15 ปี ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พบยอดความสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรของคนไทยพุ่งสูง เจ้าของรถจ่ายเบี้ยประกันทำเงินกองทุนฯ โตกว่าหมื่นล้านบาทแต่คืนมาเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถไม่ถึงครึ่ง เพราะส่วนใหญ่จ่ายเป็นค่านายหน้า ค่าจัดการสินไหมทดแทนและกำไร อีกทั้งยังมีปัญหาบริการจัดการยุ่งยากซับซ้อนและล่าช้า ขณะที่ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 63 ยังจ่ายเงินเอง มีเพียงร้อยละ 18 ที่ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.นี้ ที่เหลือผลักภาระค่าใช้จ่ายให้บัตรประกันสุขภาพอื่น ๆ เช่น บัตรทอง ด้านคณะกรรมาธิการสาธารณสุข เสนอยกเลิกของเก่าดัน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ผู้ประสบภัยไม่ต้องจ่ายเงินเองอีกต่อไป
เมื่อเร็วๆนี้ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) จัดงานแถลงข่าวเรื่อง “ทางสว่างของผู้ประสบเหตุจราจร” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้ข้อคิดเห็นและทางออกในการแก้ปัญหา อาทิ นายแพทย์เทียม อังสาชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสระบุรี ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงค์ไพศาล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ผู้แทนจากมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค และตัวแทนครอบครัวผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเข้าไม่ถึงสิทธิอันพึงได้รับการคุ้มครองจากพ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถ
นายแพทย์พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่หรือเทศกาลวันหยุดที่มีประชาชนมีการเดินทางจำนวนมาก และทุกปีจะมีรายงานการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนตามมามากมายโดยเฉพาะช่วง 7 วันอันตราย (วันที่ 28 ธันวาคม 2549 ถึง 3 มกราคม 2550) ที่ผ่านมา เช่น สถิติข้อมูลจากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนระบุว่ามียอดการเกิดอุบัติเหตุรวม 4,456 ครั้ง บาดเจ็บ 4,943 และเสียชีวิต 449 คน โดยจังหวัดศรีษะเกษมีผู้เสียชีวิตสูงสุด รองลงมาคือ นครราชสีมาและหนองคายซึ่งสูงกว่ารายงานอุบัติเหตุเมื่อปี 2548ในช่วง 7 วันอันตรายซึ่งมีอุบัติเหตุ 4,164 ครั้ง บาดเจ็บ 4,772 คน และเสียชีวิต 441 คน แสดงถึงความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ไม่อาจประเมินค่าได้ ข้อมูลล่าสุดจากศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) สรุปยอดผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 หรือเรียกว่าช่วง 7 วันอันตราย (28 ธ.ค.50- 3 ม.ค.51) พบว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 369 คน บาดเจ็บ 4,514 คน เกิดอุบัติเหตุรวมทั้งสิ้น 4,121 ครั้ง โดยจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ กรุงเทพฯ จำนวน 20 ราย ขอนแก่น จำนวน 18 ราย นครปฐม จำนวน 16 ราย และระยอง 11 ราย ส่วนจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต รวม 4 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน สตูล ปัตตานี และนราธิวาส สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด เกิดจาก เมาสุรา คิดเป็นร้อยละ 42.30 สำหรับจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด เชียงราย 144 ครั้ง นครปฐม 128 ครั้ง และสุรินทร์ 126 ครั้ง ส่วนจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด คือ เชียงราย จำนวน 156 ราย
ด้านนายแพทย์เทียม อังสาชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสระบุรี กล่าวว่าจากรายงานผลกระทบของผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุของโรงพยาบาลสระบุรี ปี 2548 – 2550 พบว่าในส่วนของโรงพยาบาลสระบุรีได้รับผลกระทบที่เกิดจากบริษัทประกันภัย เช่น มีขั้นตอนการดำเนินงานซับซ้อน หรือกรณีผู้ป่วยที่ไม่ใช่เจ้าของรถมีความยุ่งยากที่ต้องใช้เอกสาร บริษัทประกันภัยบางแห่งมีการบันทึกข้อมูลผ่านระบบ IT ทำให้เกิดข้อจำกัดกับผู้ป่วยบางบริษัทขอเอกสารเพิ่มเติมมากกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น ผลคดี เอกสารส่วนตัวของเจ้าของรถ หรือการทำประกันภัยซ้ำซ้อนกันหลายบริษัททำให้เกิดปัญหาการขอรับค่าเสียหายหรือค่าชดเชยตามเงื่อนไข
ด้าน ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงค์ไพศาล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ความจริงแล้วในความสูญเสียดังกล่าวผู้ประสบภัยจากรถควรได้รับความคุ้มครองตามพรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งเจ้าของรถทุกคนมีหน้าที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันตามกฎหมายนี้ โดยบริษัทประกันวินาศภัยเป็นผู้รวบรวมจัดเก็บเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยจากรถเพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลทันท่วงทีผู้ประสบภัยจากรถไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และได้รับการชดเชยความเสียหายจากการทุพพลภาพหรือเสียชีวิต ซึ่งในช่วงปี 2542-2549 พบว่ามียอดเงินเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นจาก 6,555 ล้านบาทเป็น 10,727 ล้านบาท แต่เมื่อดูข้อมูลสถิติจากการเฝ้าระวังการบาดเจ็บของกระทรวงสาธารณสุขระหว่างปี พ.ศ. 2542-2548พบว่า มีผู้ประสบภัยจากรถไม่ถึง 1 ใน 5 ที่ได้รับการคุ้มครองตาม พรบ. ฉบับนี้ โดยผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 63 ยังคงต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปก่อน ส่วนที่เหลือเลือกที่จะใช้สิทธิอื่นๆ เช่น บัตรทอง สวัสดิการข้าราชการ เป็นต้น นั่นหมายถึงการผลักภาระคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในส่วนค่ารักษาพยาบาลไปให้กองทุนตามสิทธิอื่นๆนั่นเอง
ศ.นพ.ไพบูลย์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่มีรายได้ต่ำมีสัดส่วนของการใช้ พรบ. ผู้ประสบภัยจากรถฯ ค่อนข้างต่ำ ในขณะที่สัดส่วนรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูง และอัตราตายของผู้ป่วยรายได้น้อยมีค่าสูงที่สุด ที่เป็นเช่นนี้ไม่ใช่เพราะเงินเบี้ยประกันที่เจ้าของรถถูกบังคับให้จ่ายมีจำนวนไม่เพียงพอ แต่เนื่องจากการขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ กล่าวคือ แม้ระบบนี้เป็นภาคบังคับซึ่งรัฐควรดำเนินการเองแต่กลับให้บริษัทประกันวินาศภัยเป็นผู้ดำเนินการขายประกันและจ่ายสินไหมชดเชย ทำให้ต้องมีการจ่ายค่านายหน้าขายประกันและค่าดำเนินการจ่ายสินไหมทดแทนของแต่ละบริษัทรวมไปถึงต้องมีผลกำไรทางธุรกิจ อาจกล่าวได้ว่าระบบประกันภัยภาคบังคับตาม พรบ. ฉบับนี้ มีปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการเก็บเบี้ยประกันภัย ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการจ่ายเบี้ยประกันภัย ด้วยเหตุนี้คณะกรรมาธิการสาธารณสุข โดยสำนักกรรมาธิการ 3 จึงยกร่าง พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถภาคบังคับพ.ศ.... ฉบับใหม่ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา โดยให้ยกเลิกฉบับปัจจุบัน พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถภาคบังคับ พ.ศ.2535 โดยสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ คือ 1)ให้กรมการขนส่งทางบกจัดเก็บเบี้ยประกันภัยพร้อมการต่อทะเบียนรถหรือจดทะเบียนใหม่โดยมีค่าใช้จ่ายไม่เกินร้อยละ 1 ของเบี้ยประกันภัย 2)ให้กรมบัญชีกลางจัดการกองทุนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถภาคบังคับเพื่อจ่ายค่าชดเชยความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยและจ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่สถานพยาบาลโดยมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเบี้ยประกันภัย และ 3)กำหนดให้กองทุนฯนำเงินส่วนเกินไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ทำประกันภัย หรือลดเบี้ยประกันภัยหรือนำเงินส่งเข้าภาครัฐเป็นรายได้แผ่นดิน
ด้าน ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า ปัญหาภายใต้ระบบการประกันภัยรถภาคบังคับปัจจุบัน คือ การกำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยเป็นผู้ดำเนินการรักประกันภัยรถภาคบังคับซึ่งทำให้เกิดปัญหา 2 ด้านคือ ค่าใช้จ่ายดำเนินการสูงกว่าที่จำเป็น และผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนจากระบบที่เป็นอยู่ ผลดีของร่าง พรบ.ฉบับใหม่นี้คือ ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานจากร้อยละ 38 เหลือร้อยละ 6 ของเบี้ยประกันภัย ผู้ประสบภัยทุกรายไม่ต้องทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล และมีการวางแนวทางการตรวจสอบเอกสารและจ่ายเงินให้เป็นแบบเดียวกันทั่วประเทศ สถานพยาบาลและผู้ประสบภัยสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินค่าเสียหายได้สะดวกมากขึ้นลดปัญหาที่เกิดจากการรอผลพิสูจน์ความผิดทางกฎหมาย เช่น ได้รับค่าเสียหายล่าช้า ผู้ประสบภัยมีสิทธิได้รับค่าเสียหายเท่ากันทุกคนสามารถปรับเพิ่มค่าเสียหายที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ และลดภาระกองทุนประกันสุขภาพระบบอื่น ๆ ที่พึ่งภาษีและค่าประกันตนได้ ทั้งนี้อาจมองอีกแง่หนึ่งว่ารถคือปัจจัยเสี่ยงของประเทศ คือเป็นการสร้างความเสี่ยงให้กับสังคม ดังนั้นเจ้าของรถจึงควรจ่ายเงินเพื่อเป็นการประกันภัยเมื่อประสบอุบัติเหตุหรือมีคนได้รับบาดเจ็บก็สามารถดึงเงินจากกองกลางนี้ได้
“วิธีที่กำลังปฏิบัติในขณะนี้กลับเป็นวิธีที่ขาดประสิทธิภาพอย่างมากเสมือนกับการคันที่หูขวาแต่กลับใช้มือซ้ายมาเกาซึ่งวิธีที่ถูกต้องคือการใช้มือขวาเกาที่หูข้างขวาเปรียบได้กับระบบในปัจจุบัน ขณะเดียวกันรัฐบาลบังคับให้รถทุกคันต้องซื้อประกันซึ่งไม่ต่างกับการเสียภาษีชนิดหนึ่ง ความจริงคือประชาชนไม่มีทางเลือกเพราะกำลังถูกบังคับให้ซื้อประกันจากบริษัทเอกชน ขณะนี้ในประเทศไทยมีบริษัทประกันภัยเอกชนทั้งสิ้นถึง 65 บริษัท อย่างไรก็ตาม แนวคิดใหม่นี้เป็นทางเลือกหนึ่งของการให้ความคุ้มครองการประกันภัยรถภาคบังคับที่มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบปัจจุบันที่ใช้กันอยู่และจะส่งผลที่ดีต่อการให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแต่การจะทำตามแนวคิดใหม่นี้ได้ จำเป็นต้องยกเลิก พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และใช้ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถภาคบังคับ พ.ศ.....นี้แทน”
----------------------------------------------
โดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
เมื่อเร็วๆนี้ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) จัดงานแถลงข่าวเรื่อง “ทางสว่างของผู้ประสบเหตุจราจร” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้ข้อคิดเห็นและทางออกในการแก้ปัญหา อาทิ นายแพทย์เทียม อังสาชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสระบุรี ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงค์ไพศาล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ผู้แทนจากมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค และตัวแทนครอบครัวผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเข้าไม่ถึงสิทธิอันพึงได้รับการคุ้มครองจากพ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถ
นายแพทย์พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่หรือเทศกาลวันหยุดที่มีประชาชนมีการเดินทางจำนวนมาก และทุกปีจะมีรายงานการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนตามมามากมายโดยเฉพาะช่วง 7 วันอันตราย (วันที่ 28 ธันวาคม 2549 ถึง 3 มกราคม 2550) ที่ผ่านมา เช่น สถิติข้อมูลจากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนระบุว่ามียอดการเกิดอุบัติเหตุรวม 4,456 ครั้ง บาดเจ็บ 4,943 และเสียชีวิต 449 คน โดยจังหวัดศรีษะเกษมีผู้เสียชีวิตสูงสุด รองลงมาคือ นครราชสีมาและหนองคายซึ่งสูงกว่ารายงานอุบัติเหตุเมื่อปี 2548ในช่วง 7 วันอันตรายซึ่งมีอุบัติเหตุ 4,164 ครั้ง บาดเจ็บ 4,772 คน และเสียชีวิต 441 คน แสดงถึงความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ไม่อาจประเมินค่าได้ ข้อมูลล่าสุดจากศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) สรุปยอดผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 หรือเรียกว่าช่วง 7 วันอันตราย (28 ธ.ค.50- 3 ม.ค.51) พบว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 369 คน บาดเจ็บ 4,514 คน เกิดอุบัติเหตุรวมทั้งสิ้น 4,121 ครั้ง โดยจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ กรุงเทพฯ จำนวน 20 ราย ขอนแก่น จำนวน 18 ราย นครปฐม จำนวน 16 ราย และระยอง 11 ราย ส่วนจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต รวม 4 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน สตูล ปัตตานี และนราธิวาส สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด เกิดจาก เมาสุรา คิดเป็นร้อยละ 42.30 สำหรับจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด เชียงราย 144 ครั้ง นครปฐม 128 ครั้ง และสุรินทร์ 126 ครั้ง ส่วนจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด คือ เชียงราย จำนวน 156 ราย
ด้านนายแพทย์เทียม อังสาชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสระบุรี กล่าวว่าจากรายงานผลกระทบของผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุของโรงพยาบาลสระบุรี ปี 2548 – 2550 พบว่าในส่วนของโรงพยาบาลสระบุรีได้รับผลกระทบที่เกิดจากบริษัทประกันภัย เช่น มีขั้นตอนการดำเนินงานซับซ้อน หรือกรณีผู้ป่วยที่ไม่ใช่เจ้าของรถมีความยุ่งยากที่ต้องใช้เอกสาร บริษัทประกันภัยบางแห่งมีการบันทึกข้อมูลผ่านระบบ IT ทำให้เกิดข้อจำกัดกับผู้ป่วยบางบริษัทขอเอกสารเพิ่มเติมมากกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น ผลคดี เอกสารส่วนตัวของเจ้าของรถ หรือการทำประกันภัยซ้ำซ้อนกันหลายบริษัททำให้เกิดปัญหาการขอรับค่าเสียหายหรือค่าชดเชยตามเงื่อนไข
ด้าน ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงค์ไพศาล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ความจริงแล้วในความสูญเสียดังกล่าวผู้ประสบภัยจากรถควรได้รับความคุ้มครองตามพรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งเจ้าของรถทุกคนมีหน้าที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันตามกฎหมายนี้ โดยบริษัทประกันวินาศภัยเป็นผู้รวบรวมจัดเก็บเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยจากรถเพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลทันท่วงทีผู้ประสบภัยจากรถไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และได้รับการชดเชยความเสียหายจากการทุพพลภาพหรือเสียชีวิต ซึ่งในช่วงปี 2542-2549 พบว่ามียอดเงินเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นจาก 6,555 ล้านบาทเป็น 10,727 ล้านบาท แต่เมื่อดูข้อมูลสถิติจากการเฝ้าระวังการบาดเจ็บของกระทรวงสาธารณสุขระหว่างปี พ.ศ. 2542-2548พบว่า มีผู้ประสบภัยจากรถไม่ถึง 1 ใน 5 ที่ได้รับการคุ้มครองตาม พรบ. ฉบับนี้ โดยผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 63 ยังคงต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปก่อน ส่วนที่เหลือเลือกที่จะใช้สิทธิอื่นๆ เช่น บัตรทอง สวัสดิการข้าราชการ เป็นต้น นั่นหมายถึงการผลักภาระคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในส่วนค่ารักษาพยาบาลไปให้กองทุนตามสิทธิอื่นๆนั่นเอง
ศ.นพ.ไพบูลย์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่มีรายได้ต่ำมีสัดส่วนของการใช้ พรบ. ผู้ประสบภัยจากรถฯ ค่อนข้างต่ำ ในขณะที่สัดส่วนรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูง และอัตราตายของผู้ป่วยรายได้น้อยมีค่าสูงที่สุด ที่เป็นเช่นนี้ไม่ใช่เพราะเงินเบี้ยประกันที่เจ้าของรถถูกบังคับให้จ่ายมีจำนวนไม่เพียงพอ แต่เนื่องจากการขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ กล่าวคือ แม้ระบบนี้เป็นภาคบังคับซึ่งรัฐควรดำเนินการเองแต่กลับให้บริษัทประกันวินาศภัยเป็นผู้ดำเนินการขายประกันและจ่ายสินไหมชดเชย ทำให้ต้องมีการจ่ายค่านายหน้าขายประกันและค่าดำเนินการจ่ายสินไหมทดแทนของแต่ละบริษัทรวมไปถึงต้องมีผลกำไรทางธุรกิจ อาจกล่าวได้ว่าระบบประกันภัยภาคบังคับตาม พรบ. ฉบับนี้ มีปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการเก็บเบี้ยประกันภัย ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการจ่ายเบี้ยประกันภัย ด้วยเหตุนี้คณะกรรมาธิการสาธารณสุข โดยสำนักกรรมาธิการ 3 จึงยกร่าง พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถภาคบังคับพ.ศ.... ฉบับใหม่ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา โดยให้ยกเลิกฉบับปัจจุบัน พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถภาคบังคับ พ.ศ.2535 โดยสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ คือ 1)ให้กรมการขนส่งทางบกจัดเก็บเบี้ยประกันภัยพร้อมการต่อทะเบียนรถหรือจดทะเบียนใหม่โดยมีค่าใช้จ่ายไม่เกินร้อยละ 1 ของเบี้ยประกันภัย 2)ให้กรมบัญชีกลางจัดการกองทุนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถภาคบังคับเพื่อจ่ายค่าชดเชยความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยและจ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่สถานพยาบาลโดยมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเบี้ยประกันภัย และ 3)กำหนดให้กองทุนฯนำเงินส่วนเกินไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ทำประกันภัย หรือลดเบี้ยประกันภัยหรือนำเงินส่งเข้าภาครัฐเป็นรายได้แผ่นดิน
ด้าน ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า ปัญหาภายใต้ระบบการประกันภัยรถภาคบังคับปัจจุบัน คือ การกำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยเป็นผู้ดำเนินการรักประกันภัยรถภาคบังคับซึ่งทำให้เกิดปัญหา 2 ด้านคือ ค่าใช้จ่ายดำเนินการสูงกว่าที่จำเป็น และผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนจากระบบที่เป็นอยู่ ผลดีของร่าง พรบ.ฉบับใหม่นี้คือ ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานจากร้อยละ 38 เหลือร้อยละ 6 ของเบี้ยประกันภัย ผู้ประสบภัยทุกรายไม่ต้องทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล และมีการวางแนวทางการตรวจสอบเอกสารและจ่ายเงินให้เป็นแบบเดียวกันทั่วประเทศ สถานพยาบาลและผู้ประสบภัยสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินค่าเสียหายได้สะดวกมากขึ้นลดปัญหาที่เกิดจากการรอผลพิสูจน์ความผิดทางกฎหมาย เช่น ได้รับค่าเสียหายล่าช้า ผู้ประสบภัยมีสิทธิได้รับค่าเสียหายเท่ากันทุกคนสามารถปรับเพิ่มค่าเสียหายที่ผู้ประสบภัยจะได้รับ และลดภาระกองทุนประกันสุขภาพระบบอื่น ๆ ที่พึ่งภาษีและค่าประกันตนได้ ทั้งนี้อาจมองอีกแง่หนึ่งว่ารถคือปัจจัยเสี่ยงของประเทศ คือเป็นการสร้างความเสี่ยงให้กับสังคม ดังนั้นเจ้าของรถจึงควรจ่ายเงินเพื่อเป็นการประกันภัยเมื่อประสบอุบัติเหตุหรือมีคนได้รับบาดเจ็บก็สามารถดึงเงินจากกองกลางนี้ได้
“วิธีที่กำลังปฏิบัติในขณะนี้กลับเป็นวิธีที่ขาดประสิทธิภาพอย่างมากเสมือนกับการคันที่หูขวาแต่กลับใช้มือซ้ายมาเกาซึ่งวิธีที่ถูกต้องคือการใช้มือขวาเกาที่หูข้างขวาเปรียบได้กับระบบในปัจจุบัน ขณะเดียวกันรัฐบาลบังคับให้รถทุกคันต้องซื้อประกันซึ่งไม่ต่างกับการเสียภาษีชนิดหนึ่ง ความจริงคือประชาชนไม่มีทางเลือกเพราะกำลังถูกบังคับให้ซื้อประกันจากบริษัทเอกชน ขณะนี้ในประเทศไทยมีบริษัทประกันภัยเอกชนทั้งสิ้นถึง 65 บริษัท อย่างไรก็ตาม แนวคิดใหม่นี้เป็นทางเลือกหนึ่งของการให้ความคุ้มครองการประกันภัยรถภาคบังคับที่มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบปัจจุบันที่ใช้กันอยู่และจะส่งผลที่ดีต่อการให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแต่การจะทำตามแนวคิดใหม่นี้ได้ จำเป็นต้องยกเลิก พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และใช้ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถภาคบังคับ พ.ศ.....นี้แทน”
----------------------------------------------
โดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)