xs
xsm
sm
md
lg

'บิ๊กตู่' รวบอำนาจ โควิดอาละวาดกว่าเดิม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นับตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน ที่ ‘บิ๊กตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ตัดสินใจรวบอำนาจรัฐมนตรี โดยให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมาย 31 ฉบับ โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวเฉพาะ เพื่อหวังใช้เป็นยาแรงแก้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกเดือนเม.ย. ถึงวันนี้ร่วม 20 กว่าวันแล้ว

แต่ปรากฏว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเลย ตัวเลขผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตรายวันยังคงพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยวันที่ 28 เม.ย. ซึ่งเป็นวันแรกที่ ‘บิ๊กตู่’ มีอำนาจเบ็ดเสร็จ พบผู้ติดเชื้อ 2,012 ราย เสียชีวิต 15 ราย วันที่ 29 เม.ย. พบผู้ติดเชื้อ 1,871 ราย เสียชีวิต 10 ราย วันที่ 30 เม.ย. พบผู้ติดเชื้อ 1,538 ราย เสียชีวิต 15 ราย วันที่ 1 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 1,891 ราย เสียชีวิต 21 ราย

วันที่ 2 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 1,940 ราย เสียชีวิต 21 ราย วันที่ 3 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 2,041 ราย เสียชีวิต 31 ราย วันที่ 4 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 1,763 ราย เสียชีวิต 27 ราย วันที่ 5 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 2,112 ราย เสียชีวิต 15 ราย วันที่ 6 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 1,911 ราย เสียชีวิต 18 ราย วันที่ 7 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 2,044 ราย เสียชีวิต 27 ราย วันที่ 8 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 2,419 ราย เสียชีวิต 19 ราย วันที่ 9 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 2,101 ราย เสียชีวิต 17 ราย วันที่ 10 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 1,630 ราย เสียชีวิต 22 ราย

วันที่ 11 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 1,919 ราย เสียชีวิต 31 ราย วันที่ 12 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 1,983 ราย เสียชีวิต 34 ราย วันที่ 13 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 4,887 ราย เสียชีวิต 32 ราย วันที่ 14 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 2,256 ราย เสียชีวิต 30 ราย วันที่ 15 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 3,095 ราย เสียชีวิต 17 ราย วันที่ 16 พ.ค.พบผู้ติดเชื้อ 2,136 ราย เสียชีวิต 24 ราย และวันที่ 17 พ.ค. พุ่งขึ้นสูงสุด พบผู้ติดเชื้อ 9,635 ราย เสียชีวิต 25 ราย ส่งผลอันดับยอดติดเชื้อสะสมของโลกของไทย กระโดดขึ้นไปอยู่อันดับ 92 แซงหน้าจีนไปแล้ว

นอกจากทิศทางที่สูงขึ้นขณะเดียวกัน บางมาตรการยังถูกตั้งคำถามจากสังคมว่า สวนทางกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ โดยเฉพาะของ ศปค. ที่นายกฯนั่งเป็นผอ.ศบค. ในเรื่องการผ่อนคลายมาตรการให้นั่งรับประทานอาหารในร้านได้ 25% สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดอย่าง กทม.และปริมณฑล ทั้งที่การแพร่ระบาดของพื้นที่ดังกล่าวยังน่าวิตกกังวล

รวมทั้งศูนย์ต่างๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นมาจากอำนาจโดยเบ็ดเสร็จเมื่อปลายเดือน เม.ย. ยังไม่สามารถสำแดงแสนยานุภาพออกมาให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ปัญหาหลายอย่างยังคงอยู่เช่นเดิมเหมือนกับก่อนที่จะรวบอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดหาเตียงในกรุงเทพฯที่ยังพบว่ามีผู้ติดเชื้อยังใช้เวลารอเตียงอยู่ หรือการขาดแคลนอุปกรณ์การแพทย์ หรือแม้แต่การค้นหาเชิงรุกที่ยังไม่ครอบคลุมและทั่วถึง

เช่นเดียวกับนายทหาร นักวิชาการ ที่ ‘บิ๊กตู่’ ดึงมาช่วยงาน ยังไม่สามารถให้คำปรึกษาหรือค้นคว้าหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมได้ และนั่นทำให้ถูกสังคมค่อนแคะว่า เลือกคนมาใช้งานผิดฝาผิดตัว เพราะคนเหล่านี้อาจจะเชี่ยวชาญเรื่องการใช้อำนาจหรือปฏิบัติตามคำสั่ง แต่สำหรับประเทศแล้วคงไม่มีใครบริหารจัดการโรคระบาดได้ดีเท่ากับแพทย์

ขณะที่ ‘บิ๊กตู่’ กำลังอยู่ในสภาวะตึงเครียด เพราะการใช้อำนาจคือ ยุทธวิธีที่เคยได้ผลในหลายเรื่อง หากแต่กับโควิด-19 มันกำลังวิ่งสวนทางกันออกไป โดยมอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคงเป็นเจ้าภาพดูแลหลัก ที่ถูกท้วงติงจากพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายค้าน ผู้สันทัดกรณี และ ภาคประชาชน ไม่นับอดีตคนเคยเชียร์ยังออกโรงทนไม่ไหว และ เรียกร้องให้เปลี่ยนยุทศาสตร์การทำงาน มิใช่การรวบอำนาจเอาไว้ ที่ตัวเอง พร้อมขอร้องให้ฟังความคิดของคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกน้องรอบตัว เพื่อจะช่วยคลี่คลายสถานการณ์ต่างๆไม่ใช่แค่เรื่องโควิดเท่านั้น แต่หมายถึงปัญหาและ ความขัดแย้งต่างๆของประเทศ

ส่วนสถานการณ์ใน กรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังเป็นสิ่งน่าห่วง เพราะเป็นตัวเลข 2 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อรายวันทั้งประเทศมาต่อเนื่อง แม้จะมีการตั้งศูนย์บูรณาการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ที่มี ‘บิ๊กตู่’ เป็นประธานเอง แต่เหมือนจะทำให้ปัญหาใหม่งอกขึ้นมา อาทิ คลัทเตอร์พื้นที่กรุงเทพฯ เพราะ กทม.มุ่ งแต่เร่งฉีดวัคซีน ขณะที่จำนวนวัคซีนในประเทศยังไม่มีน้อย และ จำนวนจำกัด ขณะที่มาตรการป้องกัน อาทิ เว้นระยะห้าง สวมหน้ากากอนามัย ลดการรวมกลุ่ม และล้างมือ ยังเป็นเรื่องรอง

ดูจากกรณีสหรัฐอเมริกา และ อิสราเอล เป็นตัวอย่างแม้จะฉีดวัคซีน ประชากรได้ฉีดจำนวนมาก แต่ที่ยังมีการระบาดอย่างหนัก และ เสียชีวิต มากกว่าประเทศไทย อาจเป็นเพราะจะหลงลืมเรื่องมาตรการควบคุมโรค อันเป็นกุญแจสำคัญไป ดังที่กระทรวงสาธารณสุขพยายามกระตุ้นเตือนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากในเดือนมิย.นี้เป็นต้นไป เมื่อวัคซีนล็อตใหญ่เข้ามาในประเทศไทย จึงไม่ใช่เรื่องสายที่จะโหมผลักดันการฉีดวัคซีนแบบปูพรม


กำลังโหลดความคิดเห็น