xs
xsm
sm
md
lg

“วิลาศ“ ขู่ เลขาฯ สภา เซ็นรับอาคารเจอร้องแน่ 30 กว่าเรื่อง แถมชง ป.ป.ช.- ศาล ฟัน ฐานทำรัฐเสียหาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อดีต ส.ส.ปชป.ขู่ เลขาฯ สภา หากเซ็นรับมอบอาคารรัฐสภาเจอร้องอีก 30 กว่าเรื่อง แถมพ่วงร้อง ป.ป.ช.- ศาล ฐานทำรัฐเสียหาย

วันนี้ (1 พ.ค.) นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และ อดีตประธาน กมธ. แถลงถึงกรณีคณะกรรมการตรวจการจ้างงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติ 7 ต่อ 3 ให้ตรวจรับงานการก่อสร้างอาคารรัฐสภาใหม่งวดสุดท้าย ซึ่งบริษัทผู้รับจ้างงานได้ส่งมอบงานมาตั้งแต่วันที่ 4 ก.ย. 66 และ เลขาธิการสภา จะรับมอบงานก็มีเรื่องต้องร้องอีกกว่า 30 เรื่อง เพราะเมื่อบริษัทรับเหมาก่อสร้างมีมติส่งมอบงานในวันที่ วันที่ 11 ก.ย. 66 คณะกรรมการตรวจการจ้างงานสภา มีมติ 6 ต่อ 1 ให้รับงานดังกล่าว ซึ่งตนได้ท้วงติงในวันที่ 9 ต.ค. 66 คณะกรรมการตรวจการจ้างงานสภา มากลับคำพูดมติ 6 ต่อ 1 ไม่ใช่มติรับมอบงาน ทั้งนี้ ยังพบว่า ในหนังสือร้องเรียนของผู้ควบคุมงานและผู้ควบคุมการจ้างงาน ระบุว่า มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่การในเรื่องการผสมสตรีมไฟเบอร์ ในพื้นที่ทาวเดินเท้าด้านนอกอาคารรัฐสภาที่ตรวจสอบพบว่า งานไม่ตรงกับสเปกงาน คือ ต้องผสมสตรีมไฟเบอร์ 25 กิโลกรัม ต่อปูน 1 ลูกบาศก์เมตร แต่ปรากฏผสมน้อย บางพื้นที่ไม่มีการผสมไม่เลย ปรากฏว่า วันที่ 24 ส.ค. 66 บริษัทผู้ควบคุมงานก่อสร้างได้ไปตรวจงานและไม่พบสตรีมไฟเบอร์ผสมอยู่จริง จึงสั่งให้แก้งาน ระหว่างวันที่ 30 ส.ค. - 9 ก.ย. 66 ถามว่าถ้ามีมติรับมอบงาน 4 ก.ย. 66 ถือว่ามีผลทางกฎหมายหรือไม่ เพราะวันที่ 9 ก.ย. 66 ยังมีการแก้รื้องานอยู่เลย แล้วอย่างนี้จะถือว่าการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ได้อย่างไร

“อีกกรณีมีหนังสือขอแก้ไขสัญญา เพราะมีการก่อสร้างผิดแบบ จึงต้องแก้ไขสัญญาเพื่อปรับให้ตรงตามงานที่สร้างโดยเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่เพิ่งมารับตำแหน่ง จึงได้ทำหนังสือสอบถามอัยการเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 67 ว่า สามารถแก้ไขสัญญาได้หรือไม่ เพราะคณะกรรมการตรวจการจ้างงานสภา ได้มีมติให้รับมอบงานไปแล้ว ทางอัยการตอบว่า สามารถแก้ไขสัญญาได้ตลอด จนกว่าจะมีการส่งงานงวดสุดท้าย ดังนั้น เลขาธิการสภา จึงมาแก้ไขสัญญา กระทั่ง 24 เม.ย. 67 คณะกรรมการตรวจการจ้างงานสภา มาตรวจรับงาน ตนถามว่า หากมีการตรวจรับงาน และวันที่ 4 ก.ย. 66 ที่มีการสร้างงานผิดแบบ ไม่ตรงตามสัญญา คณะกรรมการตรวจการจ้างการจ้างงานมีมติให้รับมอบงานได้อย่างไร ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุผล 1. การมีมติวันที่ 4 ก.ย. 66 ให้รับมอบงานร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งที่ยังมีการแก้ไขซ่อมปรับปรุงและก่อสร้างงานยังไม่แล้วเสร็จถือว่าผิดหรือไม่ เช่น การซ่อมลานจอดรถชั้น B2 ที่มีน้ำซึมจากใต้ดิน การซ่อมทางลงรถจากอาคาร ส.ว. รวมถึงการซ่อมสระน้ำบริเวณศาลาแก้ว ถ้าคณะกรรมการตรวจการจ้างงานสภา รับมอบงานจริงก็ไปเจอกันที่ ป.ป.ช. และศาล

”ขอเตือนเลขาธิการสภาด้วย ว่า ถ้าจะรับมอบงานทั้งหมดโดยรัฐเสียหายก็ไปเจอที่ ป.ป.ช.และศาล ก่อนจะรับมอบงานขอให้เลขาธิการสภา ตรวจสอบงาน 4-5 อย่าง คือ 1. เขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ผิดสเปก และฐานเสารับน้ำหนักไม่ได้ศูนย์ 2. ไม้ตะเคียนทองที่ปูพื้นทางเดินโดยรอบในอาคารรัฐสภาถูกสอดไส้เป็นไม้อื่นไม่ตรงตามสเปก ที่ระบุใช้ไม้ 3 เมตร ตรวจดูแล้วกว่า 90% เป็นไม้ 2 เมตรเกือบทั้งหมด รวมถึงความห่างของการปูพื้นที่กำหนดไว้ 2 มิลลิเมตรก็ปูห่างจากที่กำหนด 3. น้ำซึมหลังจอดรถชั้น B2 จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการซ่อมแซมและแก้ไขกว่า 100 จุด และ 4. ตู้ครอบแผงควบคุมไฟฟ้าด้านนอกอาคารรัฐสภาร่วม 100 ตู้ ไม่ตรงตามสเปกงาน และสักวันจะมีข่าวไฟไหม้ตู้แผงคุมไฟในสภา“ นายวิลาศ กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น