xs
xsm
sm
md
lg

เปิดความเห็น "กฤษฎีกา" คณะพิเศษ แนะระวัง! ไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน ขยายแนวเขตสองข้างทางรถไฟ หาประโยชน์เชิงพาณิชย์

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เปิดความเห็น "คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษ" ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติม ร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน 850 ไร่ เพื่อกิจการรถไฟความเร็วสูง "ไฮสปีดเทรน" เชื่อม 3 สนามบิน ย้ำต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ไห้เกิดการขยายแนวเขตสองข้างทางรถไฟ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ไนเชิงพาณิชย์ด้วย

วันนี้( 7 พ.ย.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ภายหลังเมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) พ.ศ..ซึ่งรวมไปถึงเครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ตามโครงการดังกล่าว

โดยพบว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ส่งผลการตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา แก้ไขชื่อร่างฯ บันทึกหลักการและเหตุผลประกอบ บทอาศัยอำนาจ และการจัดเรียงสำดับบทบัญญัติในร่างพระราชกฤษฎีกาฯ รวมทั้งเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาเริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้กำหนด ระยะเวลาเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกานี้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ตามความประสงค์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้อง กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ที่มีผลเป็นการยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562

นอกจากนี้ มีการแก้ไขวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนที่ดินตามร่างพระราชกฤษฎีกานี้ ในร่างมาตรา 3 เป็น ‘‘เพื่อสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งจำเป็นอื่นตามโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมสามสนามบิน” ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เพื่อให้เกิด ความยืดหยุ่นและรองรับกรณีที่หน่วยงานผู้ดำเนินการเวนคืนมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแบบ การก่อสร้างให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และมีการแก้ไขเล็กน้อย (ตามแบบการร่างกฎหมาย) สำหรับหนังสือยืนยันให้ความเห็นชอบร่างพระราขกฤษฎีกาฯ และแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาๆ ที่กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย) จะต้องตรวจสอบ แก้ไข และรับรองความถูกต้องของพื้นที่ ชื่อและเขตการปกครองท้องที่

อนึ่ง สำหรับข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดวัตถุประสงค์ ของการเวนคืนที่ดินเพื่อดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟตามโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมสามสนามบิน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 และเจตนารมณ์ของกฎหมาย นั้น

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การกำหนดวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืน จะต้องเป็นไปภายใต้กรอบแห่งความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งที่ดินตามที่มาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 บัญญัติไว้ไม่อาจเวนคืนที่ดินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ไนกิจการทางพาณิชย์ ที่เกินไปกว่ากิจการปกติเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคได้ ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้แก้ไขการกำหนดวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนที่ดิน ตามข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว

"นอกจากนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า การเวนคืนเพื่อกิจการรถไฟ ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ไห้เกิดการขยายแนวเขตสองข้างทางรถไฟ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ไนเชิงพาณิชย์ด้วย"

สำหรับ ที่ดินที่จะเวนคืนนั้น เพื่อก่อสร้างย่านสถานี ทางเข้าออกสถานี ทางรถไฟ และดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟ โดย รฟท. จะเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการเวนคืนที่ดิน และจะเริ่มการสำรวจภายใน 60 วันนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยที่ดินที่จะต้องใช้เพื่อดำเนินการก่อสร้าง ทั้งสิ้น 4,421 ไร่ แยกเป็นที่ดินของ รฟท. 3,571 ไร่ พื้นที่ต้องเวนคืน 850 ไร่ ซึ่งในพื้นที่ของ รฟท. นั้นพร้อมส่งมอบ 3,151 ไร่ หรือคิดเป็น 88% ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่เหลือมีการบุกรุก ซึ่งจะต้องดำเนินการเคลื่อนย้ายผู้บุกรุกต่อไป

สำหรับระยะเวลาการส่งมอบที่ดินนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2562 เห็นชอบระยะเวลาการส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนเพื่อดำเนินโครงการ ซึ่งระยะเวลานี้จะเข้าไปอยู่ในสัญญาแนบท้ายที่ รฟท. ลงกับเอกชน แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกสถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ 28 ก.ม. เป็นที่ดินของ รฟท. ส่งมอบได้ทันที ช่วงที่ 2 สถานีสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 170 ก.ม. เร่งรัดให้ส่งมอบพื้นที่ภายใน 1 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 2 ปี หลังลงนาม และช่วงที่ 3 สถานีพญาไท-ดอนเมือง 22 ก.ม. เร่งรัดพร้อมส่งมอบพื้นที่ภายใน 2 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 4 ปีหลังลงนาม.


กำลังโหลดความคิดเห็น