บิ๊กป้อม' ย้ำ กมช. สั่งเข้มปิดเวปพนัน และหลอกลวงทางการเงิน ดำเนินคดีให้ถึงที่สุด ให้ปชช.อุ่นใจ เพิ่มมาตรการเชิงรุกป้องกัน"ภัยไซเบอร์"ทุกรูปแบบ เน้นความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งใน-ต่างประเทศ
เมื่อ 14 มิ.ย.66 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ( กมช.) โดยมี รมว.ดีอีเอส และ รมช.กลาโหม เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ที่ประชุมได้รับทราบ รายงานเหตุการณ์ภัยคุกคามและผลการดำเนินงาน ที่มีผลกระทบอย่างมีนัย สำคัญ ต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ห้วง ต.ค.65 - มี.ค.66 จำนวน 943 เหตุการณ์ แยกตามภารกิจ หรือบริการสูงที่สุดได้แก่ หน่วยงานของรัฐด้านการศึกษา ,ภาครัฐอื่นๆ และด้านสาธารณสุข ตามลำดับ ซึ่งการปฎิบัติที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่กระทบประชาชน มีจำนวน 113 เหตุการณ์ 24 หน่วยงาน และรับทราบผลการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ สำหรับระบบเลือกตั้ง (ศซล.) ห้วง 3-15 พ.ค.66 โดยมีการติดตามและรายงานสถานะความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง จำนวน 6 ระบบ ภาพรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้ขอบคุณ สำนักงาน คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)ที่เฝ้าระวังเหตุการณ์ห้วงดังกล่าว สามารถติดตามข่าวสาร ได้อย่างใกล้ชิด และยับยั้ง หรือแก้ไขปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ รวมถึงที่ประชุม ได้รับทราบการลงนามบันทึกความเข้าใจ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆมากขึ้น ทั้งกับหน่วยงาน ในประเทศ และต่างประเทศด้วย รองรับการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ต่อไป
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ (ร่าง)ข้อตกลง การเชื่อมต่อระบบแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูลภัยคุกคาม ภายใต้โครงการพัฒนาแพลตฟอร์ม สำหรับการรับและแบ่งปันเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อเชื่อมต่อระบบให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ในการเฝ้าระวัง
และขยายเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่าง สกมช.กับหน่วยงานอื่น ทั้งภายในและภายนอกประเทศ และเห็นชอบ(ร่าง)บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่าง สกมช.กับ สำนักงาน ปล.สธ.รวมทั้งเห็นชอบ(ร่าง)บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรและนำระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ไปใช้ในสถานประกอบการ
พล.อ.ประวิตร ยังได้กำชับให้ สกมช. ให้เร่งขับเคลื่อนมาตรการเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ อย่างต่อเนื่อง เข้มข้นเชิงรุก เน้นป้องกันข้อมูลภาครัฐ และคุ้มครองส่วนบุคคล ต้องเพิ่มระดับความร่วมมือกับทุกหน่วยงานให้มากขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ และคนไทยให้มีประสิทธิภาพ พร้อมย้ำให้ ก.ดีอีเอส กำกับและสนับสนุน การดำเนินงานของ สกมช. อย่างเต็มที่ด้ว