xs
xsm
sm
md
lg

ครม.อนุมัติงบกลางปี 2,000 ลบ.ปลดล็อกปัญหาหนี้เกษตรกรกว่า 3,500 ราย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ครม.อนุมัติงบกลางปี 2,000 ลบ. ปลดล็อกปัญหาหนี้เกษตรกรกว่า 3,500 ราย รักษาที่ดินภาคการเกษตรได้กว่า 5,000 ไร่

วันนี้ (1 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า วันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติงบประมาณกลางปี 2565 ของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 2,000 ล้านบาท ขอขอบคุณ คณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกองทุนฟื้นฟูฯ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกองทุนฟื้นฟูฯ และ ดร.เสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรสมาชิก กฟก. สำหรับงบประมาณที่ได้รับในครั้งนี้ เนื่องจาก กฟก. มีงบประมาณไม่เพียงพอ เพราะไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2565 จึงจำเป็นต้องขอรับการจัดสรรงบประมาณจากงบกลางประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อมาดำเนินการภารกิจช่วยเหลือเกษตรกรดังนี้ 1. งบประมาณจำนวน 1,500 ล้านบาท เพื่อชำระหนี้แทนเกษตรกรจำนวน 3,425 ราย 4,416 สัญญา 2. งบประมาณจำนวน 269,617,500 บาท เพื่อนำไปฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรสมาชิกองค์กร และ 3. งบประมาณจำนวน 230,382,500 บาท เพื่อบริหารสำนักงาน

นอกจากนี้ สำนักงาน กฟก.ขอบคุณคณะกรรมการบริหาร โดย นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล นายสำเริง ปานชาติ นายศรายุทธ ยิ้มยวน คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร โดย นายจารึก บุญพิมพ์ นายสมศักดิ์ โยอินชัย นางนิสา คุ้มกอง นายดรณ์ พุมมาลี นายประสิทธิ์ บัวทอง นายนพรัตน์ เผ่าวัฒน์ชัย นายนวคม เสมา รวมถึงคณะกรรมการจัดการหนี้ทุกท่าน สมาชิกเกษตรกรกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทย (สกท.) กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.) และกลุ่มเครือข่ายสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ร่วมกันผลักดันของบประมาณ 2,000 ล้านบาท จนได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งโครงการนี้จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล รักษาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของเกษตรกรได้มากกว่า 3,425 ราย จำนวน 5,000 ไร่ เกษตรกรได้ประโยชน์จากการฟื้นฟูอาชีพจำนวน 42,034 ราย จำนวน 776 องค์กร มีโอกาสฟื้นฟูตนเองในการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้นำไปชำระหนี้ตามกำหนด และทำให้เข้าถึงแหล่งทุนเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพ เพิ่มประสิทธิภาพทางผลผลิต การรวบรวมผลผลิต การแปรรูป การตลาด และพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน ต่อไป
















กำลังโหลดความคิดเห็น