สธ.พบปีใหม่นี้ ร้านค้าฝ่าฝืนขายเหล้าในเวลาต้องห้าม สูงกว่าปีที่แล้ว 3 เท่าตัว โดยร้านค้าบนถนนสายรอง มีการกระทำผิดสูงกว่าถนนสายหลัก จังหวัดที่มีการกระทำผิดสูงสุด ได้แก่ ลำพูน ร้อยละ 89 รองลงมา ขอนแก่น ร้อยละ 80 เชียงใหม่ ร้อยละ 77 และสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 75
นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุจราจรในช่วงเทศกาลต่างๆ ที่ผ่านมา พบว่า มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการเมาสุรา ในช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้ จึงได้สั่งการให้สำนักโรคไม่ติดต่อ และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศ สุ่มสำรวจการฝ่าฝืนจำหน่ายสุราในเวลาและสถานที่ที่กฎหมายกำหนดห้ามขาย ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2550 - 2 มกราคม 2551 ดำเนินการใน 32 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท ชลบุรี ระยอง นครปฐม เพชรบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร มุกดาหาร นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ลำพูน สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง เพื่อประมวลผลให้คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน นำไปใช้เป็นข้อมูลวางแผนแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากการดื่มเหล้าแล้วขับต่อไป
นพ.มงคล กล่าวต่อว่า ผลการสำรวจสถานที่ห้ามขายสุราได้แก่ ปั๊มน้ำมัน บริเวณสถานศึกษา และบริเวณศาสนสถาน รวมทั้งบริเวณต่อเนื่องติดกับสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งหมด 843 แห่ง พบมีการกระทำผิด 131 แห่ง หรือร้อยละ 15 ใกล้เคียงกับช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 โดยปั๊มน้ำมันกระทำผิดมากสุด ร้อยละ 19 เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่พบร้อยละ 18 รองลงมาเป็น ศาสนสถาน ร้อยละ 6 และสถานศึกษา ร้อยละ 5 ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้พบมีการกระทำผิดลดลงจากเดิมกว่าครึ่ง ร้านค้าที่อยู่บนถนนสายรอง มีการกระทำผิดร้อยละ 17 สูงกว่าร้านค้าที่อยู่บนถนนสายหลักที่พบร้อยละ 15 โดยจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการกระทำผิดค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา แต่สถิติลดลงจากร้อยละ 72 ในปีใหม่ 2550 เหลือร้อยละ 44 ในปีใหม่ปีนี้ เหตุผลของการกระทำผิด คือ ไม่รู้ว่ามีกฎหมาย ร้อยละ 37 ต้องการมีรายได้ ร้อยละ 14 คิดว่าน่าจะยกเว้นเพราะเป็นช่วงเทศกาล กลัวจะเสียลูกค้าประจำ และไม่เคยมีการบังคับใช้กฎหมายจริงจัง พบใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 10
สำหรับการขายสุรานอกเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมี 2 ช่วงเวลา คือ 11.00-14.00 น.และ 17.00-24.00 น.ได้สำรวจทั้งหมด 807 แห่ง พบกระทำผิดมากถึง 429 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 53 สูงกว่าปีใหม่ 2550 ที่พบร้อยละ 16 ถึงกว่า 3 เท่า โดยร้านค้าบนถนนสายรองมีการกระทำผิดสูงกว่าถนนสายหลัก จังหวัดที่มีการกระทำผิดสูงสุด ได้แก่ ลำพูน ร้อยละ 89 รองลงมา ขอนแก่น ร้อยละ 80 เชียงใหม่ ร้อยละ 77 และสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 75 เหตุผลของการกระทำผิด คือ ต้องการมีรายได้ร้อยละ 27 ไม่รู้ว่ามีกฎหมาย ร้อยละ 26 คิดว่าน่าจะมีการยกเว้นเพราะเป็นช่วงเทศกาล ร้อยละ 22 และไม่เคยมีการบังคับใช้กฎหมายจริงจัง ร้อยละ 13
ด้านนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์ในภาพรวม พบว่า ปีนี้มีการกระทำผิดทั้งการขายสุราในสถานที่ และเวลาที่ห้ามขาย มากกว่าในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการขายในเวลาห้ามขาย พบร้านค้าที่สำรวจมีการกระทำผิดสูงกว่าครึ่ง และสูงกว่าช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาถึง 2 เท่าตัว โดยเหตุผลหลัก คือ ไม่รู้ว่ามีกฎหมาย ส่วนที่รู้ว่ามีกฎหมายก็ยังกระทำผิด เพราะต้องการรายได้ และเห็นว่า น่าจะยกเว้นให้ในช่วงเทศกาล ดังนั้น จึงต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้กฎหมายมากขึ้น ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และควรเพิ่มโทษร้านค้าที่ฝ่าฝืนกฎหมาย รวมทั้งเข้มงวดการออกใบอนุญาตขายสุราให้มากขึ้น อีกทั้งควรร่วมมือกันแจ้งเบาะแสผู้กระทำผิดกฎหมาย ที่หมายเลข 1713 ของกรมสรรพสามิต
นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุจราจรในช่วงเทศกาลต่างๆ ที่ผ่านมา พบว่า มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการเมาสุรา ในช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้ จึงได้สั่งการให้สำนักโรคไม่ติดต่อ และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศ สุ่มสำรวจการฝ่าฝืนจำหน่ายสุราในเวลาและสถานที่ที่กฎหมายกำหนดห้ามขาย ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2550 - 2 มกราคม 2551 ดำเนินการใน 32 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท ชลบุรี ระยอง นครปฐม เพชรบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร มุกดาหาร นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ลำพูน สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง เพื่อประมวลผลให้คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน นำไปใช้เป็นข้อมูลวางแผนแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากการดื่มเหล้าแล้วขับต่อไป
นพ.มงคล กล่าวต่อว่า ผลการสำรวจสถานที่ห้ามขายสุราได้แก่ ปั๊มน้ำมัน บริเวณสถานศึกษา และบริเวณศาสนสถาน รวมทั้งบริเวณต่อเนื่องติดกับสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งหมด 843 แห่ง พบมีการกระทำผิด 131 แห่ง หรือร้อยละ 15 ใกล้เคียงกับช่วงเทศกาลปีใหม่ 2550 โดยปั๊มน้ำมันกระทำผิดมากสุด ร้อยละ 19 เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่พบร้อยละ 18 รองลงมาเป็น ศาสนสถาน ร้อยละ 6 และสถานศึกษา ร้อยละ 5 ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้พบมีการกระทำผิดลดลงจากเดิมกว่าครึ่ง ร้านค้าที่อยู่บนถนนสายรอง มีการกระทำผิดร้อยละ 17 สูงกว่าร้านค้าที่อยู่บนถนนสายหลักที่พบร้อยละ 15 โดยจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการกระทำผิดค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา แต่สถิติลดลงจากร้อยละ 72 ในปีใหม่ 2550 เหลือร้อยละ 44 ในปีใหม่ปีนี้ เหตุผลของการกระทำผิด คือ ไม่รู้ว่ามีกฎหมาย ร้อยละ 37 ต้องการมีรายได้ ร้อยละ 14 คิดว่าน่าจะยกเว้นเพราะเป็นช่วงเทศกาล กลัวจะเสียลูกค้าประจำ และไม่เคยมีการบังคับใช้กฎหมายจริงจัง พบใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 10
สำหรับการขายสุรานอกเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมี 2 ช่วงเวลา คือ 11.00-14.00 น.และ 17.00-24.00 น.ได้สำรวจทั้งหมด 807 แห่ง พบกระทำผิดมากถึง 429 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 53 สูงกว่าปีใหม่ 2550 ที่พบร้อยละ 16 ถึงกว่า 3 เท่า โดยร้านค้าบนถนนสายรองมีการกระทำผิดสูงกว่าถนนสายหลัก จังหวัดที่มีการกระทำผิดสูงสุด ได้แก่ ลำพูน ร้อยละ 89 รองลงมา ขอนแก่น ร้อยละ 80 เชียงใหม่ ร้อยละ 77 และสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 75 เหตุผลของการกระทำผิด คือ ต้องการมีรายได้ร้อยละ 27 ไม่รู้ว่ามีกฎหมาย ร้อยละ 26 คิดว่าน่าจะมีการยกเว้นเพราะเป็นช่วงเทศกาล ร้อยละ 22 และไม่เคยมีการบังคับใช้กฎหมายจริงจัง ร้อยละ 13
ด้านนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์ในภาพรวม พบว่า ปีนี้มีการกระทำผิดทั้งการขายสุราในสถานที่ และเวลาที่ห้ามขาย มากกว่าในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการขายในเวลาห้ามขาย พบร้านค้าที่สำรวจมีการกระทำผิดสูงกว่าครึ่ง และสูงกว่าช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาถึง 2 เท่าตัว โดยเหตุผลหลัก คือ ไม่รู้ว่ามีกฎหมาย ส่วนที่รู้ว่ามีกฎหมายก็ยังกระทำผิด เพราะต้องการรายได้ และเห็นว่า น่าจะยกเว้นให้ในช่วงเทศกาล ดังนั้น จึงต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้กฎหมายมากขึ้น ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และควรเพิ่มโทษร้านค้าที่ฝ่าฝืนกฎหมาย รวมทั้งเข้มงวดการออกใบอนุญาตขายสุราให้มากขึ้น อีกทั้งควรร่วมมือกันแจ้งเบาะแสผู้กระทำผิดกฎหมาย ที่หมายเลข 1713 ของกรมสรรพสามิต