xs
xsm
sm
md
lg

“อนุชา” นำทีมถก “กลุ่มพีมูฟ” นำข้อเรียกร้อง 15 ข้อ เสนอที่ประชุม คกก.จันทร์นี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รมต.อนุชา นำทีมหารือขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ขปส. นำข้อเรียกร้อง 15 กรณีปัญหา เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการฯ ในวันจันทร์ที่ 31 ม.ค.นี้

วานนี้ (27 ม.ค.) นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหารือเพื่อพิจารณา แก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) จํานวน 15 กรณีปัญหา ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทน ขปส. โดยที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องของ ขปส. จํานวน 15 กรณีปัญหา ดังนี้

๑) ขอให้พิจารณาแนวทางการยกระดับโฉนดชุมชนตามมาตรา ๑๐(๔) แห่งพระราชบัญญัติ
คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชําติ พ.ศ. ๒๕๖๒ และดําเนินการตรวจสอบพื้นที่ที่ยื่นขอดําเนินงานโฉนดชุมชน จํานวน ๔๘๖ ชุมชน เพื่อเป็นพื้นที่นําร่องในการจัดที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชนต่อไป ทั้งนี้ ขอเรียนเชิญ รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานจัดงาน “มหกรรมโฉนดชุมชน” ณ จังหวัดภูเก็ต

๒) เสนอให้มีการออกพระราชกฤษฎีกานิรโทษกรรมคดีความที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ ปัญหาที่ดิน ที่เกิดจากการดําเนินการตามนโยบายของรัฐโดยให้มีการตรวจสอบคดีว่าเข้าข่ายการนิรโทษกรรมตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหรือไม่ ตลอดจนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าคดีความที่เกิดจากการแก้ไขปัญหําที่ล่าช้า รวมทั้งยุติการดําเนินคดีทุกกรณีปัญหาที่เกิดจากกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ล่าช้า

๓) ขอให้พิจารณาชะลอการเสนอร่างกฎหมายลําดับรองประกอบพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และร่างกฎหมายลําดับรองประกอบพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๖๒ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยให้นําข้อเสนอของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ในคราวการจัดเวทีรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชน เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหําคม ๒๕๖๔ ซึ่งจัดโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผ่านระบบออนไลน์

๔) นโยบายการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยขอให้กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย นําเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้ชุมชนที่อยู่ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย สามารถรถเช่าที่ดินได้ทั่วประเทศเพิ่มเติม จากเดิมมีจํานวน ๖๑ ชุมชน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย

๕) ขอให้รัฐบาลผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ฉบับที่ร่างโดยศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) ตามคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ด้านการจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติและคุ้มครองวิถีชีวิต ของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งกำหนดให้มีกฎหมาย “การส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์” ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศําสตร์ชาติด้านสังคมที่รัฐบาลจะต้องผลักดันให้มี “พระราชบัญญัติเขตส่งเสริมและคุ้มครองทางวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์” ภายใน ปี ๒๕๖๔ และขอให้รัฐบาลให้การสนับสนุน “ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง พ.ศ. .... (ฉบับเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ๑๐,๐๐๐ รายชื่อ) เพื่อยกระดับการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ ว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ ว่าด้วย การฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง

๖) การดําเนินโครงการนําร่องธนาคารที่ดิน ขปส. ขอให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (บจธ.) ทบทวนการดําเนินโครงการนําร่องธนาคารที่ดิน 5 พื้นที่ที่ผ่านมาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์การปฏิรูปที่ดินของชุมชน ตามแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและสร้างนวัตกรรมในการจัดการที่ดินใหม่ ที่ไม่ใช่ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินที่แสวงหาผลกําไรจากเกษตรกรผู้ยากไร้ รวมทั้งขอให้เร่งรัดกํารแก้ไขปัญหาที่ดิน ตามโครงการนําร่องธนาคารที่ดิน 5 พื้นที่ ทั้งนี้ หาก บจธ. ไม่สามารถ ดําเนินการได้ขอให้ถ่ายโอนภารกิจโครงการฯ ให้หน่วยงานอื่นที่สามารถเข้าดําเนินการได้ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ในการเข้าถือครองที่ดินอย่างแท้จริง

๗) เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ชุมชนที่อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาที่ดิน ให้เข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา ทะเบียนบ้าน และปรับปรุงที่อยู่อาศัยได้

๘) ปรับปรุงองค์ประกอบคณะทํางานศึกษาร่างกฎหมายว่าด้วยการนิรโทษกรรมแก่ราษฎร ซึ่งได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการดําเนินการตามนโยบายของรัฐ และคณะทํางานแก้ไขปัญหา และศึกษาแนวทางการจัดที่ดินทํากินให้กับชุมชนในรูปแบบโฉนดชุมชนภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งเร่งรัดการจัดการประชุมคณะทํางานดังกล่าว

๙) กรณีกลุ่มแม่สอดรักษ์ถิ่น จังหวัดตาก เรียกร้องการแก้ไขปัญหาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก

๑๐) ขปส. ขอให้พิจํารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินของรัฐทุกประเภท

๑๑) ขปส. ขอให้พิจารณาการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล และชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 และเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553

๑๒) ขปส. ขอให้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาชุมชน ชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยหมู่ที่ 1 ตําบล ห้วยแม่พริก อําเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งยุติการดำเนินคดี กับราษฎรในพื้นที่ดังกล่าว

๑๓) กรณีปัญหาด้านสถานะและสิทธิของบุคคล ขอให้เร่งรัดดําเนินการแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จ ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เครือข่ายการแก้ไขสัญชาติไทย เครือข่ายลาวอพยพ เครือข่ายชาวเลอันดามัน เครือข่ายไทลื้อ และคนไทยที่ตกหล่นทางทะเบียนรสษฎร รวมทั้งสิ้น ๑๐ จังหวัด

๑๔) การดําเนินการด้านโยบายรัฐสวัสดิการ

๑๕) กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากการดําเนินโครงการของรัฐ ได้แก่ กรณีผู้ได้รับผลกระทบจาก การดําเนินโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ําห้วยฝั่งแดง จังหวัดอุบลราชธานี โครงการแก้มลิงทุ่งทับในจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ําแม่มอก จังหวัดลําปาง โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ําห้วยน้ํารี จังหวัดอุตรดิตถ์ โครงกการก่อสร้างอ่างเก็บน้ําแม่งาว จังหวัดลําปาง และโครงการผันน้ํายวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ซึ่งที่ประชุมรับทราบข้อเรียกร้องของ ขปส. ทุกกรณีปัญหาและรับทราบความคืบหน้าในการดําเนินการแก้ไขปัญหา ของคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการฯ และรับทราบข้อเสนอแนะจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการและส่วนราชการที่เกี่ยงข้อง รับประเด็นข้อเสนอของ ขปส. ไปพิจารณาเร่งรัดดําเนินการต่อไป ทั้งนี้ จะได้นําผลการประชุมหารือฯ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2565 ในวันจันทร์ที่ 31 มกราคม 2565 เพื่อพิจารณาต่อไป






กำลังโหลดความคิดเห็น