เมื่อวันที่ 15 พ.ย. นางสาว
หลังจาก รัฐมนตรี พีระพันธ์ุ สาลีรัฐวิภาค ประกาศลดเก็บภาษีสรรพสามิตเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ 95, 91 ลงลิตรละ 1 บาท และสำหรับแก๊สโซฮอล์ 91 ลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันลงอีกลิตรละ 1.50 บาท รวมเป็นลดราคาลงลิตรละ 2.50 บาท เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา การลดราคาครั้งนี้โดยรัฐบาล ทำให้ผู้ค้าน้ำมันถือโอกาส ”อม” ส่วนลดราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลงในช่วงนั้น โดยไม่ยอมลดเพิ่มให้ประชาชน
สัปดาห์นี้ผู้ค้าน้ำมันประกาศขึ้นราคาน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์แบบรัวๆ 2 วันติดกัน วันละ 40 สต./ลิตร ทั้งที่ ”อม” ส่วนลดราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลงเมื่อสัปดาห์ก่อน แต่ไม่ลดให้ทำให้ค่าการตลาดแก๊สโซฮอล์ 91 สูงถึงลิตรละ 4.23 บาท แต่พอราคาน้ำมันตลาดโลกขยับขึ้น ก็ประกาศขึ้นทันที 2 วันติดกัน ทั้งที่ค่าการตลาดกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ยังเกิน 3 บาท/ลิตร
โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์ 91 ค่าการตลาดวันนี้ (วันที่ 15 พ.ย.) อยู่ที่ 3.49 บาท พรุ่งนี้จะขึ้นราคาอีกลิตรละ 40 สต. ค่าการตลาด 91 ก็จะทะลุเกือบ 4บาท/ลิตร ถ้าผู้ค้าน้ำมันไม่ใช้วิธีเกลี่ยค่าการตลาดไปไว้ที่น้ำมันตัวอื่น ใช่หรือไม่
หากไม่มีราคาฐานไว้เปรียบเทียบแล้ว การลดราคา 2.50 บาท/ลิตร ก็จะไม่มีความหมายอะไร เมื่อราคาตลาดโลกลดลง น้ำมันเบนซินก็จะถูกดันราคาขึ้นไปเรื่อยๆ ผ่านค่าการตลาด และต่อไปก็อาจจะดึงไปไว้ในกองทุนน้ำมันมากขึ้น โดยคนใช้เบนซินและแก๊สโซฮอล์ไม่เคยได้รับประโยชน์จากเงินสะสมของตนเองในกองทุนน้ำมันเลย เห็นได้จากการขึ้นราคาน้ำมันรัวๆ ติดกัน 2 วัน ทั้งที่ค่าการตลาดก็เกิน2 บาท/ลิตรไปเกือบจะ 4 บาท/ลิตร
ท่านพีระพันธ์ุควรคุมส่วนต่างระหว่างน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ ดีเซล ให้อยู่ที่ 3 บาท/ลิตร ทดลองในช่วงที่ท่านลดราคาให้ประชาชน 3 เดือน เพื่อให้ผู้ใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ได้ใช้น้ำมันในราคาที่รัฐบาลลดให้ โดยไม่ปล่อยให้ผู้ค้าน้ำมันดันราคาเอากำไรมากเกินควรผ่านค่าการตลาด หรือช่องทางอื่นๆที่ผู้ค้าน้ำมันสามารถโยกไปเก็บไว้ได้