xs
xsm
sm
md
lg

เพิ่มอำนาจ “ผู้ว่าฯ” บังคับทางปกครอง ขรก.ภูมิภาค-ท้องถิ่น ผิดละเมิด-ชดใช้ค่าสินไหม แก่ผู้เสียหายฟ้องร้องรัฐ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มท.เพิ่มอำนาจ “ผู้ว่าราชการจังหวัด” ทั่วประเทศ เทียบอธิบดี สถ. เกี่ยวกับความผิดทางละเมิด ขรก.- พนง.ราชการ สังกัด สถ.รวมถึงพนักงานส่วนท้องถิ่น พ่วงบังคับใช้มาตรการทางปกครอง มีอำนาจตั้ง คกก.สอบข้อเท็จจริง วินิจฉัยสั่งการ รับ/ไม่รับอุทธรณ์ ขรก./พนง. รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กับผู้เสียหายที่ฟ้องร้องหน่วยงานรัฐ

วันนี้ (10 พ.ย.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการปกครองสวนท้องถิ่น (สถ.) ได้เวียนคำสั่งที่ 779/2566

แจ้งการมอบอำนาจของ อธิบดี สถ. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ทั่วประเทศ ปฏิบัติราชการแทน ลงนามโดยอธิบดี สถ.เมื่อ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา

พบว่า เป็นการมอบอำนาจเกี่ยวกับความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในระดับภูมิภาค และท้องถิ่น และการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ เช่น

กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือพนักงานราชการ สังกัด สถ.จังหวัด ให้ผู้ว่าฯ มีอำนาจในการแต่งตั้ง "คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง" ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการ และพนักงานราชการในสังกัด

“ให้วินิจนัยสั่งการว่า มีผู้ใดรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ ถ้ามีเป็นจำนวนเท่าใด พร้อมทั้งส่งสำนวนให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ ตามที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนดไว้”

รวมถึงอำนาจให้พิจารณาคำขอกรณี “ผู้เสียหายยื่นคำขอให้ สถ.จังหวัด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 11 ประกอบมาตรา 5

ยังให้อำนาจผู้ว่าฯ ออกคำสั่งเรียกให้ข้าราชการ และหรือพนักงานราชการในสังกัด สถ.จังหวัด ผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งดำเนินการฟ้องคดี และการแจ้งคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชำระเงิน (การแจ้งคำสั่งทางปกครอง)

กรณีที่ ผู้สั่งแต่งตั้งและหรือกระทรวงการคลัง พิจารณาสำนวนการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดแล้ว เห็นว่า เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

ผู้ว่าฯ จะมีอำนาจการแจ้งคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชำระเงิน (การแจ้งคำสั่งทางปกครอง) กรณีที่มีการออกคำสั่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทน มีอำนาจในการบังคับทางปกครอง

กรณีข้าราชการ และหรือพนักงานราชการในสังกัดไม่ชำระค่าสินไหมทดแทนคืนให้แก่ทางราชการอันเนื่องมาจากการออกคำสั่ง

ยังมีอำนาจพิจารณารับ หรือไม่รับคำขออุทธรณ์ การทุเลาการบังคับ มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การขอให้พิจารณาใหม่ การแจ้งผลการพิจารณา อุทธรณ์ แทนอธิบดี เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังมีอำนาจเช่นเดียวกันเกี่ยวกับความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง ในกรณีของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ด้วย”


กำลังโหลดความคิดเห็น