xs
xsm
sm
md
lg

ครม.เทงบพันล้านไฟเขียวไทยผลิต-ลงทุนกับนานาชาติทำวัคซีนต้านโควิด

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข (แฟ้มภาพ)
“สาธิต เผย ครม.ไฟเขียวงบฯ 1 พันล้านบาท เพื่อให้ไทยผลิต-ร่วมลงทุนกับนานาชาติในการผลิควัคซีนโควิด-19

วันนี้ (25 ส.ค.) ที่โรงแรมสตาร์ คอนเวนชั่น จ.ระยอง นายสาธิต ปิตุตะชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข สัมภาษณ์กรณีที่กระทรวงสาธารณสุขขอจัดสรรงบประมาณ 600 ล้านบาท เพื่อให้ไทยได้ลงทุนกับนานาชาติในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและบริษัทในประเทศอังกฤษ ว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ อนุมัติงบประมาณเงินกู้สนับสนุน 1 พันล้าน โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่เราสามารถดำเนินการเองได้โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่กำลังดำเนินการผลิต อีกช่องทางหนึ่งคือ ร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด โดยการทำข้อตกลงเพื่อให้เขาดำเนินการจัดสรรโควตา เมื่อได้วัคซีนต้นแบบแล้วอาจจะมีเงื่อนไขว่าให้เขาจำหน่ายให้เราในราคาต้นทุน และอีกส่วนหนึ่งคือไทยผลิตเองโดยใช้งบประมาณไม่มาก โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ส่งเสริม ทั้งสนี้โดยรวมคือ ใช้งบประมาณ 1 พันล้านบาทที่ ครม.ได้อนุมัติไปเรียบร้อยแล้ว ทั้ง 3 ส่วนดังกล่าวข้างต้นสามารถดำเนินการไปได้ ส่วนไหนสามารถทำได้ก่อนให้ดำเนินการ ในส่วนของไทยที่จะผลิตเองนั้นจะทำให้ไทยมีวัคซีนได้เร็วสุดกลางปีนี้ ช้าสุดกลางปี 2564 และในส่วนที่จะร่วมกับต่างประเทศ เชื่อว่าจะดำเนินการได้เร็วเช่นได้

ด้าน น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,000 ล้านบาทในลักษณะเงินอุดหนุนให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานเครือข่าย การพัฒนางานด้านวัคซีนของประเทศในการเพิ่มศักยภาพการผลิตวัคซีนให้พร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตวัคซีนโควิด-19 และการสร้างขีดความสามารถของประเทศโดยการพัฒนาวัคซีนตั้งแต่ต้นน้ำ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ยังพบอยู่ในหลาย ประเทศทั่วโลก ข้อมูล ณ วันที่ 24 ส.ค. 2563 มีผู้ป่วยยืนยันกว่า 23.44 ล้านคน เสียชีวิต 800,000 คน ทั้งนี้ โรคโควิด-19 เริ่มแพร่เข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่ต้นเดือน ม.ค. 2563 มีผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งธนาคารแห่ง ประเทศไทยได้สรุปประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2563 ที่ -5.3% และสูญเสีย

ทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าสูงถึง 5,600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 1.11% ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภาคธุรกิจประสบปัญหาจนต้องปิดกิจการ และลดจำนวนพนักงาน ส่งผลให้มีประชาชนชั้นกลางและประชากรกลุ่มเปราะบางจำนวนมากได้รับผลกระทบต่อความมั่นคงในการดำรงชีวิต แม้ว่าที่ผ่านมา ประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการควบคุมป้องกันโรคได้อย่าง ดียิ่ง แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดการระบาดของโรคได้ในระลอกที่ 2 เนื่องด้วยยังมีผู้ป่วยจำนวนมากทั่วโลก หากสถานการณ์การระบาดไม่สามารถยุติได้ในระยะเวลาอันใกล้ การเปิดประเทศเพื่อเดินหน้าสู่การดำเนินชีวิต New Normal คู่ขนานไปกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจึงเป็นไปได้ยาก และรัฐบาลยังจำเป็นต้องมีมาตรการ ช่วยเหลือ เพื่อประคองกิจการต่างๆ ในประเทศให้สามารถตาเนินการต่อไปได้

ดังนั้น วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จึงเป็นเครื่องมือสำคัญ เป็นนวัตกรรมทางสุขภาพและเป็นยุทธปัจจัยที่มีประสิทธิภาพสูงที่จะเป็นคำตอบ ในการป้องกันควบคุมโรค และเป็นความหวังของทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย การเร่งรัดให้มีวัคซีนใช้ ในประเทศเร็วขึ้นจะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกกับเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นของ ประชาชนต่อการกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ

สำหรับแผน Blueprint เพื่อการเข้าถึงวัดซีนป้องกัน โควิด-19 ของประชาชนไทย ได้รับ ความเห็นชอบจากคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2563 ซึ่งถือเป็นกรอบนโยบาย ในการบูรณาการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน โดยดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ การนำวัคซีนต้นแบบที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศมาทดสอบ ในประเทศไทย และขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการผลิต ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น และระยะกลาง และอีกแนวทางคือ การพัฒนาวัคซีนต้นแบบในประเทศไทยตั้งแต่ต้นน้ำ ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะกลาง และระยะยาว ในการบรรลุเป้าหมายการเข้าถึงวัคซีนให้ทันท่วงที และสร้างขีดความสามารถของประเทศในการพัฒนาและผลิตวัคซีนเพื่อให้ประชาชนไทยได้รับวัคซีนโดยเร็วที่สุด

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาสถาบันวัคซีนแห่งชาติได้ให้การสนับสนุนและสร้างความ ร่วมมือกับสถาบันวิจัยพัฒนา และหน่วยผลิตวัคซีนในประเทศ ตลอดจนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อส่งเสริมการผลิตวัคซีนใช้ได้เองในประเทศตั้งแต่ต้นน้ำ นอกจากนี้ยังได้เจรจาสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทั้งจากประเทศจีน และยุโรป ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตที่มีแนวโน้มจะได้วัคซีนมาใช้ภายในต้นปี 2564 มีความเป็นไปได้ในทางเลือกที่รัฐบาลควรลงทุน เพื่อสร้างโอกาสให้ประเทศไทยก้าวข้าม สถานการณ์การระบาดได้อย่างก้าวกระโดด เนื่องจากการมีวัคซีนใช้เร็วขึ้น 1 เดือน จะช่วยให้ประเทศสามารถสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประมาณ 250,000 ล้านบาท และยังสร้างผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจ รวมถึงความเชื่อมั่นของประชาชนไทยด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น