xs
xsm
sm
md
lg

“ยกเว้น” เก็บภาษีที่ดินฯ สถานทูต/กงสุล ตปท.ในไทย ทำ “ที่ดิน” รบ.ตปท.ถือครอง-เช่ารัฐ-เอกชน ตั้งทำเนียบ/บ้านพักทูต ได้รับอานิสงส์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มท. เวียนย้ำ! “ยกเว้น” เรียกเก็บภาษีที่ดินฯ สถานทูต/สถานกงสุลของต่างประเทศ ในไทย หลังบอร์ดวินิจฉัยภาษี ชี้ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกัน ทำที่ดินสถานทูต/รบ.ตปท.ถือครอง/ทำเนียบเอกอัครราชทูต/บ้านพักทูต ได้รับอานิสงส์ ทั้งที่ถือครองกรรมสิทธิ์ “ที่ดินเช่า” จากหน่วยราชการไทย ที่ราชพัสดุ ที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่เอกชน เผยเป็นไปตาม อนุสัญญากรุงเวียนนา ปี 2504 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกสิทธิ์คุมกันทางทูต ปี 2527

วันนี้ (10 ส.ค. 2566) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงมหาดไทย (มท.) เวียนคำวินิจฉัยล่าสุด จากคณะกรรมการวินิฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กระทรวงการคลัง ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ทั่วประเทศ รวมถึง ผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร (กทม.)

โดยมีคำวินิจฉัยที่น่าสนใจ โดยเฉพาะ “การยกเว้น” การเรียกเก็บ หรือ จัดเก็บภาษีจากทรัพย์สิน ที่เป็นสถานทูต หรือสถานกงสุลของต่างประเทศ ประจำประเทศไทย ภายหลัง กทม. ได้ขอคำปรึกษา และคำแนะนำ ไปตั้งแต่เดือน ต.ค. 2563

ซึ่ง มาตรา 8(3) แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ) กำหนดให้ “ยกเว้น” การจัดเก็บภาษีจากทรัทย์สิน ที่เป็นที่ทำการสถานทูต หรือ สถานกงสุลของต่างประเทศ

“ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกัน ดังนั้น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นที่ทำการสถานทูต หรือ สถานกงสุลของต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกรณี ที่สถานเอกอัครราชทูต/รัฐบาลต่างประเทศ ถือครองกรรมสิทธิ์ หรือเช่าจากหน่วยราชการ หรือหน่วยราชการไทย”

เช่น กรณีการ “เช่าจากที่ราชพัสดุ” หรือ เช่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นต้น หรือ เช่าจากที่เอกชน จะได้รับการยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ภาษีที่ดินฯ) ตามหลักถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกัน

สำหรับกรณีนี้ กทม. ได้รับหนังสือจากกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อขอข้อมูลแนวปฎิบัติ เรื่อง “เอกสิทธิ์ทางภาษี” โดยเฉพาะการเรียกเก็บภาษีของไทย จากสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย ในประเด็นเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

โดย กต. ระบุว่า เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาเจรจา กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เครือรัฐออสเตรเลีย

อย่างไรก็ตาม กทม. มีความเห็นก่อนหน้าที่จะเสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการวินิฉัยฯ ว่า ภาษีที่จัดเก็บจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ผู้ที่เป็นเจ้าของ หรือ ครอบครอง “มีหน้าที่เสียภาษี” ซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บเข้าเป็นรายได้ของ อปท. ตาม มาตรา 7 และ 8 ของ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ

“กทม. เห็นว่า ภาษีดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวเนื่อง หรือครอบคลุมค่าบริการจำเพาะ หรือค่าบริการท้องถิ่น ที่รัฐบาลท้องถิ่น Australian Capital Territory เรียกเก็บจากการให้บริการเพื่อสิทธิประโยชน์ (beneficial services) และการอำนวยความสะดวกแก่สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลต่างประเทศ”

กทม. ยังเห็นว่า ทรัพย์สินที่เป็นที่ตั้งของ “ทำเนียบเอกอัครราชทูต บ้านพักผู้แทนทางทูตระดับอื่นๆ และ บ้านพักเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ย่อมได้รับยกเว้นจากการเรียกเก็บภาษีฯ ตามมาตรา 8(3) ประกอบมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุมกันทางทูต พ.ศ. 2527

และอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต (ทำเมื่อ 18 เม.ย. 2504) ข้อ 23 ที่ระบุชัดเจนว่า

“รัฐูผู้ส่งและหัวหน้าคณะผู้แทน จะได้รับยกเว้นจากค่าติดพัน และภาษีทั้งมวลชองชาติ ท้องถิ่น หรือเทศบาล ในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ของคณะผู้แทน ไม่ว่าจะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือได้เช่ามา...”

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ กทม.ไม่ได้จัดเก็บภาษีดังกล่าว ทั้งกรณีทรัพย์สิน ที่ตั้งอยู่ไนบริเวณพื้นที่เดียวกันกับสถานเอกอัครราชทูต ทั้งในกรณีที่ สถานเอกอัครราชทูต/รัฐบาลต่างประเทศ ถือครองกรรมสิทธิ์

หรือเช่าจากหน่วยราชการ หรือหน่วยงานไทย (อาทิ ที่ราชพัสดุ หรือที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์) หรือเช่าจากเอกชน

ทั้ง กรณีทรัพย์สินที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกันกับสถานเอกอัครราชทูต แต่สถานเอกอัครราชทูต/รัฐบาลต่างประเทศ เป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว

รวมถึง กรณีสถานเอกอัครราชทูต/รัฐบาลต่างประเทศ เช่าทรัพย์สินจากหน่วยราชการ หน่วยงานไทย หรือเอกชน และไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกันกับสถานเอกอัครราชทูต

อาทิ ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (ที่ราชพัสดุ) ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร ประจำประเทศไทย (ห้องพักในอาคารชุดของเอกชน) และทำเนียบเอกอัครราชทูตสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทย (บ้านพักของเอกชน) เป็นต้น


กำลังโหลดความคิดเห็น