สธ.นำระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ หรือจีไอเอส มาพัฒนางาน โดยจัดทำเป็นแผนที่แสดงพื้นที่ เสี่ยงภัยโรคระบาดและภัยสุขภาพอื่นๆ เพื่อเตรียมพร้อมระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สามารถรับมือกับโรคระบาด และโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้แพทย์ค้นหาผู้ป่วยได้เร็ว และรักษาได้ผลดี
วันนี้ (14 ม.ค.) ที่โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ กทม. นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมนานาชาติ เรื่อง “ระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศด้านการสาธารณสุข” จัดโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งอาเซียน (Asian Institute of Technology : AIT) ระหว่างวันที่ 14-16 มกราคม 2551 มีผู้เข้าร่วมประชุมจากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก จำนวน 350 คน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การให้คำแนะนำในการประยุกต์นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาปรับปรุงระบบสาธารณสุขให้ทันสมัย ในการเฝ้าระวังและควบคุมระบาดวิทยาของโรค เจ้าหน้าที่สามารถรับมือกับโรคระบาดและโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายแพทย์ปราชญ์ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้ตื่นตัวในการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางทางภูมิศาสตร์ หรือที่เรียกว่า ระบบจีไอเอส (Geography Information System, GIS) มาใช้ในระบบการแพทย์และการสาธารณสุข โดยเฉพาะเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อต่างๆ หรือจากมลพิษที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะขณะนี้ โรคอุบัติใหม่จากไวรัส เช่น ไข้หวัดนก ไข้เลือดออก ซาร์ส และเอดส์ ยังเป็นภัยคุกคามชีวิตมนุษย์ทั่วโลก จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกประเทศต้องมีแผนรับมือกับโรคดังกล่าว ทั้งการจัดระบบเฝ้าระวัง การควบคุมป้องกันโรค และระบบการรักษา โดยจัดทำในรูปของระบบสารสนเทศ ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตรวจรักษาประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้สามารถลดอัตราตาย ความรุนแรงของการป่วย ลดการใช้งบประมาณลงได้หลายเท่าตัว
สำหรับประเทศไทย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้นำระบบจีไอเอส มาใช้ในงานสาธารณสุขหลายด้าน โดยเฉพาะด้านระบาดวิทยา เพื่อการควบคุมโรคที่ได้ผลดี และเป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือการแก้ปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนก ซึ่งดำเนินการร่วมกับกรมปศุสัตว์ ทำให้สามารถค้นหาผู้ป่วยจากจุดที่มีการติดเชื้อในสัตว์ปีกได้อย่างรวดเร็ว ตลอดปี 2550 ไทยไม่พบผู้ป่วยโรคนี้เลยแม้แต่รายเดียว จะได้ขยายระบบนี้ไปสู่โรคติดเชื้ออื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ไข้เลือดออก โรคเท้าช้าง อหิวาตกโรค นอกจากนี้ ยังได้นำระบบจีไอเอสมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบบริการสุขภาพ เช่น การกระจายบุคลากรสาธารณสุข สถานบริการสุขภาพ และการเข้าถึงบริการของประชาชน เพื่อใช้ในการวางแผนในการจัดสรรที่เสมอภาค รวมทั้งการลงทุนด้านสุขภาพ เพื่อให้ครอบคลุมประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน
อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยของกระทรวงสาธารณสุข ยังต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะระบบการจัดเก็บข้อมูล วิธีการเก็บ เพื่อนำไปวิเคราะห์ในภาพรวม รวมทั้งมีข้อจำกัดบางประการ เช่น ความสามารถของบุคลากร เครื่องมือ และโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง
วันนี้ (14 ม.ค.) ที่โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ กทม. นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมนานาชาติ เรื่อง “ระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศด้านการสาธารณสุข” จัดโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งอาเซียน (Asian Institute of Technology : AIT) ระหว่างวันที่ 14-16 มกราคม 2551 มีผู้เข้าร่วมประชุมจากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก จำนวน 350 คน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การให้คำแนะนำในการประยุกต์นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาปรับปรุงระบบสาธารณสุขให้ทันสมัย ในการเฝ้าระวังและควบคุมระบาดวิทยาของโรค เจ้าหน้าที่สามารถรับมือกับโรคระบาดและโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายแพทย์ปราชญ์ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้ตื่นตัวในการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางทางภูมิศาสตร์ หรือที่เรียกว่า ระบบจีไอเอส (Geography Information System, GIS) มาใช้ในระบบการแพทย์และการสาธารณสุข โดยเฉพาะเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อต่างๆ หรือจากมลพิษที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะขณะนี้ โรคอุบัติใหม่จากไวรัส เช่น ไข้หวัดนก ไข้เลือดออก ซาร์ส และเอดส์ ยังเป็นภัยคุกคามชีวิตมนุษย์ทั่วโลก จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกประเทศต้องมีแผนรับมือกับโรคดังกล่าว ทั้งการจัดระบบเฝ้าระวัง การควบคุมป้องกันโรค และระบบการรักษา โดยจัดทำในรูปของระบบสารสนเทศ ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตรวจรักษาประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้สามารถลดอัตราตาย ความรุนแรงของการป่วย ลดการใช้งบประมาณลงได้หลายเท่าตัว
สำหรับประเทศไทย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้นำระบบจีไอเอส มาใช้ในงานสาธารณสุขหลายด้าน โดยเฉพาะด้านระบาดวิทยา เพื่อการควบคุมโรคที่ได้ผลดี และเป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือการแก้ปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนก ซึ่งดำเนินการร่วมกับกรมปศุสัตว์ ทำให้สามารถค้นหาผู้ป่วยจากจุดที่มีการติดเชื้อในสัตว์ปีกได้อย่างรวดเร็ว ตลอดปี 2550 ไทยไม่พบผู้ป่วยโรคนี้เลยแม้แต่รายเดียว จะได้ขยายระบบนี้ไปสู่โรคติดเชื้ออื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ไข้เลือดออก โรคเท้าช้าง อหิวาตกโรค นอกจากนี้ ยังได้นำระบบจีไอเอสมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบบริการสุขภาพ เช่น การกระจายบุคลากรสาธารณสุข สถานบริการสุขภาพ และการเข้าถึงบริการของประชาชน เพื่อใช้ในการวางแผนในการจัดสรรที่เสมอภาค รวมทั้งการลงทุนด้านสุขภาพ เพื่อให้ครอบคลุมประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน
อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยของกระทรวงสาธารณสุข ยังต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะระบบการจัดเก็บข้อมูล วิธีการเก็บ เพื่อนำไปวิเคราะห์ในภาพรวม รวมทั้งมีข้อจำกัดบางประการ เช่น ความสามารถของบุคลากร เครื่องมือ และโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง