อดีตโฆษก พธม. ไม่เห็นด้วยงดเว้นไพรมารีโหวต กลับไปใช้แฟมิลีโหวต เหตุตัดตอนสิทธิประชาชนในพรรคการเมือง ไม่คำนึงเจตนารมณ์ตาม รธน.
วันนี้ (10 มิ.ย.) นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่หลายพรรคการเมืองจะเคลื่อนไหวเรียกร้องให้คสช. ใช้คำสั่ง ม.44 ยกเว้นการทำไพรมารีโหวต ในการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ ด้วยข้ออ้างสารพัด โดยเฉพาะการเตรียมตัวไม่ทันของพรรคการเมือง และก่อนหน้านี้ ในช่วงที่มีการแปรญัตติร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง ก็พบว่า พรรคการเมืองส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับระบบไพรมารีโหวต หรือการสรรหาผู้สมัครของพรรคโดยให้ประชาชน หรือสมาชิกพรรคมีส่วนร่วม ดังนั้น ไพรมารีโหวตในสายตาของพรรคการเมือง ยังมองว่า เป็น “หอกข้างแคร่” ที่เป็นอุปสรรคต่อวิถีหรือการบริหารจัดการพรรคการเมืองแบบเก่าๆ หรือพรรคการเมืองที่มีเจ้าของเพียงคนเดียว หรือตระกูลเดียว หรือกลับไปที่ระบบแฟมิลีโหวต
นายสุริยะใส กล่าวว่า ประชาชนต้องช่วยกันติดตาม ตรวจสอบ เพราะการยกเว้นหรือตัดกลไก ไพรมารีโหวตออกไป เท่ากับเป็นการตัดตอนบทบาท และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองและจะส่งผลให้การปฏิรูปพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันเป็นพรรคการเมืองที่ประชาชนเป็นเจ้าของกลายเป็นเรื่องเพ้อฝัน และสุดท้ายพรรคการเมืองก็จะกลายเป็นแค่แหล่งรวมกลุ่มผลประโยชน์ที่ใช้พรรคการเมืองเข้ามาเป็นเครื่องมือตักตวงผลประโยชน์และอำนาจรัฐเหมือนที่ผ่านๆ มาเท่านั้น
“ดังนั้น การประชุมร่วมกันระหว่าง คสช. และบรรดาพรรคการเมืองต้อง ไม่มีภาพของความคลางใจหรือตกลงกันโดยเอาผลประโยชน์ความสะดวกสบายของพรรคการเมืองเป็นตัวตั้งแต่ ไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนตามเจตนารมณ์ พ.ร.ป. พรรคการเมือง” นายสุริยะใส กล่าว
วันนี้ (10 มิ.ย.) นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่หลายพรรคการเมืองจะเคลื่อนไหวเรียกร้องให้คสช. ใช้คำสั่ง ม.44 ยกเว้นการทำไพรมารีโหวต ในการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ ด้วยข้ออ้างสารพัด โดยเฉพาะการเตรียมตัวไม่ทันของพรรคการเมือง และก่อนหน้านี้ ในช่วงที่มีการแปรญัตติร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง ก็พบว่า พรรคการเมืองส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับระบบไพรมารีโหวต หรือการสรรหาผู้สมัครของพรรคโดยให้ประชาชน หรือสมาชิกพรรคมีส่วนร่วม ดังนั้น ไพรมารีโหวตในสายตาของพรรคการเมือง ยังมองว่า เป็น “หอกข้างแคร่” ที่เป็นอุปสรรคต่อวิถีหรือการบริหารจัดการพรรคการเมืองแบบเก่าๆ หรือพรรคการเมืองที่มีเจ้าของเพียงคนเดียว หรือตระกูลเดียว หรือกลับไปที่ระบบแฟมิลีโหวต
นายสุริยะใส กล่าวว่า ประชาชนต้องช่วยกันติดตาม ตรวจสอบ เพราะการยกเว้นหรือตัดกลไก ไพรมารีโหวตออกไป เท่ากับเป็นการตัดตอนบทบาท และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองและจะส่งผลให้การปฏิรูปพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันเป็นพรรคการเมืองที่ประชาชนเป็นเจ้าของกลายเป็นเรื่องเพ้อฝัน และสุดท้ายพรรคการเมืองก็จะกลายเป็นแค่แหล่งรวมกลุ่มผลประโยชน์ที่ใช้พรรคการเมืองเข้ามาเป็นเครื่องมือตักตวงผลประโยชน์และอำนาจรัฐเหมือนที่ผ่านๆ มาเท่านั้น
“ดังนั้น การประชุมร่วมกันระหว่าง คสช. และบรรดาพรรคการเมืองต้อง ไม่มีภาพของความคลางใจหรือตกลงกันโดยเอาผลประโยชน์ความสะดวกสบายของพรรคการเมืองเป็นตัวตั้งแต่ ไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนตามเจตนารมณ์ พ.ร.ป. พรรคการเมือง” นายสุริยะใส กล่าว