xs
xsm
sm
md
lg

เคาะแล้ว 1 หมื่นล้าน ลง 76 จังหวัด เจียดเงินกู้ฯ โครงการใหม่! “ฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมระดับจังหวัด” เน้นพัฒนาฐานราก ปี 65 มท.นัดผู้ว่าฯถกพรุ่งนี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เคาะแล้ว 1 หมื่นล้าน ลง 76 จังหวัดๆ ละ 100 ล้าน ฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมระดับจังหวัด ตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ปี 65 เจียดจากเงินกู้สู้โควิดรอบใหม่ 1.7 แสนล้าน สนองนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน “มหาดไทย” เรียกผู้ว่าฯ ถกกลไกกรอบเดิม “ภูมิภาค/ท้องถิ่น” คิดโครงการ ชงจังหวัด ก่อนเสนอ 6 รองนายกฯ กำกับ 18 เขตตรวจราชการ ตัดสินเสนอบอร์ดเงินกู้/ครม. พิจารณา กำหนดเวลาโครงการถึง ธ.ค.ปีหน้า

วันนี้ (2 ธ.ค.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า สุดสัปดาห์นี้ ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย นัดหมายผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ระดับจังหวัด

รวมถึงหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นายกเทศมนตรีทุกระดับ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด

ประชุมผ่านวิดีทัศน์ทางไกล เพื่อรับทราบกรอบการดำเนินการและคู่มือแนวปฏิบัติการเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565

ซึ่งเป็นส่วนหนื่งของกรอบแผนงาน หรือโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 กรอบวงเงิน 170,000 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรี 21 ก.ย. ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ฯ

มีกลุ่มเป้าหมายโครงการนี้เช่น สถานประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการทั่วไป แรงงานในระบบ ประชาชนทั่วไป เกษตรกร สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร) วิสาหกิจชุมชน ผู้ว่างงาน และวัยแรงงานที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยผ่าน กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

“ในระดับจังหวัด ครม.เห็นชอบ กรอบวงเงินจำนวน 1 หมื่นล้านบาท เป็นกรอบวงเงินสูงสุด (Ceiling) เพื่อให้จังหวัดจัดทำข้อเสนอโครงการประกอบการพิจารณา ซึ่งโครงการที่ ครม.อนุมัติ จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสม หลังจากจังหวัดพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการ”

มีการกำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่ พ.ย. 2564 - ธ.ค. 2565 ที่หน่วยงานของรัฐ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด เป็นผู้นำเสนอ แต่ในส่วนของ “องค์กรภาคประชาขชน” จะต้องจัดทำข้อเสนอโครงการผ่านหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจสอดคล้องหรือเกี่ยวข้องกับโครงการที่เสนอ

โดยโครงการต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด ที่มี 6 รองนายกรัฐมนตรี กำกับ และติดตามการปฎิบัติราชการในภูมิภาคพิจารณา มีกระทรวงมหาดไทย สนับสนุนผ่าน 18 เขตตรวจราชการ

สำหรับลักษณะของโครงการ เช่น พัฒนาสินค้า ท่องเที่ยว บริการ และ การค้า ,ยกระดับประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มค้านการเกษตร/อุตสาหกรรม รองรับการฟื้นตัวและพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน เป็นต้น

ล่าสุด พบว่า กระทรวงมหาดไทย เตรียมแจ้งกรอบวงเงินของจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ได้รับจัดสรร 181,450,284 บาท ลำพูน 107,999,417 บาท ลำปาง 121,547,533 บาท แม่ฮ่องสอน 165,774,988 บาท เชียงราย 154,641,204 บาท พะเยา 128,614,270 บาท แพร่ 116,809,355 บาท น่าน 131,089,614 บาท

พิษณุโลก 127,202,829 บาท ตาก 160,140,488 บาท เพชรบูรณ์ 125,302,424 บาท สุโขทัย 119,276,387 บาท อุตรดิตถ์ 116,835,448 บาท นครสวรรค์ 124,193,052 บาท อุทัยธานี 112,184,704 บาท กำแพงเพชร 121,658,469 บาท พิจิตร 106,248,121 บาท

อุดรธานี 128,016,267 บาท เลย 115,892,726 บาท หนองคาย 108,047,416 บาท หนองบัวลำภู 127,809,514 บาท บึงกาฬ 102,585,655 บาท สกลนคร 133,482,073 บาท นครพนม 124,027,405 บาท มุกดาหาร 123,569,230 บาท ขอนแก่น 140,369,772 บาท กาฬสินธุ์ 147,178,965 บาท มหาสารคาม 114,290,245 บาท ร้อยเอ็ด 123,640,546 บาท

นครราชสีมา 173,392,314 บาท ชัยภูมิ 124,062,800 บาท บุรีรัมย์ 156,825,741 บาท สุรินทร์ 130,726,117 บาท อุบลราชธานี 155,773,774 บาท ยโสธร 125,243,837 บาท ศรีสะเกษ 137,906,436 บาท อำนาจเจริญ 109,103,380 บาท

พระนครศรีอยุธยา 121,305,536 บาท สระบุรี 108,632,495 บาท ลพบุรี 129,247,099 บาท ชัยนาท 127,229,564 บาท สิงห์บุรี 108,249,433 บาท อ่างทอง 121,599,299 บาท นครปฐม 111,181,242 บาท นนทบุรี 109,701,423 บาท ปทุมธานี 110,228,148 บาท สมุทรปราการ 139,039,116 บาท

ราชบุรี 129,485,957 บาท กาญจนบุรี 146,886,168 บาท สุพรรณบุรี 138,119,109 บาท เพชรบุรี 120,462,634 บาท ประจวบคีรีขันธ์ 121,692,076 บาท สมุทรสงคราม 95,005,807 บาท สมุทรสาคร 116,602,499 บาท

ชลบุรี 235,786,691 บาท ฉะเชิงเทรา 130,008,763 บาท ระยอง 156,185,601 บาท ปราจีนบุรี 119,913,021 บาท จันทบุรี 120,179,760 บาท ตราด 118,333,355 บาท นครนายก 109,938,755 บาท สระแก้ว 140,442,451 บาท

สุราษฎร์ธานี 152,038,858 บาท ชุมพร 108,137,985 บาท นครศรีธรรมราช 142,598,260 บาท พัทลุง 135,655,855 บาท สงขลา 153,634,586 บาท

ภูเก็ต 230,921,123 บาท กระบี่ 141,638,126 บาท ตรัง 118,306,884 บาท พังงา 121,819,595 บาท ระนอง 121,161,529 บาท

สตูล 125,464,961 บาท ยะลา 135,759,165 บาท นราธิวาส 154,290,912 บาท และ ปัตตานี 150,203,356 บาท

ก่อนหน้านั้น ครม. ได้เห็นชอบ “โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก” ภายใต้กลุ่มแผนงาน/โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนบนพื้นฐานของโอกาสและศักยภาพของท้องถิ่น : ระดับพื้นที่ กรอบวงเงิน 45,000 ล้านบาท ใน 18 เขตตรวจราชการ ในปีงบประมาณ 2564 ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการเช่นกัน.


กำลังโหลดความคิดเห็น