วิจัยชี้ชัดลงทุนพัฒนาเด็กได้กำไรอื้อเมื่อโต พบลงทุน 1 เหรียญสหรัฐ ได้กำไรกลับคืนมาในระยะยาวสูงถึง 4-17 เหรียญ ระบุเด็กไทยช่วงอายุ 3-4 ปี มากถึง 1 ใน 5 มีระดับพัฒนาการค่อนข้างช้า เผยเด็กไทยมีปัญหาพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม อ่อนสมาธิ อดทน และความคิดสร้างสรรค์ แนะสร้างเด็กให้มีคุณภาพทั้งกายและใจต้องเริ่มแต่อายุยังน้อย
รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ผู้จัดการชุดโครงการพัฒนาสุขภาพเด็ก มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เผยในการประชุมยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพเด็กไทยองค์รวมว่า เด็กและเยาวชนที่มีคุณภาพเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาสังคมไทย ดังนั้นเด็กและเยาวชนจะต้องได้รับการเลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นมาอย่างแข็งแรง สุขภาพดี และมีเชาวน์ปัญญาที่พร้อมจะเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะ สะสมประสบการณ์ และพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เพื่อร่วมกันเป็นพลังขับเคลื่อนสร้างสรรค์สังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากผลการสำรวจประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยไทยหลายครั้งที่ผ่านมากลับสรุปได้ว่าประมาณ 1 ใน 5 ของเด็กในช่วงอายุ 3-5 ปีแรกจะมีระดับพัฒนาการที่สงสัยล่าช้าหรือค่อนข้างช้า เด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามอายุ เด็กในเขตเทศบาลมีเชาว์ปัญญาเฉลี่ยสูงกว่าเด็กนอกเขตเทศบาลอย่างชัดเจน
“ข้อค้นพบเหล่านี้สะท้อนถึงปัญหาพัฒนาการของเด็กไทยว่ายังมีปัญหาหลายด้านด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ด้อยโอกาส นอกจากนี้ยังพบว่าพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมของเด็กไทยก็มีปัญหาไม่น้อย โดยเด็กไทยจะอ่อนด้านสมาธิ อดทน และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งความสามารถในด้านอารมณ์และสังคมนั้นจะมีผลต่อการเรียนรู้ในโรงเรียนและผลสัมฤทธิ์ในการเรียน และความสำเร็จของชีวิตในอนาคต”
รศ.พญ.ลัดดา กล่าวต่อว่า แรกทีเดียวครอบครัวจะเป็นสถาบันหลักที่ฟูมฟักเด็กตั้งแต่แรกเกิดเป็นทารกในครรภ์มารดา ให้การเลี้ยงดูทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ปลูกฝังพฤติกรรมต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมด้านสุขภาพ จากนั้นจะยกหน้าที่ให้แก่โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยศูนย์เด็กเล็กจะเป็นสถาบันที่รับช่วงในการหล่อหลอมเด็กต่อจากครอบครัวเมื่ออายุได้ 2-3 ขวบ ซึ่งเด็ก 3 ใน 4 จะถูกส่งเข้าศูนย์เด็กเล็ก ต่อจากนั้นก็เข้าโรงเรียน โดยเด็กจะใช้เวลาวันละ 7-8 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 5 วัน ที่ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
ที่โรงเรียนเด็กจะได้กินอาหารมื้อเที่ยง และมื้อว่าง รวมถึงได้เรียนรู้ทักษะต่างๆ ด้านสังคมและการดำรงชีวิตทั้งทางตรงผ่านกิจกรรมและทางอ้อมจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งที่เป็นตัวบุคคล สถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้นศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนจึงมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเด็กให้เติบโตแข็งแรง มีสุขภาพดี และมีเชาวน์ปัญญาที่พร้อมจะพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
“การสร้างเด็กให้มีคุณภาพทั้งกายและใจจึงต้องเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย ข้อมูลจากต่างประเทศยืนยันว่า การลงทุนเพื่อสนับสนุนพัฒนาการเด็กที่มีคุณภาพสูงนั้น ยิ่งเล็กยิ่งให้ผลคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น นักเศรษฐศาสตร์คำนวณผลได้เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนโครงการพัฒนาเด็กเล็กในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ลงทุน 1 เหรียญ (34 บาท) ได้กำไรกลับคืนในระยะยาวสูงถึง 4-17 เหรียญ จากการที่เด็กเหล่านี้สามารถเข้าเรียนในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น จบมาทำงานที่มีรายได้สูง ลดการเกิดอาชญากรรม และลดการพึ่งพิงสวัสดิการของรัฐ” รศ.พญ.ลัดดากล่าวในตอนท้าย
รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ผู้จัดการชุดโครงการพัฒนาสุขภาพเด็ก มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เผยในการประชุมยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพเด็กไทยองค์รวมว่า เด็กและเยาวชนที่มีคุณภาพเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาสังคมไทย ดังนั้นเด็กและเยาวชนจะต้องได้รับการเลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นมาอย่างแข็งแรง สุขภาพดี และมีเชาวน์ปัญญาที่พร้อมจะเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะ สะสมประสบการณ์ และพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เพื่อร่วมกันเป็นพลังขับเคลื่อนสร้างสรรค์สังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากผลการสำรวจประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยไทยหลายครั้งที่ผ่านมากลับสรุปได้ว่าประมาณ 1 ใน 5 ของเด็กในช่วงอายุ 3-5 ปีแรกจะมีระดับพัฒนาการที่สงสัยล่าช้าหรือค่อนข้างช้า เด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามอายุ เด็กในเขตเทศบาลมีเชาว์ปัญญาเฉลี่ยสูงกว่าเด็กนอกเขตเทศบาลอย่างชัดเจน
“ข้อค้นพบเหล่านี้สะท้อนถึงปัญหาพัฒนาการของเด็กไทยว่ายังมีปัญหาหลายด้านด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ด้อยโอกาส นอกจากนี้ยังพบว่าพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมของเด็กไทยก็มีปัญหาไม่น้อย โดยเด็กไทยจะอ่อนด้านสมาธิ อดทน และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งความสามารถในด้านอารมณ์และสังคมนั้นจะมีผลต่อการเรียนรู้ในโรงเรียนและผลสัมฤทธิ์ในการเรียน และความสำเร็จของชีวิตในอนาคต”
รศ.พญ.ลัดดา กล่าวต่อว่า แรกทีเดียวครอบครัวจะเป็นสถาบันหลักที่ฟูมฟักเด็กตั้งแต่แรกเกิดเป็นทารกในครรภ์มารดา ให้การเลี้ยงดูทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ปลูกฝังพฤติกรรมต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมด้านสุขภาพ จากนั้นจะยกหน้าที่ให้แก่โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยศูนย์เด็กเล็กจะเป็นสถาบันที่รับช่วงในการหล่อหลอมเด็กต่อจากครอบครัวเมื่ออายุได้ 2-3 ขวบ ซึ่งเด็ก 3 ใน 4 จะถูกส่งเข้าศูนย์เด็กเล็ก ต่อจากนั้นก็เข้าโรงเรียน โดยเด็กจะใช้เวลาวันละ 7-8 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 5 วัน ที่ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
ที่โรงเรียนเด็กจะได้กินอาหารมื้อเที่ยง และมื้อว่าง รวมถึงได้เรียนรู้ทักษะต่างๆ ด้านสังคมและการดำรงชีวิตทั้งทางตรงผ่านกิจกรรมและทางอ้อมจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งที่เป็นตัวบุคคล สถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้นศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนจึงมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเด็กให้เติบโตแข็งแรง มีสุขภาพดี และมีเชาวน์ปัญญาที่พร้อมจะพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
“การสร้างเด็กให้มีคุณภาพทั้งกายและใจจึงต้องเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อย ข้อมูลจากต่างประเทศยืนยันว่า การลงทุนเพื่อสนับสนุนพัฒนาการเด็กที่มีคุณภาพสูงนั้น ยิ่งเล็กยิ่งให้ผลคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น นักเศรษฐศาสตร์คำนวณผลได้เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนโครงการพัฒนาเด็กเล็กในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ลงทุน 1 เหรียญ (34 บาท) ได้กำไรกลับคืนในระยะยาวสูงถึง 4-17 เหรียญ จากการที่เด็กเหล่านี้สามารถเข้าเรียนในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น จบมาทำงานที่มีรายได้สูง ลดการเกิดอาชญากรรม และลดการพึ่งพิงสวัสดิการของรัฐ” รศ.พญ.ลัดดากล่าวในตอนท้าย