กทม.รับงบ 245 ล้าน ชุมชนละสองแสน “ไทยนิยม ยั่งยืน” ผ่าน 1,896 โครงการ จาก 1,337 ชุมชน ด้านเศรษฐกิจ 119 โครงการ ด้านสังคม 289 โครงการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 27 โครงการ ด้านสาธารณประโยชน์อื่นๆ 1,508 โครงการ พบเป็นโครงการบริหารจัดการขยะ 15 โครงการ พบหลายชุมชน ขอจัดซื้อ “กล้องวงจรปิดในชุมชน” ไม่ตรงข้อกำหนดของงบประมาณ ที่ไม่สามารถดำเนินโครงการได้
วันนี้ (22 ก.ค.) แหล่งข่าวจากศาลาว่าการกรุวเทพ (กทม.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กทม.ได้รับโอนงบประมาณรายงานจ่ายเพิ่มเติม ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2561 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมเศรษฐกิจและพัฒนาศัยภาพชุมชน โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน (หมู่บ้าน/ชุมชนละ 2 แสนบาท) งบเงินอุดหนุนทั่วไปจำนวน 444,666,400 บาท ลงในพื้นที่ 50 เขตเป็นงบดำเนินโครงการ
ทั้งนี้ จากการขับเคลื่อนทั้ง 4 ครั้ง กทม.มีชุมชนเข้าร่วมโครงการ 2,057 ชุมชน เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 1,442 ชุมชน รวมทั้งสิ้น 2,109 โครงการ รวมที่ขอรับสนับสนุน 268,176,217 บาท โดยมีโครงการที่่ผ่านการพิจารณาจากทีมขับเคลื่อนฯ เขต 1,896 โครงการ จาก 1,337 ชุมชน ได้รับอนุมัติงบประมาณวงเงิน 245,127,800 บาท ซึ่งแบ่งประเภทโครงการ ด้านเศรษฐกิจ 119 โครงการ ด้านสังคม 289 โครงการ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 27 โครงการ และ ด้านสาธารณประโยชน์อื่นๆ 1,508 โครงการ ซึ่งพบว่า เป็นโครงการบริหารจัดการขยะ 15 โครงการ
“ร้อยละ 74.91 เป็นโครงการประเภทสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะการซ่อมแซมสิ่งสาธารณูประโยชน์ชุมชน รองลงมาเป็นโครงการด้านสังึม และด้านเศรษฐิจร้อยละ 17.7 และร้อยละ 5.89 ตามลำดับ ขณะที่โครงการด้านอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจจากประชาชนมีชุมชนน้อยที่สุด เพียง ร้อยละ1.43”
อย่างไรก็ตาม สภาพปัญหาแต่ละชุมชน เกิดคล้ายๆ กัน คือ การขออนุญาตเข้าของพื้นที่เพื่อใช้ดำเนินโครงการ กับความต้องการของชาวชุมชนในเขตเมือง ข้อกำหนดที่ไม่สามารถดำเนินโครงการได้เพราะผิดวัตถุประสงค์ของงบประมาณ เช่น การจัดซื้อกล้องวงจรปิดในชุมชน เป็นต้น
มีรายงานว่า สำหรับโครงการฯ หมู่บ้าน/ชุมชนละ 2 แสนบาท ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ทั่วประเทศ กว่า 8.1 หมื่นหมู่บ้าน/ชุมชน เสนอเข้ามายังกรมการปกครอง รวม 91,373 โครงการ ซึ่งคณะกรรมการบริหารงานอำเภอและคณะกรรมการกรุงเทพมหานคร ได้อนุมัติโครงการ และผู้ว่าราชการจังหวัดได้เห็นชอบแผนครบทุกโครงการแล้ว ร้อยละ 98.10 ขณะนี้หมู่บ้าน/ชุมชนอยู่ระหว่างดำเนินโครงการซึ่งจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2561 ซึ่งแผนงาน/โครงการที่เสนอขอรับงบประมาณ แบ่งเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย
1. โครงการประเภทสร้างอาชีพ สร้างรายได้โดยตรง จำนวน 12,271 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 17.06 โดย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ลานตากผลผลิตทางการเกษตร 3,622 โครงการ การปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว 649 โครงการ และโรงสี 583 โครงการ 2. โครงการประเภทสร้างอาชีพสร้างรายได้โดยอ้อม จำนวน 9,999 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 13.90 โดย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ถนนเพื่อการเกษตร 2,541 โครงการ ขุดลอกสระ ห้วย หนอง คลอง บึง 2,164 โครงการ และลานอเนกประสงค์/สาธารณประโยชน์ 2,045 โครงการ 3. โครงการประเภทส่งเสริมคุณภาพชีวิต จำนวน 49,653 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 69.04 โดย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ถนนสัญจรภายในหมู่บ้าน 14,362 โครงการ ศาลากลางบ้าน/ศาลาประชาคม/อาคารอเนกประสงค์ 8,690 โครงการ และปรับปรุงซ่อมแซมประปาหมู่บ้าน 6,103 โครงการ
สำหรับข้อมูลปัญหาความต้องการของหมู่บ้าน/ชุมชนจากการทำประชาคมอีกจำนวน 727,043 รายการ จะได้แจ้งอำเภอวิเคราะห์รายละเอียดปัญหาความต้องการร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเรียงลำดับความสำคัญ และจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อนำสู่การพิจารณาบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาอำเภอ และแผนพัฒนาจังหวัดต่อไป
ส่วน 4) โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี วงเงิน 9.3 พันล้านบาท โดยกรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการใน 3,273 หมู่บ้าน/ชุมชน ครอบคลุม 76 จังหวัด ซึ่งได้จัดตั้งศูนย์ประสานงาน OTOP นวัตวิถี ระดับกรมและระดับภูมิภาค รวม 12 ศูนย์ เพื่อติดตามความก้าวหน้าทุกสัปดาห์ และ 5) โครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท โดย สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ มีแผนการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับกองทุนหมู่บ้าน พร้อมทั้งดำเนินการแจ้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเสนอโครงการในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2561 และจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการให้กับกองทุนโดยโอนจัดสรรเข้าบัญชีประชารัฐของกองทุน และมีมหาวิทยาลัยราชภัฏในพื้นที่และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมติดตามสนับสนุนโครงการในทุกขั้นตอน.