xs
xsm
sm
md
lg

สกัด “ผู้รับเหมา” หัวหมอ! แจ้งหน่วยงานรัฐ งดเปิดข้อมูลก่อนทำสัญญา หลังพบจงใจยื่นเอกสารไม่ครบ หวังล้มประมูล เหตุเสนอราคารายเดียว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เวียนหน่วยงานรัฐทั่วประเทศ ย้ำ! จะไม่เปิดเผยข้อมูลการเสนอราคาจัดซื้อจัดจ้าง “ก่อนทำสัญญา” อีกต่อไป เริ่ม 2 ก.ย.นี้ หลังนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ เผย จะเปิดหลังทำสัญญาแล้วเท่านั้น หลังพบผู้ประกอบการ หัวหมอ! จงใจยื่นเอกสารไม่ครบ หวังให้เหลือผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว จนทำให้การประกวดราคาต้องยกเลิก

วันนี้ (6 ก.ย.) มีรายงานจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมบัญชีกลาง เวียนหนังสือถึง ปลัดกระทรวง อธิบดี อธิการบดี เลขาธิการ ผู้อํานวยการ ผู้บัญชาการ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าการ หัวหน้ารัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารท้องถิ่น และหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐ

ในกรณี การไม่เปิดเผยสรุปข้อมูลการเสนอราคาเบื้องต้น ภายหลังได้นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลราคา

มีการปรับมาตรการใหม่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการเสนอราคา e-bidding จากปัญหาเดิม ที่เคยเปิดเผยข้อมูลสรุปการเสนอราคาเบื้องต้นทันทีหลังปิดการเสนอราคา

“ซึ่งทำให้เกิดปัญหาผู้ประกอบการบางราย จงใจยื่นเอกสารไม่ครบ เพื่อให้เหลือผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว และทำให้การประกวดราคาต้องยกเลิก”

ที่ผ่านมา ได้นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลราคา ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2567 และตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย. 2567 เป็นต้นไป จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการเสนอราคาเบื้องต้นในระบบ e-bidding อีกต่อไป

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนี้ มีขึ้นเพื่อป้องกันการใช้ข้อมูลในทางที่ไม่เหมาะสม และเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐโปร่งใสและเป็นธรรมมากขึ้น

โดยข้อมูลการเสนอราคาและรายชื่อผู้ยื่นข้อเสนอจะเปิดเผยในขั้นตอนหลังทำสัญญาแล้วเท่านั้น

ภายหลังได้เปิดเผยสรุปข้อมูลการเสนอราคาเบื้องต้นของวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ซึ่งเปิดราคาต่่้ำสุดที่เสนอโดยไม่เปิดเผยรายชื่อผู้เสนอราคา และเปิดทันที

หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอราคา ที่เว็บไซต์ www.gprocurement.go.th เพื่อป้องกันปัญหาความเสี่ยง ในการเข้าถึงข้อมูลการเสนอราคา และแก้ไขราคาของผู้เสนอราคาต่ำสุด

ที่ผ่านมานี้ กรมบัญชีกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานในการควบคุมดูแลการประมูลภาครัฐทั้งหมด ได้นำระบบ Block Chain มาใช้ในกระบวนการประมูลงานภาครัฐ เพื่อทำให้ผู้ร่วมประมูลทุกราย

รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่เป็นเจ้าของโครงการที่เสนอประมูล จะไม่เห็นราคาประมูล (Bid) จนกว่าจะปิดการประมูล ได้สร้างความเป็นธรรมในการประมูลงานภาครัฐ

ทั้งนี้ การเสนอราคาประมูลบน Block Chain ดังกล่าวนั้น ข้อมูลการประมูลจะถูกส่งมายังกรมบัญชีกลางและส่งต่อไปยังธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นธนาคารที่ดูแลระบบการประมูลงานภาครัฐ

ซึ่งกรมบัญชีกลาง และธนาคารกรุงไทย จะดำเนินการเข้ารหัส ( Encrypt) ซึ่งจะไม่มีใครเปิดดูได้ก่อนเวลาการปิดประมูล จึงสามารถป้องกันการฮั้วประมูลได้


กำลังโหลดความคิดเห็น