้องต้นกว่า 1,000 ล้านบาท
ด้านนายพิชัย กุลแพทย์ อายุ 59 ปี ผู้ประกันตนที่เข้าใช้บริการโรงพยาบาลกลาง กทม.กล่าวว่า ตนเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลกลางโดยใช้สิทธิผู้ประกันตนในการผ่าตัดหมอนรองกระดูกตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้วซึ่งได้รับการดูแลจากโรงพยาบาลเป็นอย่างดี และโรงพยาบาลแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นโรงพยาบาลประจำครอบครัวมาตั้งแต่รุ่นคุณแม่แล้ว
ขณะที่ นายนฤดล ทองวน ผู้ประกันตนโรงพยาบาลตากสิน กทม.กล่าวว่า ขณะที่เข้ามารักษาตนโดยใช้สิทธิประกันสังคมตนป่วยเป็นมะเร็งระยะรุนแรง ซึ่งก่อนเข้ามารักษาตัวที่นี่เคยไปรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนมาแล้วแต่ไม่ดีจึงตัดสินใจย้ายมาที่ตากสิน โดยรักษาตัวมาได้ 1 ปีแล้วแต่โรงพยาบาลตากสินมีผู้ป่วยจำนวนมาก ประกอบกับการรักษาโรคมะเร็งจะต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่เฉพาะทาง ทางโรงพยาบาลตากสินจึงได้ส่งตนไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ซึ่งตอนนี้เซลล์มะเร็งลดลงเกือบเป็นปกติแล้วที่เหลือต้องคอยตรวจสุขภาพทุก 6 เดือน
นายวัลภล สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือเรื่องการบริการระบบสุขภาพให้ผู้ประกันตนในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างกทม.และ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน โดยมีนายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการ สปส. นางสุจิตรา บุญชู รองเลขาธิการ สปส. นายสิทธิสัตย์ เจียมวงศ์แพทย์ รองปลัดกทม. และนายไกรจักร แก้วนิล ผอ.สำนักการแพทย์ กทม. เป็นผู้ลงนามบันทึกความร่วมมือ
นายวัลลภ กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ประกันตนเลือกใช้โรงพยาบาลในสังกัดกทม.ที่เปิดให้บริการแก่ผู้ประกันตนจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ และโรงพยาบาลสิรินธร
โดยมีผู้ประกันตนมาใช้บริการทั้งสิ้น 130,118 คน คิดเป็นร้อยละ 4.33 จากจำนวนผู้ประกันตนในเขตกทม.ทั้งหมด 3,005,849 คน ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนในเขต กทม.มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กทม.จึงได้ร่วมมือกับ สปส.ลงนามบันทึกความตกลงดังกล่าวโดยผู้ประกันตนจะได้รับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลสังกัดของ กทม.ทุกแห่ง ในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยทั้งจากการทำงานหรือไม่เนื่องจากการทำงาน บริการการแพทย์ฉุกเฉิน บริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ และบริการทางการแพทย์กับสถานพยาบาลที่เป็นเครือข่ายกับสถานพยาบาลในสังกัด กทม.อย่างศูนย์บริการสาธารณสุขของ กทม. และโรงพยาบาลที่เหลือในสังกัด กทม.
นอกจากนี้ โรงพยาบาลกลางและวชิระผู้ประกันตนที่คลอดบุตรที่นี่สามารถให้โรงพยาบาลทั้ง 2 ออกสูจิบัตรได้ทันทีเพื่อนำไปขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรในวันคลอดได้เลย รวมถึงสามารถขอใบมรณบัตรได้ที่โรงพยาบาลดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งได้เปิดบริการออกสูจิบัตร-มรณบัตรมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2550 และจะขยายไปในโรงพยาบาลอื่นๆ สังกัด กทม.เร็วๆ นี้
นายสุรินทร์ กล่าวเสริมว่า นอกจากโรงพยาบาลกลางและวชิระของ กทม.ที่สามารถออกใบสูจิบัตรและมรณบัตรได้แล้ว ยังมีโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตที่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้เช่นกัน นอกจากนี้ได้สั่งการไปยังสำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่มีผู้ประกันตนจำนวนมาก โดยเฉพาะตามหัวเมืองใหญ่อย่าง นครราชสีมา ลำพูน เชียงใหม่ ให้โรงพยาบาลของผู้ประกันตนออกใบ ใบสูจิบัตรและมรณบัตร เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ประกันตน หรือญาติของผู้ประกันตน และลดความยุ่งยากซับซ้อนในการทำงาน และได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายสุรินทร์ กล่าวอีกว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 24 ม.ค.นี้ สปส.จะมีการประชุมร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เพื่อหารือถึงความร่วมมือในการจัดตั้งโรงพยาบาลสำหรับผู้ประกันตนโดยเฉพาะโดยจะเป็นรูปแบบที่ สปส.ออกเงินค่าก่อสร้างอาคาร และจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ส่วนคณะแพทยศาสตร์ มศว จะเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนบุคลากรซึ่งจะคล้ายกับโรงพยาบาลแฝดใช้บุคลากรร่วมกันแต่ผู้ประกันตนจะได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น คาดว่าจะใช้งบประมาณเบื้องต้นกว่า 1,000 ล้านบาท
ด้านนายพิชัย กุลแพทย์ อายุ 59 ปี ผู้ประกันตนที่เข้าใช้บริการโรงพยาบาลกลาง กทม.กล่าวว่า ตนเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลกลางโดยใช้สิทธิผู้ประกันตนในการผ่าตัดหมอนรองกระดูกตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้วซึ่งได้รับการดูแลจากโรงพยาบาลเป็นอย่างดี และโรงพยาบาลแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นโรงพยาบาลประจำครอบครัวมาตั้งแต่รุ่นคุณแม่แล้ว
ขณะที่ นายนฤดล ทองวน ผู้ประกันตนโรงพยาบาลตากสิน กทม.กล่าวว่า ขณะที่เข้ามารักษาตนโดยใช้สิทธิประกันสังคมตนป่วยเป็นมะเร็งระยะรุนแรง ซึ่งก่อนเข้ามารักษาตัวที่นี่เคยไปรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนมาแล้วแต่ไม่ดีจึงตัดสินใจย้ายมาที่ตากสิน โดยรักษาตัวมาได้ 1 ปีแล้วแต่โรงพยาบาลตากสินมีผู้ป่วยจำนวนมาก ประกอบกับการรักษาโรคมะเร็งจะต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่เฉพาะทาง ทางโรงพยาบาลตากสินจึงได้ส่งตนไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ซึ่งตอนนี้เซลล์มะเร็งลดลงเกือบเป็นปกติแล้วที่เหลือต้องคอยตรวจสุขภาพทุก 6 เดือน