“ช่วยส่งเสริมเด็กเหล่านี้ให้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ แล้วพยายามผลักดันให้เรียนในระดับสูง และฝากให้ดูแลเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของนักเรียนควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงแล้วมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมากกว่านี้”
นายทนันชัย อินทนาชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนกัลยาณิวัฒนา 1 ต.นครไทย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก กล่าวถึงพระราชกระแสของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ตรัสเอาไว้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2545 ครั้งเสด็จมาเยี่ยมโรงเรียน
...หากกล่าวถึงโรงเรียนแห่งนี้ ต้องบอกว่า เป็นโรงเรียนที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมวงศานุวงศ์ไทยถึง 3 พระองค์ด้วยกัน คือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
นายทนันชัย เล่าที่มาของโรงเรียนแห่งนี้ ว่า เริ่มก่อตั้งโดย นายเกย สอนศรี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและราษฎรหมู่ 11 บ้านร้องกอก ตำบลนาบัว และราษฎร หมู่ 10 ตำบลนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ได้มอบที่ดินจำนวน 7 ไร่ ให้เป็นที่ก่อสร้างโดยการนำของจ่าสิบตำรวจสุวัฒน์ ประชุมพร ผู้บังคับหมวดตระเวนชายแดนที่ 607 ตำบลนาบัว เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างเป็นอาคารแบบชั่วคราว ในปี 2508
ต่อมาเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ในปีเดียวกัน ทางโรงเรียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทานเงินจำนวน 2 หมื่นบาท เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ เป็นแบบ ป.1 ซ.จำนวน 3 ห้องเรียน และพระองค์ได้เสด็จมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2509 พร้อมกับได้พระราชทานนามโรงเรียนนี้ว่า “โรงเรียนกัลยาณิวัฒนา 1” และได้ทรงปลูกต้นมะพร้าวจำนวน 2 ต้นไว้หน้าอาคารเรียน
จากนั้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2537 ที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จฯมาเยี่ยมโรงเรียนแห่งนี้ และรับเข้าเป็นโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ พร้อมทั้งทรงปลูกต้นกฤษณาไว้จำนวน 1 ต้น
และล่าสุด เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2545 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียน
ผู้อำนวยการโรงเรียนกัลยาณิวัฒนา 1 เล่าให้ฟังเพิ่มเติมถึงพระกรุณาธิคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ว่า เมื่อครั้งที่เสด็จมาเยี่ยมโรงเรียน พระองค์ใส่พระทัยในทุกรายละเอียด พระองค์คงเห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และนักเรียน ว่า มีสภาพความเป็นอยู่ยากจน อาหารการกินไม่อุดมสมบูรณ์ เด็กใส่ชุดนักเรียนเก่าๆ ตัวเล็กแคระแกนเหมือนเด็กขาดอาหาร จึงทรงรับสั่งให้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านและนักเรียน
ทั้งนี้ ภายหลังพระองค์เสด็จกลับ ตนเองได้ระดมความคิดเห็นจากครู ชาวบ้านเกี่ยวกับพระราชดำริของพระองค์ ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ควรนำเงินที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดสรรให้แก่นักเรียนตามโครงการอาหารกลางวัน มาซื้อพันธุ์ผักแล้วนำมาเพาะปลูก ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ จากนั้นนำผลผลิตเหล่านี้นำมาปรุงเป็นอาหารกลางวันให้เด็กรับประทาน
“เราจะให้นักเรียนเป็นคนเพาะปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อใช้เป็นอาหารกลางวัน ส่วนขั้นตอนการปรุงอาหาร ผู้ปกครองจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาวันละ 3-4 คน มาช่วยกันทำคนละไม้ละมือ ส่วนข้าวเด็กจะนำมาจากบ้าน หลังจากโรงเรียนปรุงอาหารให้นักเรียนรับประทานส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง เมื่อสุขภาพสมบูรณ์ผลการเรียนก็ดีขึ้นด้วย”
นายทนันชัย ให้ข้อมูลด้วยว่า ปัจจุบันโรงเรียนกัลยาณิวัฒนา 1 เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนทั้งสิ้น 281 คน มีบุคลากรเพียง 14 คน อีกทั้งยังขาดสื่อการเรียนการสอน คอมพิวเตอร์ อาคารเรียน นั่นไม่ใช่ปัญหามากนัก เนื่องจาก นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง ได้ให้เจ้าหน้าที่มาติดตั้งสื่อทางไกล ตรงนี้ช่วยลดปัญหาขาดแคลนครูและยังช่วยให้นักเรียนมีความรู้เท่าเทียมกับโรงเรียนในเมือง
“ถึงแม้ว่าความรู้ความสามารถของนักเรียนไม่น้อยหน้าเด็กที่เรียนในเมือง ทว่า นักเรียนของเราเกือบ 100% เมื่อเรียนจบ ม.3 แล้ว ไม่ได้ศึกษาต่อในระดับสูง ต้องออกไปทำงานต่างถิ่น ไปรับจ้างก่อสร้าง พนักงานร้านอาหาร และอื่นๆ ตั้งแต่อายุเพียง 14-15 ปี ผมต้องการสานต่อพระราชดำริของสมเด็จพระพี่เจ้านางเธอฯ ด้วยการขยายโรงเรียนให้เปิดสอนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย”
สำหรับเหตุผลที่อยากให้ขยายถึงมัธยมศึกษาปลาย ผู้อำนวยการโรงเรียน ขยายความว่า เพราะเด็กที่เรียนจบ ม.3 แล้วไปเรียนต่อมัธยมปลาย หลายคนต้องออกกลางคัน เนื่องจากทางบ้านไม่มีเงินส่งให้เรียนต่อ ถ้าโรงเรียนสามารถขยายจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายเด็กเดินมาเรียนกับเราจนจบ ม.6 ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วยังมีอาหารกลางวันให้รับประทาน สิ่งนี้น่าจะสอดคล้องกับกระแสพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
“โรงเรียนแห่งนี้อยู่ภายใต้ความดูแลของ สพฐ.อยากฝากผู้ใหญ่ให้พิจารณาเรื่องการขยายชั้นเรียน พร้อมกันนี้ อยากของบเพื่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เพราะอาคารเรียนหลังแรก ที่สมเด็จย่าฯ บริจาคเงินสร้างอาคารเรียนมีอายุการใช้งานมากว่า 40 ปี ขณะนี้อยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างหนัก”ผู้อำนวยการโรงเรียนให้ความเห็นทิ้งท้าย
ด้าน นางสุรีรัตน์ ต.สุวรรณ หัวหน้าสิ่งเสริมและสนับสนุน 2 สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรงเรียนกัลยาณิวัฒนามีอยู่ 2 แห่งคือ ที่จังหวัดพิษณุโลกกับจังหวัดหนองคาย ซึ่งสมเด็จพระพี่นางเธอฯ ทรงเข้ามาดูแลด้านการศึกษาสานต่อจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี นอกจากนี้ โรงเรียนที่ประชาชนคนไทยรู้จักกันดีนอกเหนือจากโรงเรียนกัลยาณิวัฒนา ก็คือ “โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน” โดยช่วงหลังมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโรงเรียนในพระราชดำริบ้าง และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติบ้าง ทั้งนี้ โรงเรียนเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ตั้งกระจัดกระจายตามท้องถิ่นทุรกันดาร
นายทนันชัย อินทนาชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนกัลยาณิวัฒนา 1 ต.นครไทย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก กล่าวถึงพระราชกระแสของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ตรัสเอาไว้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2545 ครั้งเสด็จมาเยี่ยมโรงเรียน
...หากกล่าวถึงโรงเรียนแห่งนี้ ต้องบอกว่า เป็นโรงเรียนที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมวงศานุวงศ์ไทยถึง 3 พระองค์ด้วยกัน คือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
นายทนันชัย เล่าที่มาของโรงเรียนแห่งนี้ ว่า เริ่มก่อตั้งโดย นายเกย สอนศรี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและราษฎรหมู่ 11 บ้านร้องกอก ตำบลนาบัว และราษฎร หมู่ 10 ตำบลนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ได้มอบที่ดินจำนวน 7 ไร่ ให้เป็นที่ก่อสร้างโดยการนำของจ่าสิบตำรวจสุวัฒน์ ประชุมพร ผู้บังคับหมวดตระเวนชายแดนที่ 607 ตำบลนาบัว เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างเป็นอาคารแบบชั่วคราว ในปี 2508
ต่อมาเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ในปีเดียวกัน ทางโรงเรียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทานเงินจำนวน 2 หมื่นบาท เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ เป็นแบบ ป.1 ซ.จำนวน 3 ห้องเรียน และพระองค์ได้เสด็จมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2509 พร้อมกับได้พระราชทานนามโรงเรียนนี้ว่า “โรงเรียนกัลยาณิวัฒนา 1” และได้ทรงปลูกต้นมะพร้าวจำนวน 2 ต้นไว้หน้าอาคารเรียน
จากนั้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2537 ที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จฯมาเยี่ยมโรงเรียนแห่งนี้ และรับเข้าเป็นโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ พร้อมทั้งทรงปลูกต้นกฤษณาไว้จำนวน 1 ต้น
และล่าสุด เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2545 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียน
ผู้อำนวยการโรงเรียนกัลยาณิวัฒนา 1 เล่าให้ฟังเพิ่มเติมถึงพระกรุณาธิคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ว่า เมื่อครั้งที่เสด็จมาเยี่ยมโรงเรียน พระองค์ใส่พระทัยในทุกรายละเอียด พระองค์คงเห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และนักเรียน ว่า มีสภาพความเป็นอยู่ยากจน อาหารการกินไม่อุดมสมบูรณ์ เด็กใส่ชุดนักเรียนเก่าๆ ตัวเล็กแคระแกนเหมือนเด็กขาดอาหาร จึงทรงรับสั่งให้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านและนักเรียน
ทั้งนี้ ภายหลังพระองค์เสด็จกลับ ตนเองได้ระดมความคิดเห็นจากครู ชาวบ้านเกี่ยวกับพระราชดำริของพระองค์ ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ควรนำเงินที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดสรรให้แก่นักเรียนตามโครงการอาหารกลางวัน มาซื้อพันธุ์ผักแล้วนำมาเพาะปลูก ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ จากนั้นนำผลผลิตเหล่านี้นำมาปรุงเป็นอาหารกลางวันให้เด็กรับประทาน
“เราจะให้นักเรียนเป็นคนเพาะปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อใช้เป็นอาหารกลางวัน ส่วนขั้นตอนการปรุงอาหาร ผู้ปกครองจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาวันละ 3-4 คน มาช่วยกันทำคนละไม้ละมือ ส่วนข้าวเด็กจะนำมาจากบ้าน หลังจากโรงเรียนปรุงอาหารให้นักเรียนรับประทานส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง เมื่อสุขภาพสมบูรณ์ผลการเรียนก็ดีขึ้นด้วย”
นายทนันชัย ให้ข้อมูลด้วยว่า ปัจจุบันโรงเรียนกัลยาณิวัฒนา 1 เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนทั้งสิ้น 281 คน มีบุคลากรเพียง 14 คน อีกทั้งยังขาดสื่อการเรียนการสอน คอมพิวเตอร์ อาคารเรียน นั่นไม่ใช่ปัญหามากนัก เนื่องจาก นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง ได้ให้เจ้าหน้าที่มาติดตั้งสื่อทางไกล ตรงนี้ช่วยลดปัญหาขาดแคลนครูและยังช่วยให้นักเรียนมีความรู้เท่าเทียมกับโรงเรียนในเมือง
“ถึงแม้ว่าความรู้ความสามารถของนักเรียนไม่น้อยหน้าเด็กที่เรียนในเมือง ทว่า นักเรียนของเราเกือบ 100% เมื่อเรียนจบ ม.3 แล้ว ไม่ได้ศึกษาต่อในระดับสูง ต้องออกไปทำงานต่างถิ่น ไปรับจ้างก่อสร้าง พนักงานร้านอาหาร และอื่นๆ ตั้งแต่อายุเพียง 14-15 ปี ผมต้องการสานต่อพระราชดำริของสมเด็จพระพี่เจ้านางเธอฯ ด้วยการขยายโรงเรียนให้เปิดสอนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย”
สำหรับเหตุผลที่อยากให้ขยายถึงมัธยมศึกษาปลาย ผู้อำนวยการโรงเรียน ขยายความว่า เพราะเด็กที่เรียนจบ ม.3 แล้วไปเรียนต่อมัธยมปลาย หลายคนต้องออกกลางคัน เนื่องจากทางบ้านไม่มีเงินส่งให้เรียนต่อ ถ้าโรงเรียนสามารถขยายจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายเด็กเดินมาเรียนกับเราจนจบ ม.6 ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วยังมีอาหารกลางวันให้รับประทาน สิ่งนี้น่าจะสอดคล้องกับกระแสพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
“โรงเรียนแห่งนี้อยู่ภายใต้ความดูแลของ สพฐ.อยากฝากผู้ใหญ่ให้พิจารณาเรื่องการขยายชั้นเรียน พร้อมกันนี้ อยากของบเพื่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เพราะอาคารเรียนหลังแรก ที่สมเด็จย่าฯ บริจาคเงินสร้างอาคารเรียนมีอายุการใช้งานมากว่า 40 ปี ขณะนี้อยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างหนัก”ผู้อำนวยการโรงเรียนให้ความเห็นทิ้งท้าย
ด้าน นางสุรีรัตน์ ต.สุวรรณ หัวหน้าสิ่งเสริมและสนับสนุน 2 สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรงเรียนกัลยาณิวัฒนามีอยู่ 2 แห่งคือ ที่จังหวัดพิษณุโลกกับจังหวัดหนองคาย ซึ่งสมเด็จพระพี่นางเธอฯ ทรงเข้ามาดูแลด้านการศึกษาสานต่อจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี นอกจากนี้ โรงเรียนที่ประชาชนคนไทยรู้จักกันดีนอกเหนือจากโรงเรียนกัลยาณิวัฒนา ก็คือ “โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน” โดยช่วงหลังมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโรงเรียนในพระราชดำริบ้าง และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติบ้าง ทั้งนี้ โรงเรียนเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ตั้งกระจัดกระจายตามท้องถิ่นทุรกันดาร