xs
xsm
sm
md
lg

“บิ๊กตู่” ตรวจตั้งศูนย์ รพ.สนาม สโมสร ทบ.รับ 400 เตียง กำชับต้องไม่มี ปชช.ถูกทอดทิ้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นายกฯ ตรวจเยี่ยมความพร้อมตั้งศูนย์ รพ.สนาม ณ สโมสรกองทัพบก ตั้งเป้ารองรับผู้ป่วย 400 คน พร้อมสั่งการต้องไม่มี ปชช.ถูกทอดทิ้ง ทุกหน่วยงานขานรับ ปรับการทำงาน ลดขั้นตอนปิดช่องว่าง

วันนี้ (23 ก.ค.) ในช่วงบ่าย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ใช้เวลาลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการเตรียมการจัดตั้งศูนย์ โรงพยาบาลสนาม ณ สโมสรกองทัพบก ตามที่นายกรัฐมนตรีต้องการให้ใช้พื้นที่สำหรับดูแลผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด แก้ปัญหาเตียงในทุกสีของอาการป่วย ซึ่งการดำเนินการเป็นด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

โดยนายกรัฐมนตรีได้ขอขอบคุณบุคลากรทุกคนที่ช่วยเหลือกันอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยใจที่ปรารถนาอยากช่วยให้ทุกคนได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด พร้อมให้กำลังใจทั้งเจ้าหน้าที่ และบุคลากรทุกท่าน

สำหรับจำนวนเตียง ทาง ทบ.แจ้งว่า จะรองรับจำนวน 400 เตียง ซึ่งเบื้องต้นจะเปิด 300 เตียง ในวันที่ 30 ก.ค.นี้ และจะเพิ่ม รองรับอีก 100 เตียง โดยจะเป็น “ศูนย์พักคอยโรงพยาบาลสนาม” สโมสรทหารบก

ขณะเดียวกัน ทางด้านเพจเฟซบุ๊กศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี-PMOC ได้โพสต์ข้อความในหัวข้อว่า นายกฯ สั่งการ “...จะต้องไม่มีประชาชนที่ถูกทอดทิ้ง...”

โดยเมื่อวานนี้ (22 ก.ค. 64) ณ ที่ประชุม ศบศ. นายกฯ สั่งการให้ “ทุกหน่วยงาน” เร่งรัดให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน/ผู้ป่วยติดเชื้อ ที่ยังตกค้างที่บ้าน เพื่อนำเข้าสู่ระบบโดยต้อง #ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งนี้ นอกจากจะดำเนินการในส่วนที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบแล้ว ขอให้แสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทุก #พลังทางสังคม #อาสาสมัคร อย่างเต็มที่ ในการแก้ปัญหาให้กับผู้ประสบภัยโควิด ให้ได้รับการดูแลรักษาพยาบาล ตามขั้นตอนที่สาธารณสุขกำหนด

ซึ่งทุกหน่วยงานก็ขานรับ และตอบสนอง ในการปรับกระบวนการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ให้ทันต่อสถานการณ์ที่รุนแรงมากขึ้น โดย...ลดขั้นตอน ปิดช่องว่าง เชื่อมหน่วยงาน ประสานความร่วมมือ รวมทั้งทำงานอย่างบูรณาการและใกล้ชิด

การปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่...

1. กห. สตช. ร่วมกับ สธ. ปรับปรุงสโมสรทหารและตำรวจ ในพื้นที่ กทม.และต่างจังหวัด ให้เป็นศูนย์พักคอยผู้ป่วย หรือ รพ.สนาม สำหรับเป็นสถานที่พักคอยและรักษาผู้ป่วย

2. สธ./กทม. ลงพื้นที่เพื่อนำผู้ป่วยในชุมชนแออัด กลุ่มเปราะบาง คนไร้บ้านพักอาศัย หลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เข้าสู่ระบบการรักษา

3. สธ./กทม. เร่งตรวจเชิงรุกด้วยวิธี Rapid Antigen Test ให้กับประชาชนในพื้นที่

4. สธ.ขับเคลื่อนมาตรการแยกกักที่บ้าน (Home isolation) และแยกกักในชุมชน (Community isolation) สำหรับผู้ป่วยฯ ที่อาการไม่รุนแรง (สีเขียว) เพื่อเปิดเตียงให้กับผู้ป่วย “สีเหลือง-แดง” ให้มากขึ้น โดยการตรวจดูอาการ มอบยา/เวชภัณฑ์ และแนะนำในการรักษาตัวอยู่ที่บ้าน

5. สธ. ร่วมกับสถาบันแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กำหนดพื้นที่เป้าหมายจากฐานข้อมูล ในการลงพื้นที่และรับผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษา ตามระดับสี ณ จุดพักคอย โรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลบุษราคัม หรือโรงพยาบาลทั่วไป

6. กห.ร่วมกับ อว. สนับสนุนการจัดตั้ง รพ.สนาม ณ รพ.ในสังกัดมหาวิทยาลัย เพื่อเสริมศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ต่างๆ

7. กห.ให้แต่ละเหล่าทัพ จัดกำลังทหารกระจายลงพื้นที่ จัดตั้ง “จุดรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน” โดยเฉพาะในพื้นที่ “สีแดงเข้ม” 13 จว.






กำลังโหลดความคิดเห็น