xs
xsm
sm
md
lg

เวียนด่วน! สั่งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ เร่งสำรวจหมู่บ้านไร้การพัฒนา เน้น “เขตทหาร-อุทยานฯ” พื้นที่หวงห้าม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เน้น “เขตทหาร-ป่าสงวน-อุทยานฯ” พัฒนาไม่สุด มหาดไทย เวียนด่วน! ผู้ว่าราชการจังหวัด ทั่วประเทศ เร่งสำรวจพื้นที่หมู่บ้านที่ “ไม่สามารถพัฒนา” ระบบสาธารณูปโภค และระบบสาธารณูปการ เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่หวงห้าม

วันนี้ (10 ม.ค.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทย เวียนหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประทศ ให้เร่งการสำรวจพื้นที่หมู่บ้านที่ไม่สามารถพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและระบบสาธารณูปการ เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่หวงห้าม

โดยขอให้จังหวัดบูรณาการ กับส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ และภาคส่วนต่างๆ รายงานการสำรวจพื้นที่หมู่บ้านที่ไม่สามารถพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และระบบสาธารณูปการ ภายในเดือน ม.ค.นี้

เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่หวงห้าม อาทิ พื้นที่ทหาร พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่อุทยานแห่งขาติ หรือพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาต เช่น ข้อมูลพื้นที่ จำนวนครัวเรือน และจำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว

“เน้นไปในพื้นที่หวงห้าม อาทิ พื้นที่ทหาร พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่อุทยานแห่งชาติหรือพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาต”

ให้รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดส่งให้กระทรวงมหาดไทยภายในเดือนมกราคม 2566 เพื่อใช้ข้อมูลสำหรับการประชุมหารือร่วมกับกระทรวง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป

สำหรับประเภทพื้นที่ ที่กระทรวงมหดาไทย สั่งดำเนินการสำรวจ ประกอบด้วย ที่ดินสาธารณประโยชน์/ ที่ราชพัสดุ/ พื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม/ ที่ดินศาสนสมบัติ/

พื้นที่ป่าชายเลน/ พื้นที่ป่า (ป่าสงวนแห่งชาติและป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้)/ พื้นที่ป่าอนุรักษ์/ พื้นที่ล่วงลํ้าลำนํ้า/ พื้นที่ชลประทาน/ พื้นที่นิคมสร้างตนเอง/ พื้นที่โบราณสถาน และ พื้นที่นิคมสหกรณ์

ล่าสุด พบว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้มีแนวทางดำเนินการขยายเขตไฟฟ้าในหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่หวงห้าม กรณีไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ โดยการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อให้หมู่บ้านสามารถเข้าถึงการใช้ไฟฟ้า

มีการนำร่อง ขยายเขตไฟฟ้าในพื้นที่ ไปยังหมู่บ้านแม่พร้าว ลป.8 ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง

ซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและการขยายเขตไฟฟ้าด้วยการปักเสาพาดสายเข้าไปในพื้นที่มีการทับซ้อนกับพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1

จึงต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment :EIA)

ทั้งนี้ การดำเนินการของ กฟภ.จะมีแผนดำเนินการ 3 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 การก่อสร้าง Solar Farm ในพื้นที่ ทางเลือกที่ 2 การก่อสร้างSolar Rooftop และทางเลือกที่ 3 การปักเสาพาดสาย


กำลังโหลดความคิดเห็น