“กมธ.ดีอีเอส สภาฯ” ลงพื้นที่ “หนองคาย” เช็คโครงสร้างพื้นฐานรองรับ 5G เตรียมพร้อมสู่ Smart City 2020 รองรับรถไฟความเร็วสูง-เขตศก.ลุ่มน้ำโขง “กัลยา” ยัน กรรมาธิการฯ ยินดีช่วยแก้ปัญหาติดขัดเพื่อประโยชน์ ปชช.
เมื่อวันที่ 29 พ.ย. คณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กมธ.ดีอีเอส) สภาผู้แทนราษฎร นำโดย น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกมธ.ฯ พร้อมด้วย พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะรองประธาน กมธ.ฯ, น.ส.ภาดาท์ วรกานนท์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะโฆษก กมธ.ฯ และคณะ ลงพื้นที่ จ.หนองคาย เพื่อติดตามการใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองหน้าด่าน การเตรียมความพร้อมในการดำเนินเรื่องรถไฟความเร็วสูงและ Smart city ร่วมกับ นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการ จ.หนองคาย ผู้แทนจากส่วนราชการ และผู้แทนจากภาคเอกชน รวมทั้ง นายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์ ส.ส.หนองคาย พรรคเพื่อไทย ที่มาร่วมสังเกตการณ์ด้วย
น.ส.กัลยา เปิดเผยว่า การที่ กมธ.ดีอีเอส สภาฯได้มาลงพื้นที่ จ.หนองคายครั้งนี้ เนื่องจากเป็นจังหวัดชายแดน สามารถที่จะเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านทั้งประเทศลาว รวมถึงต่อไปยังประเทศจีน ดังนั้นการเตรียมพร้อมให้เมืองหนองคายในฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน จะต้องมีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งด้านบุคคล ด้านสถานที่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้ จ.หนองคายให้มีความพร้อมสมบูรณ์แบบ คือการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเป็นตัวจักรสำคัญ โดย จ.หนองคายเองมีแผนที่จะพัฒนาเข้าสู่ความเป็น Smart City ในปี 2020 ซึ่งจะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน ด้วยการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มาสนับสนุนการทำงานด้านต่างๆ รวม 12 มิติ ได้แก่ การเกษตร การผลิตและแปรรูป การค้าส่งค้าปลีก การเงินการธนาคาร การแพทย์ การศึกษา ความปลอดภัย สาธารณูปโภค การคมนาคมขนส่ง พลังงาน การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ และอาคาร-ที่อยู่อาศัย รวมถึงยังเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับรถไฟความเร็วสูงที่จังหวัดหนองคายจะเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อบ้านคือลาว และต่อไปถึงจีนได้ ที่สำคัญคือจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาให้เมืองหนองคายมีความพร้อมรองรับเขตเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงอีกด้วย
น.ส.กัลยา กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาและวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยการวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงที่จะรองรับเทคโนโลยี 5G ในอนาคต ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากจะมีประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่ต่อประชาชนแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ เศรษฐกิจระดับพื้นที่อีกด้วย โดยเฉพาะระบบงานตรวจคนเข้าเมืองที่ด่านชายแดน หากมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ จะทำให้การตรวจคนเข้าเมือง การขนถ่ายสินค้า มีความรวดเร็ว ความถูกต้อง และปลอดภัย ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม
“จากการลงพื้นที่ จ.หนองคาย กมธ.ดีอีเอส ได้รับทราบข้อเท็จจริงจากพื้นที่ทำให้เห็นภาพรวมของการว่างโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ที่จะรองรับเทคโนโลยี 5G ในอนาคต ที่ยังคงต้องพัฒนาต่อไปอีกพอสมควร แต่ก็ควรที่จะต้องเร่งวางโครงสร้างพื้นฐานให้เสร็จโดยเร็วเพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชน ซึ่งเราเห็นความตั้งใจของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการพัฒนาเตรียมความพร้อมให้ จ.หนองคายก้าวเข้าสู่ Smart City ได้อย่างสมบูรณ์แบบเพื่อรองรับความเจริญที่จะมาพร้อมกับรถไฟความเร็วสูง รวมถึงรองรับการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงในอนาคต ซึ่ง กมธ.ดีอีเอส มีความยินดีที่จะช่วยติดตามประสานงานแก้ปัญหาให้ หากเกิดอุปสรรคในการดำเนินงานต่างๆอย่างเต็มที่” น.ส.กัลยา กล่าว.
เมื่อวันที่ 29 พ.ย. คณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กมธ.ดีอีเอส) สภาผู้แทนราษฎร นำโดย น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกมธ.ฯ พร้อมด้วย พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะรองประธาน กมธ.ฯ, น.ส.ภาดาท์ วรกานนท์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะโฆษก กมธ.ฯ และคณะ ลงพื้นที่ จ.หนองคาย เพื่อติดตามการใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองหน้าด่าน การเตรียมความพร้อมในการดำเนินเรื่องรถไฟความเร็วสูงและ Smart city ร่วมกับ นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการ จ.หนองคาย ผู้แทนจากส่วนราชการ และผู้แทนจากภาคเอกชน รวมทั้ง นายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์ ส.ส.หนองคาย พรรคเพื่อไทย ที่มาร่วมสังเกตการณ์ด้วย
น.ส.กัลยา เปิดเผยว่า การที่ กมธ.ดีอีเอส สภาฯได้มาลงพื้นที่ จ.หนองคายครั้งนี้ เนื่องจากเป็นจังหวัดชายแดน สามารถที่จะเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านทั้งประเทศลาว รวมถึงต่อไปยังประเทศจีน ดังนั้นการเตรียมพร้อมให้เมืองหนองคายในฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน จะต้องมีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งด้านบุคคล ด้านสถานที่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้ จ.หนองคายให้มีความพร้อมสมบูรณ์แบบ คือการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเป็นตัวจักรสำคัญ โดย จ.หนองคายเองมีแผนที่จะพัฒนาเข้าสู่ความเป็น Smart City ในปี 2020 ซึ่งจะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน ด้วยการนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มาสนับสนุนการทำงานด้านต่างๆ รวม 12 มิติ ได้แก่ การเกษตร การผลิตและแปรรูป การค้าส่งค้าปลีก การเงินการธนาคาร การแพทย์ การศึกษา ความปลอดภัย สาธารณูปโภค การคมนาคมขนส่ง พลังงาน การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ และอาคาร-ที่อยู่อาศัย รวมถึงยังเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับรถไฟความเร็วสูงที่จังหวัดหนองคายจะเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อบ้านคือลาว และต่อไปถึงจีนได้ ที่สำคัญคือจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาให้เมืองหนองคายมีความพร้อมรองรับเขตเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงอีกด้วย
น.ส.กัลยา กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาและวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยการวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงที่จะรองรับเทคโนโลยี 5G ในอนาคต ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากจะมีประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่ต่อประชาชนแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ เศรษฐกิจระดับพื้นที่อีกด้วย โดยเฉพาะระบบงานตรวจคนเข้าเมืองที่ด่านชายแดน หากมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ จะทำให้การตรวจคนเข้าเมือง การขนถ่ายสินค้า มีความรวดเร็ว ความถูกต้อง และปลอดภัย ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม
“จากการลงพื้นที่ จ.หนองคาย กมธ.ดีอีเอส ได้รับทราบข้อเท็จจริงจากพื้นที่ทำให้เห็นภาพรวมของการว่างโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ที่จะรองรับเทคโนโลยี 5G ในอนาคต ที่ยังคงต้องพัฒนาต่อไปอีกพอสมควร แต่ก็ควรที่จะต้องเร่งวางโครงสร้างพื้นฐานให้เสร็จโดยเร็วเพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชน ซึ่งเราเห็นความตั้งใจของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการพัฒนาเตรียมความพร้อมให้ จ.หนองคายก้าวเข้าสู่ Smart City ได้อย่างสมบูรณ์แบบเพื่อรองรับความเจริญที่จะมาพร้อมกับรถไฟความเร็วสูง รวมถึงรองรับการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงในอนาคต ซึ่ง กมธ.ดีอีเอส มีความยินดีที่จะช่วยติดตามประสานงานแก้ปัญหาให้ หากเกิดอุปสรรคในการดำเนินงานต่างๆอย่างเต็มที่” น.ส.กัลยา กล่าว.