xs
xsm
sm
md
lg

เมื่อซีพีจับมือกับอาลีบาบา ใครที่น่าเป็นห่วง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

บัตรเครดิต เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1950 อีก 20 ปีต่อมา มีการคิดค้นประดิษฐ์ตู้เอทีเอ็ม คนไทยได้ใช้ตุ้เอทีเอ็มเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2525 เป็นตู้เอทีเอ็มของ ธนาคารไทยพาณิชย์ หลังจากนั้นไม่นานก็มีบริการที่เรียกว่า ออนไลน์แบงก์กิ้ง

ทั้งบัตรเครดิต ตู้เอทีเอ็ม และออนไลน์แบงก์กิ้ง เป็นนวตกรรมการเงินยุคแรกๆ ที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตก แล้วก็ถูกส่งออก ข้ามมาซีโกลกตะวันอออกคือเอเชีย ที่เป็นประเทศเพิ่งเกิดในทางเศรษฐกิจ ตามการขยายตัวของระบบการเงินโลก และมีอายุใช้งานยืนยาวมานานกว่า 30 ปี

มาถึงยุคปัจจุบัน คำว่า นวัตกรรมการเงิน ถูกแทนที่ด้วยคำว่า “ ฟินเทค” คือ เทคโนโลยี่ดิจิตอลและอินเตอร์เน็ต ที่นำมาพัฒนาสร้างสรรค์ บริการ ผลิตภัณฑ์ธุรกิจการเงิน ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และมีต้นทุนลดลง

ในขณะที่บัตรเครดิต ตู้เอทีเอ็ม ซึ่งเป็นฟินเทคยุคเริ่มแรก ต้องใช้เวลาหลายสิบปีขึ้นไป กว่าจะได้รับการยอมรับ มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย นวัตกรรมการเงินหรือ ฟินเทคในยุคดิจิตัล ใช้เวลาไม่กี่ปี ในการสร้างผลิตภัณฑ์ บริการใหม่ๆที่ได้รับการยอมรับ และเข้ามาแทนที่นวตกรรมเก่าอย่างรวดเร็ว

การจับมือกันเป็นพันธมิตรระหว่างซีพีกับอาลีบาบา ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซของจีนและของโลก เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยแก่นแท้แล้ว คือ การร่วมกันสร้างระบบ หรือ”แพลตฟอร์ม” การเงินใหม่ของโลก

แอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิส กรุ๊ป เป็นบริษัทในเครือข่ายอาลีบาบา ที่ทำธุรกิจฟินเทค ลงทุนถือหุ้น 20 % ในบริษัท แอสเซนด์ ซึ่งเป็นธุรกิจฟินเทคของซีพี

แอนท์ มี “อาลี เพย์ “ หรือ ALIPAY คือ แอพพลิเคชั่นที่ใช้ชำระเงินในการซื้อสินค้า และบริการ บนสมาร์ทโฟน ส่วนแอสเซนด์ มีทรู มันนี่ เป็นกระเป๋าสตางต์อิเล็กทรอนิกส์ บนสมาร์ทโฟน และเครื่องมือสื่อสารแบบพกพาอื่นๆ แอนท์ มีร้านค้าปลีกที่รับชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน “ อาลีเพย์ “ 1.5 ล้านแห่งในจีน และ 80,000 แห่งในต่างประเทศ ในขณะที่ ทรูมันนี่ มีจุดชำระเงิน ผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่น 20,000 แห่งในประเทศไทย

เป้าหมายในระยะแรกของการร่วมลงทุนคือ การเชื่อมโยงระบบชำระเงินด้วย อาลี เพย์ และ ทร^มันนี่เข้าด้วยกัน คนไทยที่ใช้แอพ ทรูมันนี่ สามารถจ่ายค่าสินค้าในร้านที่จีน และประเทศอื่นๆ ที่ติดป้ายรับ อาลี เพย์ นักท่องเที่ยวจีน ที่ใช้ แอพ อาลีเพย์ ก็ซื้อสินค้าในร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศไทย โดยไม่ต้องใช้เงินสด ไม่ต้องแลกเงิน และหาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ช้อปปิ้งได้จาก อาลีเพย์

อาลีบาบา มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าซีพีมาก คือ สร้าง ALIPAY ” เป็นระบบการชำระเงินใหม่ของโลกขึ้นมา แข่งกับระบบเดิมคือ วีซ่า และมาสเตอร์การ์ด

อาลีพย์ถูกสร้างขึ้นในปี 2004 เพื่อรองรับการทำธุรกรรมผ่านเว็บไซตช้อปปิ้งออนไลน์ Taobao ของอาลีบาบา และขยายตัวตามการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ หลังจากนั้นได้แยกตัวออกมาจากอาลีบาบา ซึ่งเป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติ และอยุ่ในตลาดหุ้นนิวยอร์ค มาเป็นบริษัทในประเทศ อยุ่ภายใต้การควบคุมโยตรงของแจ๊ค หม่า โดยตรง เช่นเดียวกับ แอสเซนด์ ที่แยกออกมาจากทรูคอร์ปอเรชั่น เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ

บัญชีของอลิเพย์ เชื่อมกับบัญชีเงินฝากธนาคาร ผู้ใช้โอนเงิน หรือเติมเงินมาใส่ในอลิเพย์ เพื่อชำระค่าสินค้า ค่าน้ำค่าไฟ เติมน้ำมัน ซื้อตั๋วหนัง และซื้อหน่วยลงทุน อาลีเพย์ จึงทำหน้าที่เป็นบัตรเครดิต หรือบัตรเอทีเอ็ม โดยไม่ต้องมีบัตร ผู้ใช้เพียงแต่ยื่นสมาร์ทโฟนให้แคชเชียร์ สแกน แอพ อาลิเพย์

อาลีเพย์ มีผู้ใช้ซึ่งเป็นคนจีนมากกว่า 450 ล้านคน ครองส่วนแบ่งเกือบครึ่งหนึ่ง ของตลาดอีคอมเมิร์ซ จีน ซึ่งใหญ่ที่สุดในโลก ในแต่ละวันของไตรมาสแรกของปีนี้ มีธุรกรรมผ่านอาลีเพย์ 153 ล้านรายการ เกือบเท่ากับ ธุรกรรมผ่านระบบมาสเตอร์การ์ด เท่ากับ 60 % ของวีซ่า และมากกว่า เพย์พาล เกือบ 10 เท่า

การเข้ามาลงทุนถือหุ้นในแอสแซนด์ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ “ Global Footprint” คือ การสร้าง แพลตฟอร์มการชำระเงินระดับโลก ด้วยการสร้างเครือข่ายร้านค้า สถาบบริการที่รับชำระค่าสินค้า บริการด้วยผ่าน อลิเพย์ ปีที่แล้ว แอนท์ ใช้เงินมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์ ซื้อหุ้น 40 % ใน Paytm ซึ่งเป็นธุรกิจอีคอมเมิรื และระบบชำระเงินออนไลน์ ของอินเดีย

จากข้อมูลของAnt ปัจจุบัน Ali pay มีร้านค้านอกประเทศจีน ที่รับ แอพ อลิเพย์ มากกว่า 80,000 แห่ง ใน 70 ประเทส โดยตั้งเป้าหมายว่า จะเพิ่มให้ถึง 1 ล้านร้านภายใน สามปี

การจับมือเป็นพันธมิตรระหว่างซีพีกับอาลีบาบา ซึ่งต่างก็เป็นยักษ์ใหญ่ทั้งคู่ สร้างความกังวลให้กับผุ้ประกอบการในธุรกิจฟินเทคของไทย ว่า จะถูกซีพีใช้อำนาจเหนือตลาดกีดกันให้เข้าถึงผู้บิรโภคหรือไม่ แต่ผู้ที่เฝ้าดูอย่างเงียบๆ ด้วยความหวาดหวั่น น่าจะเป็น ธุรกิจการเงินมากกว่า เพราะนี่คือ คู่แข่งผู้มาจากโลกใหม่


กำลังโหลดความคิดเห็น