ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย ทำหนังสือถึง รมว.ศธ.ทวงถามความคืบหน้าการเสนอชื่อคณะกรรมการบริหาร สมศ.ให้ ครม.พิจารณา หลังจากเคยแจ้งขอให้พิจารณาเมื่อ 4 เดือนก่อน แต่ไม่คืบหน้า ชี้ หากยังล่าช้าอาจเข้าข่ายผิด พ.ร.ฎ.จัดตั้ง สมศ. และ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ส่งผลเสียต่อคุณภาพการศึกษา
รายงานข่าวแจ้งว่า นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ ประธานชมรมพิทักษ์สิทธิผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (ช.พ.ค.ศ.) ได้ทำหนังสือลงวันที่ 20 กันยายน 2564 ถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) เพื่อขอทราบความคืบหน้าเรื่องเสนอชื่อคณะกรรมการการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) หรือ สมศ. เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีใจความสำคัญว่า ตามที่ ช.พ.ค.ศ. ได้แจ้งขอความอนุเคราะห์ให้พิจารณาเสนอชื่อคณะกรรมการการบริหาร สมศ. เข้า ครม.เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 โดยการเสนอชื่อผู้ใดเป็นอํานาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ความละเอียดทราบแล้วนั้น
บัดนี้ เป็นระยะเวลาล่วงเลยมาร่วม 4 เดือนแล้ว ยังไม่ทราบผลการดําเนินการ ชมรมฯ จึงขอทราบผลการดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว อนึ่ง การไม่เสนอชื่อคณะกรรมการบริหาร สมศ. ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา วินิจฉัยสั่งการ อาจถูกกล่าวหาได้ว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สมศ. พ.ศ. 2543 และยังเป็นการไม่ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 47-51 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่ปรับปรุงแก้ไข โดยอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาของระเทศไทยในภาพรวม ชมรมฯ ได้ติดตามเรื่องไปที่สํานักงานรัฐมนตรี และ สมศ. เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 ได้รับแจ้งว่าขณะนี้เอกสารผลการคัดเลือกและตรวจประวัติอาชญากรรมของประธานกรรมการและกรรมการบริหาร สมศ. ตลอดจนหนังสือชี้แจงได้ส่งให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้วตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2564 ชมรมฯ ขอเรียนเพิ่มเติมว่าการไม่ส่งรายชื่อคณะกรรมการบริหาร สมศ.ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งนั้น สุ่มเสี่ยงต่อการถูกพรรคการเมืองฝ่ายค้านกล่าวหาว่าละเลยล่าช้าในหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติและเกิดผลเสียต่อคุณภาพการศึกษา อย่างไรก็ตาม หากมีข้อขัดข้องประการใด ขอได้โปรดแจ้งให้ทราบด้วย ชมรมฯจะได้ ชี้แจงให้สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องผ่านทางสื่อต่างๆ ต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาและขอขอบพระคุณมา ณ โอกาส นี้
รายงานข่าวแจ้งว่า นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ ประธานชมรมพิทักษ์สิทธิผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งประเทศไทย (ช.พ.ค.ศ.) ได้ทำหนังสือลงวันที่ 20 กันยายน 2564 ถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) เพื่อขอทราบความคืบหน้าเรื่องเสนอชื่อคณะกรรมการการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) หรือ สมศ. เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีใจความสำคัญว่า ตามที่ ช.พ.ค.ศ. ได้แจ้งขอความอนุเคราะห์ให้พิจารณาเสนอชื่อคณะกรรมการการบริหาร สมศ. เข้า ครม.เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 โดยการเสนอชื่อผู้ใดเป็นอํานาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ความละเอียดทราบแล้วนั้น
บัดนี้ เป็นระยะเวลาล่วงเลยมาร่วม 4 เดือนแล้ว ยังไม่ทราบผลการดําเนินการ ชมรมฯ จึงขอทราบผลการดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว อนึ่ง การไม่เสนอชื่อคณะกรรมการบริหาร สมศ. ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา วินิจฉัยสั่งการ อาจถูกกล่าวหาได้ว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สมศ. พ.ศ. 2543 และยังเป็นการไม่ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 47-51 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่ปรับปรุงแก้ไข โดยอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาของระเทศไทยในภาพรวม ชมรมฯ ได้ติดตามเรื่องไปที่สํานักงานรัฐมนตรี และ สมศ. เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 ได้รับแจ้งว่าขณะนี้เอกสารผลการคัดเลือกและตรวจประวัติอาชญากรรมของประธานกรรมการและกรรมการบริหาร สมศ. ตลอดจนหนังสือชี้แจงได้ส่งให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้วตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2564 ชมรมฯ ขอเรียนเพิ่มเติมว่าการไม่ส่งรายชื่อคณะกรรมการบริหาร สมศ.ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งนั้น สุ่มเสี่ยงต่อการถูกพรรคการเมืองฝ่ายค้านกล่าวหาว่าละเลยล่าช้าในหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติและเกิดผลเสียต่อคุณภาพการศึกษา อย่างไรก็ตาม หากมีข้อขัดข้องประการใด ขอได้โปรดแจ้งให้ทราบด้วย ชมรมฯจะได้ ชี้แจงให้สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องผ่านทางสื่อต่างๆ ต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาและขอขอบพระคุณมา ณ โอกาส นี้