นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถา เปิดงาน Mission to Trans form 13 หมุดหมาย พลิกโฉมประเทศไทย บอก พยายามเต็มที่ให้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศคลี่คลาย ผุดแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับเฉพาะกิจ 64-65 รองรับความผันผวน ให้คำมั่น จัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้กับประชาชนอย่างครอบคลุม
วันนี้ (22 ก.ย.) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดงานและกล่าวปาฐกถา ในงาน Mission to Traform 13 หมุดหมาย พลิกโฉมประเทศไทย ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พลเอก ประยุทธ์ ระบุว่า ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สถานการณ์ต่างๆ จะกลับสู่สภาวะปกติได้เร็ว ซึ่งรัฐบาลพยายามใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการคลี่คลายวิกฤตต่างๆ เพื่อให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วที่สุด การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นับเป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับประเทศไทยที่สะท้อนว่าการที่ประเทศของเราจะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงนั้น จะต้องมีความพร้อมที่จะเผชิญกับความผันผวนต่างๆ อย่างรัดกุม และสมดุลในทุกด้านและสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้สามารถรับมือได้ ก็คือ การมีแผนการพัฒนาประเทศที่มีเป้าหมาย อย่างชัดเจน มีแนวทางดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นแผนที่ดึงความร่วมมือจากทุกฝ่ายให้มาร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแผนการรับมือกับความท้าทายของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภายหลังจากที่ประเทศมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นแผนปฏิบัติการในช่วงทุกระยะ 5 ปีของยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งจะทำให้การพัฒนาประเทศในทุก 5 ปี เป็นอย่างสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ซึ่งเป็นแผนในช่วง 5 ปีแรก ของยุทธศาสตร์ชาติจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2565 และจะมีการประกาศใช้แผนพัฒนาฯฉบับที่ 13 เป็นแผน 5 ปี ในระยะที่ 2 ของยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งการประชุมประจำปีของสภาพัฒน์ในวันนี้จะเป็นเวทีระดับประเทศที่เปิดโอกาสให้หน่วยงานและภาคีการพัฒนาต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างฉบับที่ 13 ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี 2566 ถึง 2570 เพื่อที่จะช่วยกันกำหนดเป้าหมาย ที่จะเดินต่อไปอีก 5 ปีข้างหน้านำพาประเทศไปสู่เป้าหมายสุดท้ายของยุทธศาสตร์ชาติ ความคิดเห็นของทุกคนจึงเป็นความสำคัญในการกำหนดประเทศ ซึ่งการประชุมในวันนี้เป็นการระดมความคิดเห็นต่างๆ โดยจะนำไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฉบับที่ 13 ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และตรงต่อความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด
นายกรัฐมนตรี ยังระบุอีกว่า ภาพรวมสถานการณ์โลกและสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน การที่จะก้าวไปสู่อนาคตร่วมกันอย่างมั่นคงจำเป็นจะต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลกอย่างรอบด้าน แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลกที่กำลังกระทบกับหลายประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทย คือ แนวโน้มที่เรียกว่า Mega Trend ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและรูปแบบการใช้ชีวิต เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานภาวะโลกร้อนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีขึ้นมาก่อน ส่งผลกระทบต่อชีวิตและพฤติกรรมของคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมายังไปอีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นตัวเร่งทำให้ Mega Trend ที่มีอยู่แล้วเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้วิถีชีวิตของทุกคนในโลกต้องปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่ ซึ่งเรียกว่าความปกติรูปแบบใหม่ หรือ New Normal ดังนั้น การกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศของเราในอนาคตจำเป็นจะต้องพิจารณาทั้งบริบทการเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศควบคู่กับการประเมินเงื่อนไขของปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมและศักยภาพของประเทศ ทั้งที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน เพื่อช่วยให้ตัดสินใจเลือกทิศทางและแนวทางที่จะเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับประเทศ ในการที่จะก้าวต่อไปท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ผันผวนรวดเร็วของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศให้มีความเข้มแข็งเพื่อให้สามารถรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอย่าง Mega Trend ไปพร้อมกับการเตรียมสภาพแวดล้อมของประเทศให้มีความพร้อมและเลือดออกความแสวงหาโอกาส ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ซึ่งหากมีการวางแผนในการแก้ไขและบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าวเป็นอย่างดีโดยอาจจะเป็นความเสี่ยงนั้นให้เป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติเศรษฐกิจและสังคม
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ถือเป็นโอกาสและความเสี่ยงการขับเคลื่อนประเทศไทย ที่ทวีความรุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบต่อทางเศรษฐกิจและสภาพจิตใจของคนไทยทุกคน รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาดังกล่าวและพยายามอย่างเต็มที่ในการที่จะควบคุมสถานการณ์ โดยระยะสั้นรัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อที่จะควบคุมการแพร่ระบาด ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนและระบบสาธารณสุขของประเทศ รวมถึงเร่งจัดหาการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้กับประชาชนอย่างครอบคลุมทั่วถึงและรวดเร็ว เพื่อลดความเจ็บปวดรุนแรงและเสียชีวิต ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดข้อติดขัดต่อการพัฒนาประเทศตามแนวทางที่เคยวางแผนไว้ภายใต้สถานการณ์ปกติ รัฐบาลจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปสู่เป้าหมายในระยะยาวจึงและสนับสนุนให้มีการเพิ่มเติมแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ อันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ. 2564-2565 ขับเคลื่อนพัฒนาประเทศจากการได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปประธรรมไม่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายระยะยาวรัฐบาล ขอให้คำมั่นว่าจะพยายามและจัดหาและฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้กับประชาชนอย่างครอบคลุมทั่วถึงและรวดเร็ว เพื่อลดความเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิต รวมถึงมาตรการทางเศรษฐกิจในระยะเร่งด่วนเพื่อยาวและบรรเทาผลกระทบต่างๆ ให้แก่ประชาชน
พร้อมยืนยันถึงความมุ่งมั่นที่จะนำพาประเทศรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้เร็วที่สุด และฟื้นประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็ง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 กับการทำงานของรัฐบาล กับการพลิกโฉมของประเทศ ถึงเวลาที่จะต้องกำจัดจุดอ่อน เสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย ที่ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ที่เตรียมจะประกาศให้ใช้ในปี 2566 นั้น มีความมุ่งหวังเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่โฉมหน้าใหม่ของประเทศไทยที่ก้าวทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
ทั้งนี้ มีเป้าหมายสำคัญ คือ การปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศให้เป็นเศรษฐกิจที่อยู่บนฐานนวัตกรรม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาไวรัสโควิด-19 / การพัฒนาคนให้มีความสามารถและมีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมกับโลกยุคใหม่ ให้มีความพร้อมในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เช่นปรับรูปแบบการเรียนรู้และการสอนเสริมสร้างทักษะสำคัญ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้มากขึ้น / การสร้างสังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม ซึ่งรัฐบาลพยายามขจัดความเหลื่อมล้ำในรูปแบบต่างๆ อย่างการปรับปรุงระบบสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพ / การสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาในทุกมิติและต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศและมีความพร้อมในการร่วมมือหรือรับมือจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ / การเตรียมความพร้อมของประเทศในการรับมือความเสี่ยงภายใต้บริบทโลกใหม่ กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ประชาชนจะต้องเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การจะบรรลุเป้าหมายถือเป็นการทำงานที่มีความท้าทาย แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามวางรากฐานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายที่ต้องการจะบรรลุ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้ภารกิจในการพลิกโฉมประเทศไทยในครั้งนี้ประสบความสำเร็จไม่ได้มาจากแผนพัฒนาฯอย่างเดียว ตนเชื่อว่า การพัฒนาประเทศไม่สามารถสำเร็จได้โดยการทำงานของคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจ ของทุกฝ่าย ที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงประเทศของเราให้ดียิ่งขึ้น รัฐบาลพร้อมที่จะทำทุกอย่างทุกวิถีทางการพลิกโฉมของประเทศตามแนวทาง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13