xs
xsm
sm
md
lg

“ชูศักดิ์” แจงชงร่าง พ.ร.ป.คานอำนาจ ป.ป.ช.องค์กรอื่น ให้ ปชช.นำคดีที่ไม่ชี้มูลฟ้องศาลได้ ปัดเอื้อคดีสีเสื้อ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



แกนนำเพื่อไทย แจงเสนอร่าง พ.ร.ป. เพื่อคานอำนาจ ป.ป.ช. กับองค์กรอื่น เพิ่มสิทธิประชาชนนำคดีที่ไม่ชี้มูลฟ้องศาล ย้ำ เป็นไปตามหลักสากล ไม่ได้เอื้อเฉพาะคดีสีเสื้อ


วันนี้ (12 ก.พ.) นายชูศักดิ์ ศิรินิล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย โดย นายชูศักดิ์ ในฐานะผู้เสนอร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ว่า เพื่อต้องการคานอำนาจ เนื่องจากที่ผ่านมา ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวนคดีที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด โดยหากมีมูลก็ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณา หากอัยการสูงสุดสั่งยกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่พอก็มีการตั้งกรรมการร่วม และมีมติสั่งไม่ฟ้อง แต่ ป.ป.ช.ยังมีอำนาจสั่งฟ้องเองได้ แปลว่า มีอำนาจมาก ดังนั้น เราจึงขอแก้ว่า หาก ป.ป.ช. มีมติว่าคดีไม่มีมูล ที่ผ่านมา ถือว่าจบ แต่เราจะแก้ไขให้สามารถส่งเรื่องให้กับอัยการสูงสุด เพื่อให้พิจารณา เป็นการคานอำนาจซึ่งกันและกัน เช่นหากอัยการสูงสุดอาจเห็นว่ามีหลักฐานพอเพียงที่จะฟ้องดำเนินคดีได้ จึงเป็นการคานอำนาจระหว่าง ป.ป.ช.กับองค์กรอื่นๆ นอกจากนี้ เราเห็นว่า คดีที่ยุติในชั้น ป.ป.ช. หรือคดีที่ส่งอัยการสูงสุดแล้วมีมติไม่ฟ้องถือว่าจบไป แต่ตามหลักการสากลจะไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในการฟ้องคดี จึงคิดว่า หาก ป.ป.ช.ชี้ว่า ไม่มีมูล หรืออัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง ก็ให้สิทธิผู้เสียหายนำคดีขึ้นสู่ศาลได้

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ที่ นายวันชัย สอนศิริ ส.ว. เกรงว่า เป็นการสร้างความขัดแย้ง และอาจจะมีการรื้อฟื้นคดีที่ยุติไปแล้ว นั้นยืนยันว่า เราไม่ได้มุ่งหมายถึงคดีที่ยุติไปแล้ว ไม่ว่าจะคดีกลุ่มสีเสื้อต่างๆ เพียงเท่านั้น แต่หมายถึงขอสร้างหลักฎหมายขึ้นมาใหม่ โดยการฟ้องจะขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานส่วนศาลจะเห็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม จะไม่ใช่การรื้อฟื้นคดีเก่า รวมถึงขึ้นกับดุลยพินิจของผู้เสียหายเองว่าจะฟ้องคดีหรือไม่

“สมมติกฎหมายนี้มีผล เขาก็ต้องไปร้องอัยการสูงสุด ร้อง ป.ป.ช. ว่า ขอดูสำนวนหน่อย ว่า มีพยานหลักฐานเพียงพอหรือไม่ ตราบที่อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องนั่นแหละ เขาจึงจะมีอำนาจยื่นฟ้องต่อศาล” นายชูศักดิ์ กล่าว

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า หากกฎหมายนี้มีผล ผู้เสียหายก็สามารถส่งสำนวนนี้ไปให้อัยการพิจารณา ซึ่งอัยการก็อาจจะเห็นต่าง หรืออาจจะเห็นยืนตามที่ ป.ป.ช. สั่งไว้ และหากอัยการสั่งไม่ฟ้อง ผู้เสียหายก็มีสิทธิฟ้องคดี ส่วนจะตัดสินกันอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานและกระบวนการยุติธรรม

“ขอย้ำว่า เป็นการเพิ่มสิทธิในกระบวนการยุติธรรมให้กับประชาชนผู้เสียหาย ที่เขาได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นเอง และที่เราเขียนนี้ไม่ใช่มีเฉพาะคดีเสื้อแดง แต่คือคดีอะไรก็ได้ที่เจ้าหน้าที่รัฐถูกกล่าวหา ก็สามารถจะใช้สิทธิแบบนี้ได้” นายชูศักดิ์ กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น