นักศึกษาจากโครงการค่ายอาสาพัฒนาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมสานสัมพันธ์ชุมชนท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ร่วมกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน กลุ่มประมงพื้นที่บ้านเพื่อการอนุรักษ์บึงขุนทะเล ชุมชนสันติพัฒนา เครือข่ายเยาวชน South Youth Ranger และเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) กว่า 100 คน ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ "เราจะข้ามผ่านสะพานศรีสุราษฎร์ เพื่อเดินทางก้าวข้ามปัญหา” หลังพบข้อมูลความเสี่ยงมีผู้ใช้สะพานนี้กระโดดน้ำฆ่าตัวตายมากขึ้น โดยภายในงานมีการแสดงกิจกรรมละครเชิงสัญลักษณ์ กิจกรรมไว้อาลัยต่อผู้จากไป ตัวแทนเยาวชนอ่านแถลงการณ์ และยื่นข้อเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดผ่านพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของจังหวัด โดยมีประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่เข้าร่วม
นายองอาจ พรหมมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน กล่าวว่า จากข้อมูลทั่วโลกพบว่ามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จกว่า 7 แสนคน เฉลี่ย 1 คน ในทุก 40 วินาที สำหรับประเทศไทยข้อมูลตั้งแต่ปี 2560 - 2563 พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงขึ้น ปีล่าอยู่ที่ 4,800 คนต่อปี เฉพาะพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีข้อมูลจากคลินิกเวชกรรมเฉพาะทางจิตเวช โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี พบว่าตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 2 สิงหาคม 2566 พบผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 15 ราย คิดเป็นอัตรา 7.90 ต่อประชากรแสนคน นอกจากนี้ยังมีผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จมากถึง 71 ราย สาเหตุสำคัญคือภาวะโรคซึมเศร้าร้อยละ 30 โรคจิตเวชร้อยละ 10 และส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 60 เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบขาดสติหุนหันพลันแล่น โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน ที่มีการใช้สารเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยร่วม
นายองอาจ กล่าวต่อว่า จากการติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลการฆ่าตัวตายในคนไทยพบว่า การก่อเหตุในแต่ละครั้งจะเกิดขึ้นเมื่อมีครบ 5 เงื่อนไขสำคัญ ได้แก่ 1.บุคคลนั้นต้องมีปัจจัยเสี่ยงที่โน้มนําให้ฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไป ประกอบด้วย การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ป่วยด้วยโรคจิตเวช ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เคยมีประวัติทำร้ายตัวเองและติดสารเสพติด 2.มีสิ่งกระตุ้นหรือปัจจัยกระตุ้นให้คิดและลงทำกระทำ เช่น ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และปัญหาเศรษฐกิจ 3.เข้าถึงอุปกรณ์และสถานที่ที่ใช้ฆ่าตัวตายได้ง่าย หรือด่านกั้นล้มเหลว 4.การเฝ้าระวังป้องกันล้มเหลว และ 5.บุคคลนั้นมีปัจจัยปกป้องที่อ่อนแอ
“จะเห็นว่าปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งคือการใช้สารเสพติด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นจึงต้องมีการเข้มงวด กวนขันเรื่องการใช้สารเสพติด และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และจัดระบบการป้องกันในเชิงกายภาพ เช่น แผงกั้น มีกล้องวงจรปิด และการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำ” นายองอาจ กล่าว
ด้านนางสาวขนิษฐา จินุพงศ์ แกนนำกลุ่มลานเยาวชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า สภาพปัญหาสังคม เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ปัญหาครอบครัว การติดสุราและยาเสพติด เป็นปัจจัยสำคัญนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า เป็นผู้ป่วยจิตเวช หลายครั้งที่คนในพื้นที่สุราษฎร์ธานีเลือกใช้สะพานศรีสุราษฎร์เป็นพื้นที่จบปัญหา ทำให้กลายเป็นพื้นที่เชิงสัญลักษณ์ในการใช้หนีปัญหา ทั้งๆ ที่ความจริงสะพานศรีสุราษฎร์มีความหมายมากกว่านั้น เพราะฉะนันเครือข่ายเห็นว่าทุกคนต้องร่วมกันรณรงค์ สร้างความเข้าใจและเปลี่ยนมุมมองให้เห็นว่าสะพานศรีสุราษฎร์คือสะพานที่ใช้เพื่อการก้าวข้ามปัญหาและใช้เดินทางสัญจรข้ามแม่น้ำตาปี ดั่งปณิธานเดิมของสะพานที่สูงและสวยที่สุดในภาคใต้ ดังนั้นจึงมีข้อเสนอต่อผู้ว่าฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงสร้างแผงกันบนขอบสะพาน ติดตั้งกล้องวงจรปิด และตั้งจุดเฝ้าระวัง พร้อมให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจการตลอดเวลา 2.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพจิตของประชาชน โดยเพิ่มศูนย์บริการสำหรับดูแลสุขภาพจิตอย่างทั่วถึง ให้มีระบบการคัดกรองความเสี่ยง และส่งต่อหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และ 3.ขอให้ทุกคนในสังคมเป็นพลังบวกซึ่งกันและกัน ร่วมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะทางจิตใจที่ดี มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังเป็นหูเป็นตาแจ้งเหตุเพื่อป้องกันความสูญเสีย.
///////////////////////////////////////////////////////
เยาวชนสุราษฎร์ฯ และภาคประชาสังคม ยื่นผู้ว่าฯ สุราษฎร์ ติดตั้งกล้องวงจรปิด รั้วกั้นสะพานศรีสุราษฎร์ ป้องกันปัญหาคนฆ่าตัวตาย หลังมีข้อมูลเป็นพื้นที่สัญลักษณ์จบปัญหา ปลุกพลังเครือข่ายภาคประชาชน-รัฐ รณรงค์ปรับแนวคิด “สะพานก้าวข้ามปัญหา” พร้อมแก้ปัญหาเหล้า-ยา-ความจน- ความเหลื่อมล้ำ-มีระบบดูแลสุขภาพจิตประชาชน มุ่งแก้ปัญหาก่อนสาย
เมื่อเร็วๆ นี้ นักศึกษาจากโครงการค่ายอาสาพัฒนาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมสานสัมพันธ์ชุมชนท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ร่วมกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน กลุ่มประมงพื้นที่บ้านเพื่อการอนุรักษ์บึงขุนทะเล ชุมชนสันติพัฒนา เครือข่ายเยาวชน South Youth Ranger และเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) กว่า 100 คน ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ "เราจะข้ามผ่านสะพานศรีสุราษฎร์ เพื่อเดินทางก้าวข้ามปัญหา” หลังพบข้อมูลความเสี่ยงมีผู้ใช้สะพานนี้กระโดดน้ำฆ่าตัวตายมากขึ้น โดยภายในงานมีการแสดงกิจกรรมละครเชิงสัญลักษณ์ กิจกรรมไว้อาลัยต่อผู้จากไป ตัวแทนเยาวชนอ่านแถลงการณ์ และยื่นข้อเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดผ่านพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของจังหวัด โดยมีประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่เข้าร่วม
นายองอาจ พรหมมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ตอนบน กล่าวว่า จากข้อมูลทั่วโลกพบว่ามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จกว่า 7 แสนคน เฉลี่ย 1 คน ในทุก 40 วินาที สำหรับประเทศไทยข้อมูลตั้งแต่ปี 2560 - 2563 พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงขึ้น ปีล่าอยู่ที่ 4,800 คนต่อปี เฉพาะพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีข้อมูลจากคลินิกเวชกรรมเฉพาะทางจิตเวช โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี พบว่าตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 2 สิงหาคม 2566 พบผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 15 ราย คิดเป็นอัตรา 7.90 ต่อประชากรแสนคน นอกจากนี้ยังมีผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จมากถึง 71 ราย สาเหตุสำคัญคือภาวะโรคซึมเศร้าร้อยละ 30 โรคจิตเวชร้อยละ 10 และส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 60 เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบขาดสติหุนหันพลันแล่น โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน ที่มีการใช้สารเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยร่วม
นายองอาจ กล่าวต่อว่า จากการติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลการฆ่าตัวตายในคนไทยพบว่า การก่อเหตุในแต่ละครั้งจะเกิดขึ้นเมื่อมีครบ 5 เงื่อนไขสำคัญ ได้แก่ 1.บุคคลนั้นต้องมีปัจจัยเสี่ยงที่โน้มนําให้ฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไป ประกอบด้วย การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ป่วยด้วยโรคจิตเวช ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เคยมีประวัติทำร้ายตัวเองและติดสารเสพติด 2.มีสิ่งกระตุ้นหรือปัจจัยกระตุ้นให้คิดและลงทำกระทำ เช่น ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และปัญหาเศรษฐกิจ 3.เข้าถึงอุปกรณ์และสถานที่ที่ใช้ฆ่าตัวตายได้ง่าย หรือด่านกั้นล้มเหลว 4.การเฝ้าระวังป้องกันล้มเหลว และ 5.บุคคลนั้นมีปัจจัยปกป้องที่อ่อนแอ
“จะเห็นว่าปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งคือการใช้สารเสพติด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นจึงต้องมีการเข้มงวด กวนขันเรื่องการใช้สารเสพติด และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และจัดระบบการป้องกันในเชิงกายภาพ เช่น แผงกั้น มีกล้องวงจรปิด และการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำ” นายองอาจ กล่าว
ด้านนางสาวขนิษฐา จินุพงศ์ แกนนำกลุ่มลานเยาวชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า สภาพปัญหาสังคม เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ปัญหาครอบครัว การติดสุราและยาเสพติด เป็นปัจจัยสำคัญนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า เป็นผู้ป่วยจิตเวช หลายครั้งที่คนในพื้นที่สุราษฎร์ธานีเลือกใช้สะพานศรีสุราษฎร์เป็นพื้นที่จบปัญหา ทำให้กลายเป็นพื้นที่เชิงสัญลักษณ์ในการใช้หนีปัญหา ทั้งๆ ที่ความจริงสะพานศรีสุราษฎร์มีความหมายมากกว่านั้น เพราะฉะนันเครือข่ายเห็นว่าทุกคนต้องร่วมกันรณรงค์ สร้างความเข้าใจและเปลี่ยนมุมมองให้เห็นว่าสะพานศรีสุราษฎร์คือสะพานที่ใช้เพื่อการก้าวข้ามปัญหาและใช้เดินทางสัญจรข้ามแม่น้ำตาปี ดั่งปณิธานเดิมของสะพานที่สูงและสวยที่สุดในภาคใต้ ดังนั้นจึงมีข้อเสนอต่อผู้ว่าฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงสร้างแผงกันบนขอบสะพาน ติดตั้งกล้องวงจรปิด และตั้งจุดเฝ้าระวัง พร้อมให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจการตลอดเวลา 2.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพจิตของประชาชน โดยเพิ่มศูนย์บริการสำหรับดูแลสุขภาพจิตอย่างทั่วถึง ให้มีระบบการคัดกรองความเสี่ยง และส่งต่อหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และ 3.ขอให้ทุกคนในสังคมเป็นพลังบวกซึ่งกันและกัน ร่วมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะทางจิตใจที่ดี มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังเป็นหูเป็นตาแจ้งเหตุเพื่อป้องกันความสูญเสีย