นายกฯ ถามความคืบหน้า “นโยบายลดการบ้านนักเรียน” พร้อมสั่ง ศธ.3 ประเด็น เร่งเสนอ “ปฏิรูปนักเรียน ครู บริหารจัดการ” ต่อบอร์ดขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศปฏิรูป ที่กำลังจะจัดตั้งขึ้นตามยุทธศาสตร์ชาติ เผยให้ทบทวนการออกข้อสอบวัดผลรายวิชา เน้น “ข้อสอบเชิงอัตนัย” มากขึ้น เสนอวิธีการสอบเก็บคะแนนเป็นระยะ ร่วมกับสอบเก็บคะแนนหลังสิ้นสุดคาบเรียบ สอบเก็บคะแนนประจำสัปดาห์/เดือน ลดภาระสอบปลายภาค
วันนี้ (18 มิ.ย.) แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. มีข้อสั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการ เร่งรัดการดำเนินการ และรายงานผลการปฏิรูปการศึกษาในประเด็นต่างๆ เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เพี่อเสนอต่อคณะกรรมการที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศพิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการใน 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ หลังจากในคราวประชุม ครม. 10 เม.ย. และ 17 เม.ย. 61 ให้กระทรวงศึกษาธิการ รายงานความคืบหน้าผลการดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิรูป การศึกษาและผลสัมฤทธิ์ ในการดำเนินการของกระทรวงศึกษาธิการ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาให้ทราบทุก 3 เดือน โดยให้รายงานความคืบหน้าดังกล่าวต่อไป
“ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน นายกรัฐมนตรีสอบถามถึงประเด็น การลดการบ้านนักเรียน เพี่อให้นักเรียนสามารถมีเวลาอยู่กับผู้ปกครองมากขึ้น และส่งเสริมให้มีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศ หรือดิจิทัล มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ปกครอง เพี่อให้เกิดการคิดวิเคราะห์และสามารถเตรียมข้อมูลเพี่อนำมาใช้โนการอภิปรายในชั้นเรียน”
นอกจากนั้นยังสอบถามถึงประเด็นเน้นการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผล กล้าพูด กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม รวมทั้งปลูกฝังให้เกิดความรักชาติ ยึดมั่นในศาสนา และเคารพเทิดทูลสถาบันพระมหากษัตริย์ มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย และมีจิตอาสา และให้มีแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และคุณธรรม เป็นการเฉพาะ รวมถึงให้ปรับปรุงหนังสือแบบเรียนให้แยกส่วนของแบบฝึกหัดออกจากหนังสือแบบเรียน เพี่อให้นักเรียนรุ่นหลังสามารถใช้หนังสือแบบเรียนต่อจากรุ่นก่อนได้
“ให้ทบทวนแนวทางการออกข้อสอบวัดผลการศึกษาในวิชาต่างๆ ให้เป็นข้อสอบ ในเชิงอัตนัยที่เน้นการคิดวิเคราะห์มากยิ่งขึ้น โดยอาจใช้วิธีการสอบเก็บคะแนนเป็นระยะๆ ร่วมด้วย เช่น สอบเก็บคะแนนภายหลังสิ้นสุดคาบเรียบ สอบเก็บคะแนนประจำสัปดาห์ หรือประจำเดือน เพี่อลดภาระนักเรียนในการสอบปลายภาคการศึกษา เป็นต้น, ให้ทบทวนระบบการสอบวัดผลและการสอบคัดเลือกในทุกระดับชั้นให้เหมาะสม เข่น ความเหมาะสมของการจัดให้มีการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในชั้นอนุบาล และแนวทางการดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในปัจจุบัน เป็นต้น”
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู เช่น การพัฒนาครู โดยการจัดสรรวงเงินต่อหัวในการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ของครู (คูปองครู) ให้เหมาะสม, ปรับปรุงแนวทางการประเมินครู โดยให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งกำหนดให้ครูต้องปฏิบัติงานในด้านการเรียนการสอน หรือ ปฏิบัติงานให้แก่โรงเรียน และสถาบันการศึกษาเป็นหลัก ทั้งนี้ ให้พิจารณากำหนดค่าตอบแทนให้แก่ครูอย่างเหมาะสม
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ เช่น ระมัดระวังไม่ให้เกิดการทุจริตในการดำเนินการเรื่องต่างๆ เซ่น การจัดซื้อจัดจ้าง ครุภัณฑ์และอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนต่างๆ การดำเนินโครงการอาหารกลางวัน เป็นต้น ทั้งนี้ ควรส่งเสริมให้มิการทำการเกษตรชุมชนเพื่อนำผลผลิตมาบริโภคเป็นอาหารกลางวันในโรงเรียน เสริมจากงบประมาณที่รัฐจัดสรรให้ด้วย
“เน้นการทำโครงการวิจัยและพัฒนา (R&D)ที่สามารถนำผลการวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติได้จริงหรีอพัฒนาต่อยอดไปได้ ตามเป้าหมายการพัฒนาที่กำหนดไว้ และปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการให้เหมาะสม เพื่อให้การบริหารงานภายในของกระทรวงมิประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”