xs
xsm
sm
md
lg

ประธานสภาองค์การนายจ้างฯ แนะแรงงานปรับตัวพัฒนาศักยภาพสอดรับสถานการณ์โลกที่ผันผวน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ประธานสภาองค์การนายจ้างฯ แนะ ภาคแรงงานปรับตัวพัฒนาศักยภาพ สอดรับสถานการณ์โลกที่ผันผวน ยึดหลัก นายจ้างดูแลคุณภาพชีวิตแรงงานอย่างมีจริยธรรม สร้างความแข็งแกร่งภาคแรงงาน เพื่อพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืน

จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ผันผวน แต่พบว่า สถิติการจ้างงานของไทย ยังคงมีทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวของไทย ที่ปัจจุบันเริ่มมีชาวต่างชาติกลับเข้ามาต่อเนื่องและคาดว่าทั้งปีจะมาไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคน ภาคแรงงานผู้ให้บริการ ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ด้านสุขภาพสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในประเทศไทยนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมความพร้อม

นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สภาองค์การนายจ้าง ถือเป็นหน่วยงานสำคัญที่จะเข้ามาตอบโจทย์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคแรงงานของไทย ซึ่งสภาองค์การนายจ้างฯ ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เข้ามามีบทบาททำหน้าที่เป็นตัวแทนภาคส่วนนายจ้าง เพื่อส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ คุณภาพชีวิตที่ดีของลูกจ้างเพื่อพัฒนาการที่ยั่งยืนของธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้ดำเนินงานตามภารกิจต่อเนื่อง

นายเอกสิทธิ์ มองว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนประเทศของเรา จะต้องมีความเข้มแข็ง ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมิติทางเศรษฐกิจ เปรียบเสมือนฐานรากของบ้าน ที่ต้องแข็งแรงมั่นคง ขณะที่มิติทางสังคมเปรียบเสมือนหลังคาบ้านที่จะคุ้มครองให้คนในบ้านให้อยู่อย่างร่มเย็น เป็นสุข แนวทางในการ บริหารจัดการทรัพยากรบุคคลนั้น นายเอกสิทธิ์ให้ความสำคัญ ใน 3 สิ่ง คือ

1. การแรงงานสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ สมัยนี้ คำว่านายจ้าง ลูกจ้าง เป็นคำเรียกเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ความสัมพันธ์ปัจจุบันเป็นในแบบหุ้นส่วนเชิงธุรกิจพันธมิตรเพื่อการพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาร่วมงาน ควรได้รับโอกาสให้ร่วมคิดร่วมตัดสินใจ รวมรับผลประโยชน์ คน Gen Y&Z ก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานแบบมาขายความสามารถแลกเงิน ไม่สนใจเรื่องความมั่นคงในงานเหมือนคนรุ่นเก่า ความอดทนต่ำ ความเชื่อมั่นในตนเองสูง ทำอย่างไรถึงจะได้ใจของคนกลุ่มนี้ ให้เขามีความรู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นหุ้นส่วนเชิงธุร กิจ พันธมิตรเพื่อการพัฒนาของเราเพื่อที่จะ "เติบโตไปด้วยกัน "

2. การพัฒนาทักษะ ความสามารถในด้านต่างๆ องค์กรต้องให้ความสำคัญและเห็นคุณค่า และพัฒนาพนักงานให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กร

“ผมมองว่าในแต่ละสังคม แต่ละเจนเนอเรชั่นมีวิถี มีความเชื่อ มีค่านิยมและลำดับการพัฒนาเป็นการเฉพาะของเจนฯ นั้นๆ ความท้าทายคือ การนำนวัตกรรมและเทคโนโยีสมัยใหม่มาผสมผสานหลอมรวมกับวิถีความเป็นไปในอดีต แต่ก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากในการที่จะเปลี่ยนความเชื่อของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ประสบความสำเร็จมาด้วยวิธีการดั้งเดิม จะไม่เปิดรับสิ่งใหม่ๆ ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบ อย่างรุนแรงจากโควิด 19 บีบบังคับให้องค์กรต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด”

นายเอกสิทธิ์ ระบุ เมื่อสถานการณ์บีบบังคับให้องค์กรต้องปรับตัว ทำให้เริ่มมีการจ้างคนน้อยลง และเลือกที่จะ
จ้างคนที่มีทักษะ หลากหลาย Multi-Skil ยิ่งเป็นกิจการเล็กๆ หรือ เอสเอ็มอี ยิ่งต้องการคนที่ทำงานได้หลายหน้าที่ คนรุ่นเก่าที่ไม่สามารถปรับตัว หรือมีศักยภาพพอที่จะรับการเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยี กำลังถึงวัยชราเริ่มถดถอยตามวัย อาจจะต้องถูกปรับออกจากองค์กรเพื่อให้คนรุ่นใหม่ที่สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่วเข้ามาแทน คนที่ไม่ได้ถูกปรับออกก็จะมีงานเพิ่มมากขึ้น จนอาจจะรู้สึกท้อใจ เข้าใจว่าตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม ผู้นำสหภาพแรงงาน จะมีบทบาทอย่างมาก ที่จะสร้างความเข้าใจ และ3. อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน เรื่องที่ควรต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยมีนโยบายด้าน สุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน การปกป้องดูแลทุกชีวิตในทุกกิจกรรมการทำงาน จะช่วยเพิ่มความพึงพอใจประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน และรักษาพนักงานไว้ให้อยู่กับองค์กรได้ตลอด

ทั้งนี้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสภาพสังคมของประเทศ คนเจนเนอเรชั่นใหม่ มีแนวคิดในการทำงานเลือกงานรูปแบบใหม่ตามกระแสโลกาภิวัตน์ ไม่นิยมทำงานที่ต้องใช้ความเข้มแข็งทางกายภาพเป็นหลัก ขณะที่ศักยภาพและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ เรายังคงพึ่งพิงภาคการผลิตจริง ที่ใช้แรงงานเข้มข้น ที่เข้มแข็ง ควบคู่ไปกับ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และบูรณาการทั้งสองสิ่งเข้าด้วยกัน เมื่อคนยุคใหม่ไม่ยอมทำงานเหล่านี้ เราก็ต้องพึ่งพิงแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องยอมรับว่าเขาเหล่านั้นมาช่วยเราทำงาน มาทำงานที่ประชากรของเราไม่ทำ

“สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ให้ความสำคัญและมีบทบาทในการส่งเสริมการจ้างงานแรงงานข้ามชาติอย่างมีจริยธรรม และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีคำถามว่า ทำไมต้องไปดูแลแรงงานข้ามชาติขนาดนั้น คำตอบก็คือ เขาเป็นมนุษย์เหมือนเรา มาช่วยทำงานที่คนของเราปฏิเสธที่จะทำ”

ประธานสภาองค์การนายจ้างฯ ระบุว่า การจ้างแรงงานข้ามชาติ ต้องสร้างความตระหนักรู้เรื่องแนวปฏิบัติที่ดี เพราะเขาคือผู้มาช่วยสนับสนุนภาคการผลิตจริงของประเทศ เราควรที่จะต้องดูแลส่งเสริมคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนเหล่านี้ เราจะเห็นได้ว่าประเทศในอาเซียนที่มีระดับการพัฒนาเท่ากับเรา เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ก็ต้องการแรงงานข้ามชาติ มาช่วยทำงานในอุตสาหกรรมที่คนของเขาไม่ทำเช่นกัน ผมเห็นว่า นับวันแรงงานเหล่านี้ ก็จะมีทางเลือกที่จะไปทำงานในประเทศที่เขาอยู่แล้วมีความสุข ถ้าเราไม่สนใจดูแลปัญหาการขาดแคลนแรงงานในตลาดแรงงานก็จะรุนแรงและกระทบกับภาคการผลิตของไทยเราแน่นอน” นายเอกสิทธิ์ กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น