xs
xsm
sm
md
lg

ทล.สบช่อง “กฎคุมป้าย” มท.ฉบับใหม่ ยกสารพัดกฎหมาย จี้เจ้าของป้ายขออนุญาต-เสียภาษี ควบคู่คุมป้ายสูงบนดิน 30 เมตร

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“กรมทางหลวง” สบช่องกฎเหล็กคุมป้ายโฆษณา “มท.” ฉบับใหม่ เฉพาะบนถนนหลวงในกำกับ ยกสารพัดกฎหมาย จี้ “ผู้เสียภาษี” จ่ายและขอออนุญาตให้ครบ หลัง มท.จ่อใช้เพิ่ม “ป้ายใหม่” บนพื้นดินโดยตรง ห้ามสูงเกิน 30 ม. ยาวไม่เกิน 32 ม. ไม่อยู่ใกล้ถนนสาธารณะ แต่ “ผ่อนปรน” ป้ายเก่า ตั้งแต่ กม.ปี 58

วันนี้ (22 ก.ค.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการออกกฎกระทรวง เพื่อเข้าไปควบคุมป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้น รวมถึงการติดหรือตั้งป้าย บริเวณอาคารสูงและอาคารทั่วไป รวมถึงป้ายที่ก่อสร้างริมถนนสาธารณะ (ทางหลวง)

ล่าสุด กระทรวงมหาดไทย เตรียมออกประกาศ กฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ...) พ.ศ. … ภายหลัง คณะรัฐมนตรี รับหลักการร่างฯ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณา

ล่าสุด พบว่า กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ต่อร่างฯดังกล่าว ว่า หากจะมีการดำเนินการติดตั้งป้ายภายในเขตทางหลวง เห็นสมควรให้ “ผู้เสียภาษี” ดำเนินการขออบุญาตติดตั้งป้ายที่จะขออนุญาตติดตั้งป้ายและขำระค่าใช้เขตทาง

“ตามมาตรา 47 และมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 และตามกฎกระทรวงกำหนดค่าใช้เขตทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. 2564”

โดย “ผู้ขออนุญาต” ต้องเสนอรูปแบบ หน้าป้ายที่จะขออนุญาต แบบรูปแบบตัดแสดงแนวเขตทางหลวง พร้อมระบุตำแหน่งที่ขออนุญาต และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อกรมทางหลวง หรือกรมทางหลวงชนบท แล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาและให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการก่อสร้าง

ทั้งนี้ การดำเนินการก่อสร้างใดๆ ในเขตทางหลวง “ควรให้มีการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง ทนทานของป้าย หรือโครงสร้างอย่างสม่ำเสมอ เมื่อใช้งานไปนานๆ

โดยเฉพาะป้ายทื่อยู่ริมถนน และชุมชน และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้เส้นทางเป็นสำคัญ

สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ...) พ.ศ. … ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ

และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สำหรับสาระสำคัญของร่างฯ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับความสูง และแนวร่นของป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารและป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับ ติดหรือตั้งป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน

รวมทั้งเพื่อเป็นการผ่อนปรนให้ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่มีอยู่ก่อนกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2558

ใช้บังคับและมีความมั่นคงแข็งแรงสามารถขออนุญาตก่อสร้างได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด และคณะกรรมการควบคุมอาคารได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวด้วยแล้ว ดังต่อไปนี้

1. แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับความสูงและแนวร่นของป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร และป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรง ดังนี้

1.1 ป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารต้องไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกอาคาร มีความสูงของป้ายไม่เกิน 6 เมตร และมีพื้นที่ป้ายไม่เกิน 75 ตารางเมตร

(ไม่นำความสูงของอาคารมาพิจารณาด้วย เพื่อให้พิจารณาแต่เฉพาะความสูงของป้าย)

ปัจจุบันกำหนดให้ป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารต้องไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกอาคาร มีความสูงของป้ายไม่เกิน 6 เมตร และมีความสูงของป้ายและอาคารรวมกันไม่เกิน 30 เมตร เมื่อวัดจากระดับพื้น และมีพื้นที่ป้ายไม่เกิน 75 เมตร

1.2 กำหนดขนาดความสูงของป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดตั้งป้ายบนพื้นดินโดยตรง ต้องมีความสูงไม่เกิน 30 เมตร ยาวไม่เกิน 32 เมตร และต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินด้านที่ไม่อยู่ใกล้ถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าความสูงของป้าย

เว้นแต่ในกรณีที่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 6 เมตร ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้านนั้น (เพื่อให้ขนาดความสูงของป้ายที่ก่อสร้างริมถนนสาธารณะ ไม่ถูกจำกัดความสูงที่ต้องวัดในทางราบจากขอบป้ายไปจนถึงกึ่งกลางของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้ป้ายนั้น)

ซึ่งปัจจุบันกำหนดให้ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรงต้องมีความสูงไม่เกินระยะที่วัดในทางราบ 1 จากขอบป้ายไปจนถึงกึ่งกลางของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้ป้ายนั้น ต้องมีความสูงไม่เกิน 30 เมตร ยาวไม่เกิน 32 เมตร

1.3 ผ่อนปรนเงื่อนไขสำหรับป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่มีอยู่ก่อนกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้ายฯ พ.ศ. 2558 ใช้บังคับ ให้สามารถขออนุญาตก่อสร้างได้ ดังนี้

(1) ให้ดำเนินการตามข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะ ขนาด ระยะ ความสูง แนวร่น และพื้นที่ ตามที่กฎหมายกำหนดในขณะที่ก่อสร้างป้ายนั้น เช่น ป้ายที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2550 จะต้องดำเนินการตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

โดยในกรณีที่ป้ายนั้นเป็นป้ายที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารจะต้องไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกของอาคาร และส่วนบนสุดของป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายต้องสูง ไม่เกิน 6 เมตร

จากส่วนสูงสุดของหลังคา หรือดาดฟ้าของอาคารที่ติดตั้งป้ายนั้น หรือในกรณีที่ป้ายนั้นเป็นป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรง ต้องมีความสูงไม่เกินระยะที่วัดจากจุดที่ติดตั้งป้ายไปจนถึงกึ่งกลางถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้ป้ายนั้นที่สุด

และมีความยาวของป้ายไม่เกิน 32 เมตร ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่ (1) ป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารต้องไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกของอาคาร และ (2) ต้องไม่เพิ่มพื้นที่และความสูงของป้าย

(2) เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายดังกล่าว ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างภายใน 180 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงใหม่ใช้บังคับ พร้อมหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดที่แสดงได้ว่าเป็นป้ายที่มีอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้ายฯ ใช้บังคับ ได้แก่

(1) หลักฐานการตรวจสอบป้ายตามมาตรา 32 ทวิ2 (2) หลักฐานการเสียภาษีป้าย และ (3) หลักฐานอื่นๆ.


กำลังโหลดความคิดเห็น