xs
xsm
sm
md
lg

“อิทธิพล” หนุนใช้วิถีชีวิตใหม่ เดินหน้าวัฒนธรรมสร้างอาชีพ ฟื้น ศก.ท้องถิ่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (แฟ้มภาพ)
รมว.วธ.หนุนใช้ วิถีชีวิตใหม่ ปรับมิติวัฒนธรรม ยกเครื่อง เดินหน้าโครงการวัฒนธรรมสร้างอาชีพ ฟื้นเศรษฐกิจท้องถิ่น-ชุมชน

วันนี้ (14 มิ.ย.) นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกรอบนโยบายการฟื้นฟูอยู่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศในด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ-สังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้กระทรวงวัฒนธรรมจัดทำแผนและโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในมิติของวัฒนธรรมให้ประชาชนมีรายได้ สร้างงานสร้างอาชีพในท้องถิ่นและชุมชน วงเงินงบประมาณ 7,000 ล้านบาท ทั้งนี้ให้จัดทำแผนและโครงการเสนอไปยังคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้พิจารณา

สำหรับ 1. แผนงานหรือโครงการลงทุนและกิจกรรมการพัฒนาที่สามารถพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพ และยกระดับการค้า การผลิต และการบริการ ในสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ครอบคลุมภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การค้าการลงทุน ท่องเที่ยว และบริการ มีจำนวน 9 โครงการ ได้แก่ โครงการเปิดพื้นที่อุทยานวัฒนธรรมส่งเสริมมรดกภูมิปัญญาเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ไทยในเวทีโลก, โครงการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์, โครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางท่องเที่ยวทางประวัติศาสตรและวัฒนธรรม

โครงการพัฒนาอัตลักษณ์เมืองวัฒนธรรมต้นแบบเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน, โครงการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทยสู่สากล, โครงการมาตรฐาน “สำรับไทย” จากภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่ครัวโลก, โครงการส่งเสริมความภูมิใจในความเป็นไทยและพัฒนาทักษะชีวิตใหม่, โครงการมหกรรมผ้าไหม “ไหมไทยสู่เส้นทางโลก”, โครงการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างย่งยืนด้วย “บวรวัฒนธรรมโมเดล”

และ 2. แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ โดยการส่งเสริมตลาดสำหรับผลิต และผลิตภัณฑ์ของธุรกิจชุมชนที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว หรือภาคบริการอื่นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน การจัดหาปัจจัยการผลิตและสิ่งอำนวยความสะดวก ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชน รวมถึงการสร้างความเข้าถึงช่องทางการตลาด พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐาน คุณภาพ และมูลค่าเพิ่มของสินค้า และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและชุมชน ที่ได้วางกรอบการดำเนินงานไว้ 6 ด้าน เพื่อให้หน่วยงานในส่วนภูมิภาคของกระทรวงวัฒนธรรมจัดทำโครงการ คือ พัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางท่องเที่ยวทางประวัติศาสตรและวัฒนธรรม, ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยมิติทางวัฒนธรรม, พัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม, ส่งเสริมเทศกาลประเพณี และกิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว, ส่งเสริมความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและพัฒนาทักษะวิถีชีวิตใหม่ และ ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม โดยโครงการเหล่านี้จะต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดบูรณาการ (ก.บ.จ.) และความเห็นชอบของผู้ว่าราชการจังหวัด ก่อนที่จะส่งไปยังสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


กำลังโหลดความคิดเห็น