xs
xsm
sm
md
lg

ถอนวาระผ่อนผันเหมืองในป่า ผลิตซีเมนต์ชื่อดังเมืองโคราช มูลค่าหมื่นล้าน ขอขยายพื้นที่ลุ่มนํ้าชั้น 1 เอ “ทับประทานบัตรเดิม” พ้น ครม.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ก.อุตฯ ถอนวาระผ่อนผันประทานบัตรเหมือง ในพื้นที่ใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มนํ้าชั้นที่ 1 เอ “ผลิตปูนซีเมนต์ชื่อดังเมืองโคราช” มูลค่าผลิตกว่า 1.1 หมื่นล้าน พ้นวาระ ครม. ย้ำขอทบทวนใหม่ แม้เหมืองดังได้ไฟเขียวสารพัดบอร์ดฯ ทั้ง อีไอเอ-คนพื้นที่ไม่คัดค้าน หลังยื่นขอผ่อนผันขยายพื้นที่โครงการ จากเนื้อที่เดิม 257 ไร่ เป็น เนื้อที่ 509 ไร่ พบข้อเสนอ “ทับพื้นที่ประทานบัตรเดิม” ตามอายุบัตร 25 ปี

วันนี้ (21 ก.พ.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เวียนหนังสือแจ้ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ และประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 8 ก.พ. 2565 เห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรม “ถอนเรื่อง” คืนไปเพื่อพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง

กรณีบริษัทเอกชนทำเหมืองแร่ ในจ.นครราชสีมา ยื่นเสนอขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มนํ้าชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ ตามประทานบัตรที่ 1/2561 ชนิดแร่หินอุตสาหกรรม ชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่ ต.หนองน้ำแดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เนื้อที่ 509 ไร่ 2 งาน 75 ตารางวา ตามประทานบัตร 25 ปี (5 ม.ค. 48 - 4 ม.ค. 73 เนื้อที่เดิม 257 ไร่ 1 งาน 35 ตารางวา)

“ข้อเสนอผ่อนผันดังกล่าว มีข้อเท็จจริง คือ เป็นโครงการที่จะทับพื้นที่ประทานบัตรเดิมที่ 28802/15686 ชนิดแร่หินอุตสาหกรรมหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เพื่อทำปูนขาว สำหรับอุตสาหกรรมฟอกหนัง หรืออุตสาหกรรมน้ำตาล และเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ของผู้ขอฯ เองบางส่วน เนื้อที่ 156 ไร่ 14 ตารางวา และขอขยายพื้นที่บางส่วน เนื้อที่ 353 ไร่ 2 งาน 61 ตารางวา”

ทั้งนี้ พื้นที่เป็นการทับประทานบัตรเดิมของผู้ขอฯเองบางส่วน และบางส่วนเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยผ่านการทำเหมืองมาก่อน ซึ่งตามมติ ครม. 14 พ.ค. 2533 และมติ ครม. 4 ต.ค. 2559 ระบุว่า โครงการที่จะขออนุมัติผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มนํ้าขั้นที่ 1 เพื่อการทำเหมืองแร่และเพื่อการต่ออายุประทานบัตรทำเหมืองแร่

อย่างไรก็ตาม โครงการที่ขอผ่อนผัน จะต้องเป็นโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่เดิม ที่มีการทำเหมืองมาก่อน มีความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจ มีความคุ้มค่าและความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งต้องเป็นไปตามมติ ครม.ที่เกี่ยวข้องโดยคำขอประทานบัตรนี้

ขณะที่ พื้นที่คำขอประทานบัตรแปลงนี้ เป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาเสียดอ้า ป่าเขานกยูง และป่าเขาอ่างหิน ซึ่งผู้ขอฯ ได้ยื่นคำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้ว

และอยู่ในพื้นที่ลุ่มนํ้าขั้นที่ 1 เอ ของลุ่มนํ้ามูลและชี ตามมติ ครม. 12 ก.ค. 2531 ไม่เป็นแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ ไม่เป็นพืนที่ต้องห้ามสำหรับการทำเหมืองตามระเบียบและกฎหมายของส่วนราชการต่างๆ และการปิดประกาศการขอประทานบัตร ไม่มืผู้ร้องเรียนคัดค้าน

ขณะที่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หนองนํ้าแดง ก็เห็นสมควรอนุญาตคำขอประทานบัตร และ คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ได้ให้ความเห็นขอบ กับรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว

“คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มี พล.อ.ประวิตร เป็นประธาน ก็ได้มีมติเห็นขอบกับรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ สำหรับคำขอประทานบัตรแปลงนี้แล้ว ตั้งแต่ 2563 รวม ถึงกระทรวงทรัพยกรธรรมาชติและสิ่งแวดล้อมก็เห็นชอบให้ขยายไปแล้ว”

สำหรับโครงการเหมืองแร่ ใน จ.นครราชสีมา ดังกล่าว มี นายประสาน ยุวานนท์ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศิลาสากลพัฒนา จำกัด โดยเหมืองนี้ ระบุมีมูลค่าปริมาณสำรองแร่ ประมาณ 11,197 ล้านบาท


กำลังโหลดความคิดเห็น