บอร์ดกลั่นกรองเงินกู้ พบ 27 โครงการสู้โควิด ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ในพื้นที่ต่างจังหวัด วงเงินกว่า 132 ล้าน ล่าช้ากว่ามติ ครม. แถมไม่มีการเบิกจ่าย อ้างสถานการณ์จัดกิจกรรมไม่ได้ แห่ขอยุบโครงการไปแล้ว 8 โครงการ วงเงินกว่า 50 ล้าน
วันนี้ (17 ส.ค. 64) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ได้รายงานการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการภายใต้แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ (แผนงานกลุ่มที่ 3)
รายงาน ณ เดือน ก.ค.- ส.ค. 2564 มีหน่วยงานรับผิดชอบโครงการทั้งสิ้น 204 โครงการ ประกอบค้วย โครงการของส่วนราชการ 26 โครงการ วงเงินอนุมัติ 199,161.4161 ล้านบาท และโครงการชองจังหวัด 178 โครงการ วงเงินอนุมัติ 874.4813 ล้านบาท
พบว่า มีหน่วยงานที่ยังไม่ได้จัดส่งรายงาน 36 โครงการ วงเงินอนุมัติ 31,041.0383 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการของส่วนราชการ 14 โครงการ วงเงินอนุมัติ 31,000.6327 ล้านบาท และโครงการของจังหวัด 21 โครงการ วงเงินอนุมัติ 40.4046 ล้าบบาท
ขณะที่ ขอมูลผลการเบิกจ่ายผ่านระบบ GFMIS ณ วันที่ 3 ส.ค. 2564 พบว่า โครงการของส่วนราชการ 41 โครงการ วงเงินอนุมัติ 224,766.0224 ล้านบาท เบิกจ่ายรวม 113,902.7446 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40.44 ของ วงเงินอนุมัติ จากการพิจารณารายงานแล้ว พบว่า หน่วยงานรับผิดชอบส่วนใหญ่ ได้ดำเนินการและหรือลงนามผูกพันสัญญาตามขั้นตอนแล้ว
อย่างไรก็ดี เนื่องจากสถานการณการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบัน ทำให้หน่วยงานไม่สามารถจัดให้มีกิจกรรมตามที่ได้รับอนุมัติไวั ส่งผลให้การดำเนินโครงการมีความล่าช้ากว่าแผนที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
อาทิ โครงการโอทอปไทยสู้ภัยโควิด-19 ชองกรมการพัฒนาชุมชน โครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชสํฝ่าโควิด-19 ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ หน่วยงานรับผิดชอบ ได้ยืนยันว่า จะสามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2564
ขณะที่ โครงการของจังหวัด 178 โครงการ วงเงินอนุมัติ 874.4813 ล้านบาท เบิกจ่ายรวม 263.7897 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 30.87 ของวงเงินอนุมัติ
มีกลุ่มโครงการของจังหวัดที่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการและเบิกจ่ายเงิน 27 โครงการ วงเงินอนุมัติ 132.2482 ล้านบาท ซึ่งฝ่ายเลขานุการได้ดำเนินการประสานหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อติดตามความก้าวหน้า
“พบว่า มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ แต่ยังไม่สามารถลงนามผูกพันสัญญาในกิจกรรม/โครงการที่ต้องมีการจัดชื้อจัดจ้างหรือไม่มีแผนการใช้จ่ายในส่วนงบดำเนินงานที่ชัดเจน จำนวน 8 โครงการ วงเงินรวม 46.0222 ล้านบาท โดยล่าสุดคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้จังหวัดยุติหรือยกเลิกโครงการของจังหวัดเหล่านี้แล้ว”
โดย 8 โครงการ ประกอบด้วย โครงการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนตามฐานวิถีใหม่ ของ จ.ลำพูน วงเงิน 1 ล้านบาท โครงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์เกษตรและสินค้าชุมชนตลาดออนไลน์ ของ จ.สมุทรสาคร วงเงิน 1.1 ล้านบาท
โครงการพัฒนาทักษะเพื่อประกอบและการมีงานทำ ของ จ.แม่ฮ่องสอน วงเงิน 1.08 ล้านบาท โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวชุมชน ของ จ.นครพนม วงเงิน 38 ล้านบาท โครงการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ของ จ.นนทบุรี วงเงิน 1.03 ล้านบาท
โครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ ของ จ.กาฬสินธุ์ วงเงิน 2.95 ล้านบาท โครงการกินก็ได้ขายก็ดีเลี้ยงปลาดุกยุุคโควิด-19 ของ จ.กาฬสินธุ์ วงเงิน 1.2 แสนบาท และโครงการขยายโอกาสในการสร้างอาชีพใหม่ให้กับแรงงานนอกระบบ ของ จ.สมุทรปราการ วงเงิน 4.8 แสนบาท
ขณะที่ ในปี 2563 พบว่า มี 10 จังหวัด ขอยกเลิกโครงการ วงเงินกว่า 79,262,955 บาท