โฆษกรัฐบาลเปิดเผยความคืบหน้าการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง สำหรับการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาล
วันนี้ (27 มี.ค.) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง สำหรับการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาล (Onsite) ซึ่งได้รับความสนใจ และการประสานงานจากสถานพยาบาลจำนวนหลายแห่งในการขอเข้าร่วมโครงการ โดยกรมบัญชีกลางคาดว่าภายในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะมีสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ และพร้อมให้บริการเพิ่มอีกจำนวน 2 แห่ง
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2565 กรมบัญชีกลางได้อำนวยความสะดวกและเพิ่มการเข้าถึงการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงให้แก่ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ผ่านการเพิ่มช่องทางการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอก ผ่านกระเป๋าสุขภาพบนแอปพลิเคชันเป๋าตัง สำหรับการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาล ซึ่งได้นำร่องกับสถานพยาบาลของทางราชการแล้วจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 1) โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 2) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 3) สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 4) โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ 5) โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 6) โรงพยาบาลสระบุรี และ 7) โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
ทั้งนี้ จากข้อมูลจากกรมบัญชีกลาง พบว่า ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 มีมูลค่าการใช้สิทธิรวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 7,054,809 บาท ดังนี้ 1) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีมูลค่าการใช้สิทธิเป็นเงินจำนวน 6,032,744.50 บาท 2) โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า มูลค่าการใช้สิทธิเป็นเงินจำนวน 669,891.50 บาท 3) โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มูลค่าการใช้สิทธิเป็นเงินจำนวน 236,956.50 บาท 4) สถาบันมะเร็งแห่งชาติ มูลค่าการใช้สิทธิเป็นเงินจำนวน 41,196.50 บาท 5) โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มูลค่าการใช้สิทธิเป็นเงินจำนวน 57,072 บาท 6) โรงพยาบาลสระบุรี มูลค่าการใช้สิทธิเป็นเงินจำนวน 5,118.50 บาท และ 7) โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต มูลค่าการใช้สิทธิเป็นเงินจำนวน 11,829.50 บาท
“โครงการพัฒนาระบบเบิกจ่ายนี้เป็นความพยายามของรัฐบาล เพื่ออำนวยความสะดวก และลดการรอคิวการทำธุรกรรม ณ จุดชำระเงินของสถานพยาบาล โดยได้นำร่องกับสถานพยาบาลตั้งแต่ วันที่ 7 ธันวาคม 2565 และคาดว่าจะขยายโครงการให้ครอบคลุมกับสถานพยาบาลมากยิ่งขึ้น รวมถึงพัฒนาระบบให้การเบิกจ่ายผ่านแอปพลิเคชันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลดิจิทัลที่มุ่งเน้นให้ประชาชนได้ผลประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ” นายอนุชา กล่าว
วันนี้ (27 มี.ค.) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง สำหรับการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาล (Onsite) ซึ่งได้รับความสนใจ และการประสานงานจากสถานพยาบาลจำนวนหลายแห่งในการขอเข้าร่วมโครงการ โดยกรมบัญชีกลางคาดว่าภายในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะมีสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ และพร้อมให้บริการเพิ่มอีกจำนวน 2 แห่ง
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2565 กรมบัญชีกลางได้อำนวยความสะดวกและเพิ่มการเข้าถึงการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงให้แก่ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ผ่านการเพิ่มช่องทางการใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอก ผ่านกระเป๋าสุขภาพบนแอปพลิเคชันเป๋าตัง สำหรับการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาล ซึ่งได้นำร่องกับสถานพยาบาลของทางราชการแล้วจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 1) โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 2) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 3) สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 4) โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ 5) โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 6) โรงพยาบาลสระบุรี และ 7) โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
ทั้งนี้ จากข้อมูลจากกรมบัญชีกลาง พบว่า ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 มีมูลค่าการใช้สิทธิรวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 7,054,809 บาท ดังนี้ 1) โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีมูลค่าการใช้สิทธิเป็นเงินจำนวน 6,032,744.50 บาท 2) โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า มูลค่าการใช้สิทธิเป็นเงินจำนวน 669,891.50 บาท 3) โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มูลค่าการใช้สิทธิเป็นเงินจำนวน 236,956.50 บาท 4) สถาบันมะเร็งแห่งชาติ มูลค่าการใช้สิทธิเป็นเงินจำนวน 41,196.50 บาท 5) โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มูลค่าการใช้สิทธิเป็นเงินจำนวน 57,072 บาท 6) โรงพยาบาลสระบุรี มูลค่าการใช้สิทธิเป็นเงินจำนวน 5,118.50 บาท และ 7) โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต มูลค่าการใช้สิทธิเป็นเงินจำนวน 11,829.50 บาท
“โครงการพัฒนาระบบเบิกจ่ายนี้เป็นความพยายามของรัฐบาล เพื่ออำนวยความสะดวก และลดการรอคิวการทำธุรกรรม ณ จุดชำระเงินของสถานพยาบาล โดยได้นำร่องกับสถานพยาบาลตั้งแต่ วันที่ 7 ธันวาคม 2565 และคาดว่าจะขยายโครงการให้ครอบคลุมกับสถานพยาบาลมากยิ่งขึ้น รวมถึงพัฒนาระบบให้การเบิกจ่ายผ่านแอปพลิเคชันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลดิจิทัลที่มุ่งเน้นให้ประชาชนได้ผลประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ” นายอนุชา กล่าว