xs
xsm
sm
md
lg

รอฝุ่นตลบ! SRTA จ่อชง ครม.อนุมัติแนวทาง “บ้านเพื่อคนไทย” เน้นอาคารชุด 8-26 ชั้น นําร่อง 4 โครงการ คาดงบฯ 5.7 พันล้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รอฝุ่นตลบ! “เอสอาร์ที แอสเสท” (SRTA) จ่อชง ครม. อนุมัติแนวทางการดําเนินงานโครงการ “บ้านเพื่อคนไทย” นําร่องระยะที่ 1 จํานวน 4 โครงการ เป็นอาคารชุดขนาดเล็ก และขนาดกลาง 8-26 ชั้น พื้นที่ กม.11 ระยะ 1.1 กทม. รอบสถานีรถไฟเชียงใหม่ สถานีรถไฟเชียงราก ปทุมธานี รอบสถานีรถไฟธนบุรี ประมาณการ 5,731.48 ล้านบาท ขอความร่วมมือ 4 หน่วยงานรัฐ สนับสนุนทั้งจับสลากคัดเลือกผู้ลงทะเบียน คัดกรองคุณสมบัติผู้ลงทะเบียน จองสิทธิถึงการถือครองที่พักอาศัย การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ขอและประเมินรายงาน EIA ดึง ธอส.สนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการ

วันนี้ (31 มี.ค.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการ “บ้านเพื่อคนไทย” ของพรรคเพื่อไทย ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติ ให้ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จํากัด หรือ SRTA บริษัทลูก รฟท. เป็นเจ้าภาพดำเนินโครงการ

หลังจากประชาชนให้ความสนใจ ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 350,000 ราย ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการบ้านเพื่อคนไทย (Pre Approve) จากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) แล้วจำนวน 140,000 ราย ขณะที่จำนวนที่อยู่อาศัยในระยะที่ 1 จะมีประมาณ 5,700 ยูนิต

ล่าสุด พบว่า กระทรวงคมนาคม เตรียมจะเสนอแนวทางดําเนินการ ให้ครม.พิจารณา ในเร็วๆ นี้ เพื่อขอเห็นชอบ ซึ่งเป็นแนวทางการดําเนินงานโครงการบ้านเพื่อคนไทย นําร่องระยะที่ 1 จํานวน 4 โครงการ ที่บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จํากัด เสนอ

ประกอบด้วย พื้นที่โครงการ กม.11 ระยะ 1.1 จำนวน 1,296 หน่วย พื้นที่รอบสถานีรถไฟจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 574 หน่วย พื้นที่รอบสถานีรถไฟเชียงราก จังหวัดปทุมธานี จำนวน 210 หน่วย และพื้นที่รอบสถานีรถไฟธนบุรี จำนวน 2,100 หน่วย

ซึ่งผลประมาณการจัดสร้างที่อยู่อาศัยตามผลการศึกษา การสำรวจ และการออกแบบเบื้องต้น รวมจำนวนประมาณ 4,100 หน่วย เป็นอาคารชุดขนาดเล็ก และขนาดกลาง 8-26 ชั้น ไม่น้อยกว่า 30 ตารางเมตร ในระดับราคา 1.2 ล้าน - 1.8 ล้านบาท/หน่วย หรือ 4-6 หมื่นบาท/ตารางเมตร โดยประมาณ

“นอกจากขอความเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานโครงการ จะมอบหมายหน่วยงาน ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กรมที่ดิน กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป”

บริษัทได้วิเคราะห์ความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น เช่น ความร่วมมือทางด้านเงินทุนและมาตรการสินเชื่อ ตามกรอบวงเงินโครงการนำร่อง ระยะที่ 1 จำนวน 4 โครงการ ประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท

โดยความร่วมมือทางด้านเงินทุนและมาตรการสินเชื่อจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด และธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ลงนามความร่วมมือด้านเงินทุนและมาตรการสินเชื่อ ดังต่อไปนี้

1) สินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย (Pre - Finance) โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้ผู้ประกอบการและหรือบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ที่ร่วมดำเนินโครงการ

2) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Post - Finance) โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์
ความร่วมมือทางด้านการสนับสนุนโครงการ ดังต่อไปนี้

1) ความร่วมมือจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อดำเนินการจับสลากคัดเลือกผู้ลงทะเบียนโครงการบ้านเพื่อคนไทย

2) ความร่วมมือจากกรมที่ดิน เพื่อให้การคัดกรองคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนจองสิทธิถึงการถือครองที่พักอาศัย

3) กรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อการขออนุญาตการก่อสร้างอาคาร

4) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กองพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กลุ่มงานพิจารณาผู้มีสิทธิทำรายงาน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เพื่อการขอและประเมินการทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA)

เนื่องจากโครงการบ้านเพื่อคนไทย ได้รับการตอบรับจากประชาชนที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก

ควรเร่งรัดพัฒนาโครงการให้สำเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด

จึงขอเสนอรูปแบบการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามกฏระเบียบของภาครัฐ ดังนี้

บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ดำเนินการจัดทำรายการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) พร้อมออกแบบเบื้องต้น (Conceptual Design)

เพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนาโครงการ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนแสดงความสนใจเข้าร่วมโครงการ

บริษัทร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย สำรวจพื้นที่ และกำหนดผังบริเวณพื้นที่ที่จะขอเช่าจากการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อนำมาพัฒนาโครงการ

โดยตกลงผลตอบแทน และดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ตามกฎระเบียบของทั้งสองหน่วยงาน

บริษัทและการรถไฟแห่งประเทศไทยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากพนักงานการรถไฟฯ ที่อยู่อาศัยเดิมในพื้นที่ (ถ้ามี)

เพื่อกำหนดแผนการจ่ายค่าชดเชยและอำนวยความสะดวกในการย้ายที่อยู่ก่อนการรื้อถอนและก่อสร้างโครงการ

โดยมีมาตรการชดเชย ในลักษณะของการจัดสรรงบประมาณสำหรับพนักงานในการหาที่อยู่อาศัยชั่วคราว ในระหว่างการก่อสร้าง

สำหรับพนักงานการรถไฟฯ ที่พักอาศัยอยู่เดิมตามระเบียบและข้อกำหนดของหน่วยงาน และเมื่อก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ จะจัดสรรพื้นที่ของโครงการให้แก่พนักงานการรถไฟฯ ตามจำนวนผู้ได้รับสิทธิ

“บริษัทจะจัดหาผู้รับจ้างสำรวจออกแบบรายละเอียดโครงการ รวมทั้งดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) เพื่อเตรียมจัดหาผู้รับจ้างดำเนินโครงการ”

นอกจากนี้ บริษัทได้จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวทางด้านการเงิน (Sensitivity Analysis) ของโครงการบ้านเพื่อคนไทยอย่างเป็นระบบ

เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยสำคัญ โดยได้ประเมินประเภทความเสี่ยงของโครงการจำแนกออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (S) ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (O) ด้านความเสี่ยงด้านการเงิน (F) และความเสี่ยงด้านปฏิบัติตามกฎหมาย/กฎระเบียบ (C) ซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงเพื่อนำมากำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยง

สำหรับแหล่งเงินทุนในการดำเนินการพัฒนาโครงการนำร่อง บริษัทได้ประสานกับสถาบันการเงินของรัฐและมีความเห็นชอบการสนับสนุนเงินทุนจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ และได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU)

และร่วมกันศึกษาผลตอบแทนทางการเงินและผลประโยชน์อื่นๆ ซึ่งบริษัทได้สำรวจแล้วเสร็จในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสุดไปแล้วจำนวน 4 พื้นที่ ดังกล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น