มีผลแล้ว! ก.พ.ดันแนวทางป้องกันการแทรกแซง "ข้าราชการ-การบริหารงานภาครัฐ" เป็นมติ ครม. ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หลังมีผลปฏิบัติเฉพาะข้าราชการพลเรือนเท่านั้น คาดมีผลบังคับใช้กับ "ข้าราชการ-เจ้าหน้าที่รัฐทุกประเภท" ทั่วประเทศ ตอกย้ำ! กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เข้มแข็งขึ้น แค่มีความสงสัยว่า "นายกรัฐมนตรี /รัฐมนตรี /ตุลาการ/ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง/นักการเมือง/ขรก.ประจำ" เข้าข่ายเป็นการกระทำต้องห้ามในทุกกฎหมาย
วันนี้ (22 ก.พ.2567) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยถึงความคืบหน้า ในการเร่งตรากฎหมายกำหนดบทลงโทษผู้ก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบหน่วยงานรัฐ
หลังจากสำนักงาน ก.พ. ได้ออกหนังสือเวียน แนวทางการป้องกันการก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่และการบริหารงานบุคคลในราชการพลเรือน ไปยังหน่วยราชการทั่วประเทศแล้ว
แนวทางดังกล่าว เป็นการคุมการล้วงลูกจาก นายกรัฐมนตรี ส.ส. สว. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ กรรมการผู้ช่วยรมต. หากจับได้ให้ดำเนินการตามกฎหมาย สุงสุดถึง"พ้นตำแหน่ง"
ล่าสุด คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแนวทางดังกล่าว มีหลักการว่า เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีบุคคลผู้ใดได้กระทำการอันมีลักษณะเนินการก้าวก่ายแทรกแซง การปฏิบัติหน้าที่หรือการบริหารงานบุคคลในราชการพลเรือน
ให้ผู้ที่ได้รับรู้รับทราบถึงการกระทำนั้น หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการให้เนินไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข หรือขั้นตอนที่กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการนั้น กำหนดไว้ในแต่ละกรณี
อย่างไรก็ตาม พบว่า แนวทางการปฏิบัติของสำนักงาน ก.พ.ดังกล่าวมีผลปฏิบัติเฉพาะข้าราชการพลเรือนเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ก.พ. จึงเสนอ ครม.ขอให้นายกรัฐมนตรี พิจารณากำหนดให้เรื่องดังกล่าวเป็นมติ ครม.)เพื่อให้มีผลบังคับถึงข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท
รวมถึงเร่งตราเป็นกฎหมาย เพื่อให้มีบทลงโทษสำหรับผู้ก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ใช่ใช้แนวทางถอดถอนตำแหน่งบุคคลที่กระทำผิดเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและแผนการปฏิรูปประเทศ
โดยหลักการของแนวทางนี้ กำหนดว่า เมื่อกรณีสงสัยว่า "นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี" ผู้ใดใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี กระทำการอันมีลักษณะเนินการก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือการบริหารงานบุคคลในราชการพลเรือน
ซึ่งอาจเข้าข่ายเนินการกระทำต้องห้ามตามมาตรา 186 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และอาจเนินเหตุให้ความเนินรัฐมนตรีของผู้นั้น สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามมาตรา 170 (5)
ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแจังต่อผู้มีหน้าที่เพื่อดำเนินการให้มีการวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่ ตามนัยมาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญแห่งราซอาณาจักรไทย ต่อไป
เมื่อกรณีสงสัยว่า "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา" ผู้ใดใช้สถานะหรือตำแหน่ง การเนินสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกกวุฒิสภา กระทำการอันมีลักษณะเนินการก้าวก่ายแทรกแซง การปฏิบัติหน้าทีหรือการบริหารงานบุคคลของข้าราฃการพลเรือน
ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ต้องห้าม ตามมาตรา 185 (1) และ (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราขอาณาจักรไทย และอาจเป็นเหตุให้สมาชิกภาพ ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาซิกวุฒิสภาผู้นั้น สิ้นสุดลงตามมาตรา 101 (7) หรือมาตรา 111 (7) แล้วแต่กรณี
ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งต่อผู้มีหน้าที่เพื่อดำเนินการให้มีการวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่ ตามนัยมาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญแห่งราซอาณาจักรไทย ต่อไป
เมื่อกรณีสงสัยว่า "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงดำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ" ผู้ใดกระทำการ อันมีลักษณะเนินก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือการบริหารงานบุคคลในราซการพลเรือน
ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่ง ในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561
และอาจเนินเหตุให้ผู้นั้นพ้นจากดำแหน่งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง แจ้งต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามนัยมาตรา 235 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต่อไป
กรณีสงสัยว่า "กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี" ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย คณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้ใดกระทำการอันเป็นการก้าวก่าย หรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือการบริหารงานบุคคลของข้าราขการพลเรือน
ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำ ผิดวินัยตามข้อ 11 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ. 2546 และที่แก้ไข เพิ่มเติม และอาจเป็นเหตุให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งตามข้อ 8 (4)
ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อให้นายกรัฐมนตรีวินิจฉัยหรือสั่งการตามข้อ 11 วรรคสาม ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไป
กรณีสงสัยว่า "ข้าราชการพลเรือนสามัญ" ตามพระราซบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2541 ผู้ใดกระทำการอันมีลักษณะเป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือการบริหารงานบุคคล ของข้าราชการพลเรือน
ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดวินัยตามหมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการ ผู้นั้น
เพื่อดำเนินการตามมาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 ต่อไป
ทั้งนี้ กรณีสงสัยว่าบุคคลอื่นที่ไม่ได้มีการระบุไว้ตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น เช่น ข้าราชการการเมืองอื่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง (นอกเหนือจากตำแหน่ ส.ส.-สว.) บุคคลหรือ ผู้ปฏิบัติงานให้แก่ข้าราชการการเมืองในตำแหน่งที่ปรึกษาหรือตำแหน่งอื่น ๆ ที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง
นอกเหนือจาก ที่บัญญัติไว้โนกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา ผู้ใดใช้สถานะ
หรือ ตำแหน่งที่ได้รับแต่งทั้งกระทำการอันมีลักษณะเป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือการบริหารงานบุคคล ของข้าราชการพลเรือน
ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งต่อผู้มีหน้าที่และอำนาจดำเนินการเพื่อให้มืการพิจารณาวินิจฉัย ตามอำนาจหน้าที่หรือตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการนั้น ต่อไป
ภายหลังเวียนไปทั่วประเทศ หลายหน่วยงานรับทราบแล้ว สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 76 วรรคสอง บัญญัติให้รัฐพึงดำเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม
โดยกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้ผู้ใดใช้อำนาจหรือการกระทำโดยมิชอบ ที่เป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ หรือกระบวนการแต่งตั้งหรือการพิจารณาความดีความชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ซึ่งตามแผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ฉบับปรับปรุง ปี 2564 ได้กำหนดให้สำนักงาน ก.พ.เวียน แนวทางฯ ไปทั่วประเทศแล้ว.