ส.ส.พปชร. ย้ำ ไม่ต้องการให้การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย มาเป็นประเด็นดรามาการเมืองหวังได้ใจ ปชช.โยงแบน 3 สารพิษ ยันกระบวนการต้องมีความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและองค์กรต่างประเทศที่มีความรู้ พรุ่งนี้ ครม.จะหารือกันอีกครั้ง
วันนี้ (5 ก.ค.) นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย เชื่อว่า วันนี้หลังวิปรัฐบาลเชิญตัวแทนองค์การอาหารและยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงข้อสงสัยเกี่ยวกับร่างกฎหมายฉบับนี้ทุกประเด็น จะได้ข้อสรุปถึงการเดินหน้าพิจารณาให้ความเห็นชองร่างกฎหมายในวันพุธที 7 กรกฎาคมนี้
ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเห็นว่าหน่วยงานมีความจำเป็นที่จะต้องนำกฎหมายไปบังคับใช้ และเห็นว่า ข้อกังวลของผู้แปรญัตติบางประเด็นเกินกว่าความเป็นจริง ซึ่งไม่ควรนำมาเป็นประเด็นดราม่าทางการเมืองหวังได้ใจประชาชนเกี่ยวกับการแบน 3 สารพิษ ซึ่งชี้แจงว่ากฎหมายฉบับไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณา 3 สารพิษ
และปฏิเสธข้อมูลที่มีความกังวลว่า กรรมการสัดส่วนต่างประเทศจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับการพิจารณา แต่ชี้แจงว่า การพิจารณาวัตถุอันตรายเกี่ยวข้องทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ร.บ.ยา, พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์, พ.ร.บ.เครื่องสมุนไพร หรือพ.ร.บ.อาหาร ที่บังคับเช่นเดียวกันใน 4 กระทรวง 6 หน่วยงาน
พร้อมยกตัวอย่างในกระทรวงพลังงาน หากวันหนึ่งไม่มีความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ แล้วมีพลังงานชนิดใหม่มา เราจะไม่สามารถรับผล ว่า จะมีผลประโยชน์ หรือโทษต่อประเทศไทยอย่างได ซึ่งไม่ได้พิจารณาเพียงวัตถุอันตรายเท่านั้น แต่ยังพิจารณาถึงการจัดเก็บ ลักษณะบรรจุภัณฑ์ เช่น โรงงานที่สมุทรปราการที่ระเบิดวันนี้ หากเป็นสารชนิดใหม่แล้วคนไทยไม่มีความเชี่ยวชาญเลย ก็เป็นตัวอย่างเรื่ององค์ความรู้ที่เชียวชาญจากต่างประเทศที่ผลิตสารดังกล่าว
หลังการชี้แจงต่อวิปรัฐบาลวันนี้แล้ว ในวันพรุ่งนี้คณะรัฐมนตรีจะหารือกันอีกครั้งหนึ่งด้วย โดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จะไปขอความเห็นจาก ครม. และรองนายกรัฐมนตรี “อนุทิน ชาญวีรกูล” ที่กำกับดูแล และสมาชิกที่ยังติดใจในบางส่วน
และย้ำว่า กระบวนการที่พิจารณาใช้ความเห็นจากบุคคล หรือองค์กรจากต่างประเทศเกิดขึ้นน้อยมา แต่จะเป็นการตัดโอกาสคนไทยที่จะได้ประโยชน์จากความเห็น และตามขั้นตอนก็ต้องขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญคนในประเทศก่อน
“เช่น การขอความเห็นเรื่องวัคซีนจาก นพ.ยง ภู่วรวรรณ เมื่อไทยไม่ได้เป็นประเทศผู้ผลิต หากต้องใช้สถาบันทางวิชาการ หรือสถาบันวิจัยให้การรองรับอย่างที่มีสมาชิกแปรญัตติ จะเป็นการตัดโอกาสผู้เชี่ยวชาญเรื่องวัคซีน เพราะ นพ.ยง เกษียณราชการแล้ว” นายสรวุฒิ กล่าว