xs
xsm
sm
md
lg

โครงสร้างพื้นฐาน-แพลตฟอร์ม! แนะใช้กรอบ IMT-GT ต่อยอดไทย-มาเลย์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



แนะใช้กรอบ IMG-GT ต่อยอดเศรษฐกิจไทย-มาเลย์ ดันภาคเอกชนชายแดนใต้ ขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลสองประเทศ จับตาจุดเปลี่ยนการค้าและการท่องเที่ยวบนแพลตฟอร์ม

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเวทีขับเคลื่อนการแลกเปลี่ยนการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้หลังวิกฤตโควิด-19 ต่อเนื่อง โดยการจัดเสวนา ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “โอกาสและข้อจำกัดการร่วมพัฒนา เศรษฐกิจ ไทย-มาเลเซีย บริเวณเขตแดนเชื่อมต่อของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้กับ 5 รัฐ ของประเทศมาเลเซีย” มีวิทยากร ประกอบด้วย นางวริยา ภิสัชเพ็ญ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภาคแผนงาน IMT-GT (CIMT), ดร.ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี
ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ, นายสุมิตร กาญจนัมพะ อุปนายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา, นายอาทิตย์ วิสุทธิสมาจาร อดีตนายด่านศุลกากรสะเดา ดำเนินการเสวนาโดย นายสมชาย สามารถ บรรณาธิการศูนย์ข่าวเนชั่น ภาคใต้ และ นายชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ รองประธาน สถาบันวิทยาลัยชุมชนสงขลา ถ่ายทอดสดทางเพจ ศอ.บต.และ สงขลาโฟกัส

ดร.ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี กล่าวว่า ประเทศมาเลเซียมีความมั่นคงทางการเมือง ในขณะที่ไทยมีนโยบายการเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า เน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงกลุ่มอาเซียนโดยรวม ปี 1990 ไทยและมาเลเซีย เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ จนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่เศรษฐกิจที่ขยาย ทำให้เกิดความมั่งคั่ง มั่นคง ในภูมิภาค ควบคู่การการลดปัญหาความยากจน มีการสร้างกลไกต่างๆ นอกจากพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ถนนหนทาง เครือข่ายสื่อสารเพื่อที่จะให้พรหมแดนของ 2 ประเทศนี้เปิดกว้าง ให้เปิดสภาวะที่เรียกว่า การแลกเปลี่ยนของประชาชน การค้าของประชาชน ความเข้าอกเข้าใจบางส่วน ภูมิภาค กลายเป็นภูมิภาคเศรษฐกิจที่ถูกจับตามอง ปี 2536 มีการตั้ง (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle หรือ IMT-GT) เป็นข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลของ 3 ประเทศ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย

“GT คือ Growth Triangle พื้นที่ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง เป็นแหล่งการผลิต การบริโภค เป็นตลาดและเป็นแหล่งสินค้าต่างๆ โอกาสที่เราจะเดินหน้าต่อเพื่อพัฒนาภูมิภาคของเราเป็นภูมิภาคที่มีวุฒิภาวะมากกว่าพื้นที่อื่น และวิกฤตหนึ่งที่เราพบเจอเกิดขึ้นซ้ำ แล้วกำลังจะไปด้วยดี เส้นทางต่างๆ ทรัพยากรมนุษย์ต่างๆ ถูกสร้างเป็นรากฐานของการพัฒนาในยามนี้ แต่เรามาติดที่ปี 2019 เรามาติดกับวิกฤตโควิด”

สิ่งนี้ท้าทายอย่างมากต่อสมรรถนะของประชากร ว่า จะผ่านปัญหาเหล่านี้ ต่อไปอย่างไร เวลานี้เราอยู่กับสิ่งที่เกิด ข้อจำกัด เราจะใช้ความสามารถสมรรถนะของภาคีทั้งสองรัฐ คือ มาเลเซีย และไทย เพื่อก้าวข้ามวิกฤตที่เราพบ ถือว่าเป็นโจทย์ที่เราจะพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไปการสนับสนุนการท่องเที่ยว อาจจะต้องมีการนำร่องหลายอย่าง การท่องเที่ยวเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ คงต้องหารือในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวที่มีความหมาย หาศักยภาพของพื้นที่ หรือสร้างเรื่องราวในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการไหลเวียนในพื้นที่แก่ประชาชนในทุกๆ แห่ง และต้องใช้เวลาและมาตรการในการเปิดประเทศให้ชัดเจน และความพร้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล วิกฤติโควิด และอยากให้ Active ในการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค ซึ่งเรามาไกล เราถ้อยกลับไม่ได้

“อยากให้ทั้งไทย และมาเลย์ มาประชุม หารือเพื่อหามาตรการที่เหมือนกัน และเป็นที่ยอมรับของทั้งสองประเทศ ผ่านแอปพลิเคชั่น ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่า จะเป็นการท่องเที่ยว การลงทุน ก็จะเกิดขึ้น” ดร.ทวีศักดิ์ กล่าว

นางวริยา ภิสัชเพ็ญ กล่าวว่า IMT-GT จะเน้นเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพราะการเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะท่าเรือ หรือด่านต่างๆ รวมไปถึงการสร้างถนน สะพานต่างๆ จะเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งเป้าหมายหลัก คือการเพิ่มหรือสร้างรายได้ให้ประชากรในพื้นที่เดิม IMT-GT เราเน้นจังหวัดที่มีรายได้น้อย และไม่เจริญมาก เพื่อเข้าไปช่วย

ตอนนี้มีโครงการต่างๆ มากมาย โดยของไทยเรา “สนามบินเบตง” ที่เป็นโครงการใหม่ ที่มีความก้าวหน้า และเป็นจุดเด่นของภาคใต้ตอนล่าง IMT-GT มองว่า ประเทศมาเลเซีย เป็นตัวกลางที่จะเชื่อมระหว่างประเทศไทย กับประเทศอินโดนีเซียได้ ซึ่งอินโดนีเซียมีความน่าสนใจคือ ถนนไฮเวย์ แต่อินโดนีเซียมีปัญหาเรื่องการขนส่ง ถนนน้อย โครงการที่เกาะสุมาตรา เป็นถนนยาวครึ่งเกาะ ทำให้นักธุรกิจทั้งอินโด และมาเลย์ สนใจที่จะช่วยให้สุมาตรามีความเจริญมากขึ้น

มาเลเซียมีด่านที่ติดกับประเทศไทย ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีถึง 7 ช่องทาง ภายใต้ 7 ช่องทางนี้ มีการพัฒนาละแวกพรมแดนต่างๆ มีโครงการที่อยู่ในความดูแลของ IMT-GT เป็นพื้นที่ของการพัฒนาเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ โครงการด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ร่วมกันทำการส่งเสริมการตลาด ทั้งยังมีเว็บไซต์ที่ขายอาหารฮาลาลโดยเฉพาะ และมาร่วมกับ IMT-GT เป็น IMT-GT E-Commece
ปีนี้ ทาง IMT-GT ลงนาม MOU เพื่อจะได้ร่วมมือพัฒนา และเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว ของจีโอพาร์ค (Geopark) สตูล ลังกาวี Lake Toba ทั้งสามแห่ง ได้รับการสนับสนุนจากยูเนสโก (UNESCO)

นายอาทิตย์ วิสุทธิสมาจาร กล่าวว่า ต้องการเห็นรถไฟทางคู่ จากหาดใหญ่ ไปสุไหงโก-ลก เชื่อมต่อกับตุมปัด ไปโกตาบารู เพื่อไปเชื่อมกับโจโฮร์บะฮ์รู เพื่อไปสิงคโปร์ และสามารถกลับมาที่ปาดังเบซาร์ ซึ่งเป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 สะพานข้ามแม่น้ำ ที่ด่านสุไหงโก-ลก ซึ่งยังไม่สามารถก่อสร้างสะพานได้ เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว ขณะที่ ด่านบูกิตบูงา บ้านบูเก๊ะตา อ.แว้ง จ.นราธิวาส และนิคมอุตสาหกรรมฮาลาลของประเทศมาเลเซีย ได้สร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ส่วน อ.สุไหงโก-ลก ที่มีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยว และการขนส่ง เส้นทางรถไฟ จากหาดใหญ่ไปถึงจุดนั้น เป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าต้องผ่านท่าเรือน้ำลึกของสงขลา 2 ที่ อ.จะนะ ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งจะเกิดหรือไม่อยู่ที่อนาคต และอยู่ใกล้กับด่านศุลกากรบ้านประกอบซึ่งอยู่ในกรอบของยุทธศาสตร์ IMT-GT

ด้าน นายสุมิตร กาญจนัมพะ กล่าวว่า ประเทศคู่ค้า อย่างมาเลเซีย ก็มีข้อจำกัดมากมาย มีอุปสรรคทางการค้าต่างๆ อาทิ ภาษี ปัจจุบันคลี่คลายลง การส่งเสริมการลงทุน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ แนวชายแดน ไทย-มาเลย์ ทั่วประเทศมี 10 เขต ในส่วนของภาครัฐมีการสนับสนุน โปรโมท จนถึงปัจจุบัน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเตรียมการ คาดว่า จะเปิดให้บริการในปี 2565

ในส่วนของกิจการที่จะนำมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ แนวชายแดน ไทย-มาเลย์ ไม่ใช่เรื่องง่าย การทำการตลาดต้องทำอย่างเข้าใจ ก่อนที่จะชวนเขาเข้ามา ต้องเข้าใจในธุรกิจนั้นๆ การที่จะดึงสักกิจการหนึ่ง อาจจะอยู่ไม่ได้ นอกจากการได้รับการสนับสนุนจากเครืออื่นๆ เราต้องพิจารณาดูให้ดี

ภาคเอกชนต้องร่วมมือกัน หากเปรียบเป็นนักการตลาด พนักงานขาย ทาง Information (อินฟอร์เมชัน) ที่เขาให้มา รายชื่อกลุ่มเป้าหมายประมาณพันราย เรา add post ทางช่องทางไหนก็ได้ ให้สำเร็จสัก 3-5% ถือว่ามหาศาล แต่เราก็ต้องหานักการตลาด ภาครัฐและภาคเอกชนที่มี Information เหล่านี้ต้องช่วยกัน ต้องชักชวนเข้ามาลงทุนผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประเทศ ผู้นำกระทรวง มักจะเอา AEC ไปขาย และเขามีความพร้อมกว่าเราทุกด้านถือเป็นตัวท็อป และยังนำเขตเศรษฐกิจพิเศษของเราไปขายด้วย ซึ่งเรามีอะไรมากมายที่สามารถโปรโมตได้ แต่กลับไปโปรโมต AEC มากกว่า ความคาดหวังของภาครัฐมีสูงมากเพียงแค่รอวันเวลา

อุปสรรค์ในการทำงานในพื้นที่เศรษฐกิจ สิ่งแรกคือ ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเรือน้ำลึก และต้องมีท่าเรือน้ำลึกแห่งที่สอง มีโครงการ แต่ยังไม่ทราบว่าจะสร้างที่ไหน อย่างไร ซึ่งสิ่งนี้จำเป็นที่ต้องมี ในส่วนของกระแสไฟฟ้า เราควรจะต้องมีโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า และอีกด้านคือ ด้านแรงงาน เงื่อนไขการสร้างการลงทุนใหม่ๆ จะเน้นด้านของแรงงาน ที่มีทักษะ เทคโนโลยี ด้านของนวัตกรรม เราจำเป็นต้องพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน มีสถาบันแรงงานฝีมือ ภาคเอกชนเราควรที่จะร่วมมือกันจัดตั้งอุตสาหกรรม หลายคนรวมๆ กัน






กำลังโหลดความคิดเห็น